×

Ooredoo บริษัทโทรคมนาคมของกาตาร์ตัดสินใจ ‘ขายธุรกิจ’ ด้วยมูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาท และออกจาก ‘เมียนมา’ ตามรอย Telenor ของนอร์เวย์

09.09.2022
  • LOADING...

กลุ่มโทรคมนาคมของกาตาร์ Ooredoo ได้ตกลงขายธุรกิจในเมียนมาด้วยมูลค่า 576 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.1 หมื่นล้านบาท ให้กับบริษัทในสิงคโปร์ กลายเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างประเทศรายสุดท้ายที่ออกจากประเทศตามรอย Telenor ของนอร์เวย์

 

Ooredoo Asian Investments ซึ่งเป็นเจ้าของ Ooredoo Myanmar และ Ooredoo Myanmar Fintech จะถูกขายให้กับ Nine Communications โดยคาดว่า Ooredoo จะอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในแง่ของจำนวนสมาชิกในบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย 4 รายของประเทศ รองจาก Mytel ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกองทัพ

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้เรียกร้องให้มีการขายหลังจากกองทัพเข้ายึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งทำให้ภาคโทรคมนาคมในเมียนมาต้องเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย

 

ซีอีโอของ Ooredoo Group กล่าวว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากในการยุติธุรกิจในเมียนมา โดยจะมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น และทำให้มีการหยุดชะงักน้อยที่สุดตามข้อกำหนดในท้องถิ่นทั้งหมด ซึ่งที่สุดแล้วการขายได้นั้นต้องได้รับการอนุมัติจากทางการเมียนมา

 

Ooredoo ถือเป็น 1 ใน 2 บริษัทต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้เข้าสู่ภาคโทรคมนาคมของเมียนมาในปี 2014 อีกบริษัทหนึ่งคือ Telenor ของนอร์เวย์ซึ่งได้ขายธุรกิจและออกไปแล้วในเดือนมีนาคม 2022

 

ก่อนหน้านี้ Reuters ได้รายงานการขายธุรกิจเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยอ้างแหล่งข่าวที่บอกว่า มีการเจรจากับทั้ง Young Investment Group บริษัทในเครือเมียนมา ผู้ดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์, Campana Group และบริษัทโทรคมนาคม SkyNet

 

Reuters ยังบอกด้วยว่า ไม่สามารถระบุได้ทันทีว่า Ooredoo ลงทุนในเมียนมาเท่าไร โดย Ooredoo มีลูกค้า 9 ล้านรายในปี 2022 ลดลงจาก 15 ล้านรายในปี 2021 ซึ่งรายงานรายรับประมาณ 330 ล้านดอลลาร์

 

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่นๆ ในเมียนมา ได้แก่ MPT ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ และ Mytel ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมา และ Viettel ที่เป็นเจ้าของโดยกระทรวงกลาโหมเวียดนาม

 

Telenor บอกกับ Reuters ในปี 2021 ว่าต้องขายการดำเนินงานเพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปหลังจาก ‘แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง’ จากรัฐบาลทหารเพื่อเปิดใช้งานเทคโนโลยีการสอดแนม 

 

ภาพ: Paula Bronstein / Getty Images

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising