ผู้ค้นพบ DNA คือ ฟรีดริช มิเชอร์ ใน พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ยังไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของดีเอ็นเอ (DNA Structure Model) จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1962 และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทาง DNA มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid)
ในธรรมชาติ DNA มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดเวียนขวา โดยหน่วยย่อยๆ ที่มาประกอบกันเป็นเกลียว DNA มีชื่อเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ซึ่งนิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล (Deoxyribose sugar), ฟอสเฟต (Phosphate) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous base) และเบสในนิวคลีโอไทด์มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A), ไทมีน (thymine, T), ไซโทซีน(cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) จึงทำให้เกิดเป็นนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิดด้วยกัน และให้ชื่อไปตามตัวเบสที่เป็นองค์ประกอบ และมีอักษรย่อคือ A C G T ดังนั้นความยาวของเส้น DNA จึงมีหน่วยนับเป็นคู่เบส เช่น DNA ขนาด 10,000 คู่เบส หรือ 900 คู่เบส เป็นต้น
อ้างอิง: