สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ชี้ให้เห็นว่า การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยในช่วงปี 2556-2564 มีสัดส่วนอยู่ระหว่าง 12.2-13.7% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิกที่มีสัดส่วน 16% ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ไทยมีสัดส่วนต่ำกว่ามาก เช่น กลุ่มประเทศสมาชิก OECD ซึ่งมีสัดส่วนเฉลี่ยถึง 24.1% ขณะที่สหรัฐอเมริกามีสัดส่วนสูงถึง 51% ในปีงบประมาณ 2566
ตามรายงาน Sustainable Financing of Social Protection in Thailand 2022 จัดทำโดย UNICEF ร่วมกับ TDRI ยังระบุว่า การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจาก 3 ล้านล้านบาทในปี 2566 เป็น 6.5 ล้านล้านบาทในปี 2585 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของงบประมาณด้านสวัสดิการที่ให้กับประชาชน ท่ามกลางจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิดเงื่อนไข ช้อปดีมีคืน ปี 2566 ทำอย่างไรให้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 4 หมื่นบาท
- วิเคราะห์ ‘ข้อดี-ข้อเสีย’ การจัดเก็บ ‘ภาษีขายหุ้น’ พร้อมเปิด 10 แนวทางพัฒนาตลาดทุนไทย
- เปิดเงื่อนไขซื้อ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ รัฐบาลช่วยจ่ายเงินอุดหนุนเท่าไร ลดภาษีกี่เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นสภาพัฒน์จึงเสนอให้
- นำคนทุกกลุ่มเข้ามาอยู่ในระบบภาษี โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- ทบทวนการยกเว้นภาษีให้แก่รายได้บางประเภท เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและไม่เป็นการเอื้อประโยชน์กลุ่มคนเพียงบางกลุ่ม
- ทบทวนสิทธิประโยชน์การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น
- สื่อสารให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการจ่ายภาษี ขณะที่นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการจ่ายภาษี