อย่าทำให้ลูกเล่นกีฬาเพื่อให้ถูกรัก
กีฬาเป็นมากกว่าการแข่งขัน หากพ่อแม่อยากปลูกฝังให้ลูกเป็นนักกีฬาที่ดีในระยะยาว สิ่งสำคัญคือการเริ่มต้นจาก ‘ความสุข’ ไม่ใช่แค่ ‘ผลลัพธ์’
แม้เด็กบางคนจะเริ่มต้นเร็ว ฝึกหนัก และคว้ารางวัลตั้งแต่ยังเล็ก แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะประสบความสำเร็จในระยะยาว เพราะมีเพียงไม่ถึง 5% เท่านั้นที่ก้าวไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพได้จริงๆ ที่เหลือ หากไม่ได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม อาจหมดไฟและเลิกเล่นกีฬาไปเลย
🎯 อย่าทำให้ลูกเล่นกีฬาเพื่อให้ถูกรัก
หลายครั้งที่เด็กทุ่มเทกับการแข่งขัน ไม่ใช่เพราะชอบ แต่เพราะอยากให้พ่อแม่ยิ้ม อยากให้ได้รับคำชม การที่พ่อแม่แสดงความสุขเมื่อชนะ และผิดหวังเมื่อแพ้ อาจทำให้ลูกเข้าใจว่า “ต้องชนะถึงจะถูกรัก”
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ สร้างความรักในกีฬา จากความสนุก ความหมายของกิจกรรม และความสัมพันธ์ ไม่ใช่จากการกดดันหรือความคาดหวัง
💡 เคล็ดลับปลูกฝังลูกให้รักกีฬาอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมให้เด็กได้ เคลื่อนไหวหลากหลาย ผ่านกิจกรรมตามวัย เช่น วิ่งเล่น ขี่จักรยาน เล่นโยนบอล
- หลีกเลี่ยงการฝึกเฉพาะทางตั้งแต่ยังเล็ก โดยช่วงอายุที่เหมาะสมกับการฝึกจริงจังคือ 11 ปีขึ้นไป
- พ่อแม่ควร ทำกิจกรรมร่วมกับลูก เป็นแบบอย่าง ไม่ใช่แค่บอกให้ทำ
- อย่าพูดคำว่า “อุตส่าห์…” หรือกดดันให้ลูกต้องชนะ เพื่อชดเชยความคาดหวังของพ่อแม่เอง
🌱 ใช้กีฬาเป็นเครื่องมือปลูกฝังทักษะชีวิต
แม้ลูกจะไม่ได้เป็นนักกีฬาอาชีพ แต่ถ้าเขาได้เรียนรู้เรื่องการล้มแล้วลุก การทำงานเป็นทีม การจัดการอารมณ์ และการพัฒนาตัวเองจากกีฬา นั่นคือของขวัญที่มีค่ามากที่สุด
เพราะสุดท้ายแล้ว…
ผู้ชนะที่แท้จริง คือคนที่เข้าใจและรับมือกับความพ่ายแพ้ได้ ไม่ใช่คนที่ไม่เคยแพ้เลย
เนื้อหาส่วนหนึ่งจากงาน Alpha Skills Summit 2025 ในเวที ‘คู่มือเลี้ยงลูกให้มีวินัยและความสุข ฉบับจิตวิทยาโอลิมปิก’ โดย อาจารย์ปลา-ผศ.ดร.วิมลมาศ ประชากุล นักจิตวิทยาการกีฬา
ซื้อบัตรรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/alphaskillssummit2025