×

ฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มสูงขึ้น หลังพบเกินมาตรฐานทั่วเขต กทม.-ปริมณฑล 42 พื้นที่

11.12.2019
  • LOADING...

วันนี้ (11 ธันวาคม) กรมควบคุมมลพิษรายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดค่าได้ระหว่าง 33-85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ซึ่งปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน โดยพบพื้นที่ที่ปริมาณฝุ่นละอองเริ่มมีผลต่อสุขภาพจำนวน 42 พื้นที่ 

 

โดยแบ่งเป็น 10 อันดับพื้นที่ที่พบค่าฝุ่นสูงที่สุดดังนี้

  1. ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (85)
  2. ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (76)
  3. ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (74)
  4. ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน (70)
  5. ริมถนนเจริญนคร เขตคลองสาน (69)
  6. ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร (68)
  7. แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ, แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่, ริมถนนพระรามที่ 2 เขตบางขุนเทียน, ริมถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ และริมถนนพระรามที่ 3-เจริญกรุง เขตบางคอแหลม (67)
  8. ริมถนนพระรามที่ 4 หน้าสามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน (66) 
  9. ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน (63)
  10. ริมถนนตรีมิตร วงเวียนโอเดียน เขตสัมพันธวงศ์ (62)

 

ขณะเดียวกันการรายงานค่าฝุ่นจาก AirVisual ยังระบุว่าช่วงเวลา 10.43 น. เขตกรุงเทพฯ ของประเทศไทยตรวจพบค่าฝุ่นได้ที่ 151 US AQI อยู่ในเกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกาย และเป็นประเทศที่มีค่าฝุ่นสะสมอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก ณ ช่วงเวลาดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมมลพิษระบุเพิ่มเติมว่าประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด โดยกรมควบคุมมลพิษยังคงรายงานสถานการณ์และแจ้งประสานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล ในภารกิจตามมาตรการ ‘ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ’ อย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองให้กลับสู่สถานการณ์ปกติ

 

ทั้งนี้ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ได้ทาง www.air4thai.com/webV2 แอปพลิเคชัน Air4Thai และ bangkokairquality.com/bma/index.php

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising