×

3 สิงหาคม 2544 – ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 7 เสียง ให้ทักษิณพ้นผิดคดีซุกหุ้น ภาค 1

โดย THE STANDARD TEAM
03.08.2021
  • LOADING...
Thaksin Shinawatra

นับเป็นกรณีการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สำหรับการซุกหุ้นของ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2544 และเป็นที่มาของวลี ‘บกพร่องโดยสุจริต’ ที่ถูกใช้ในทางการเมืองนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

สำหรับคดีดังกล่าวเริ่มต้นจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ทักษิณ ชินวัตร ฐานจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ จากกรณีซุกหุ้นไว้กับคนรับใช้และคนขับรถ และส่งต่อคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดตามมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งหากผิดจริง ทักษิณต้องหลุดจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

 

ระหว่างการพิจารณาคดี ทักษิณให้การว่ามิได้จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จ แต่ผู้ช่วยหรือเลขานุการของตนเองเป็นผู้ดำเนินการแทน หากมีความผิดพลาดในการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินที่ไม่ถูกต้องก็เป็นเพียงความบกพร่องของตนเองโดยมิได้มีเจตนาทุจริตแต่อย่างใด สาเหตุเกิดขึ้นจากการ ‘บกพร่องโดยสุจริต’ ของตน ไม่ควรต้องถูกลงโทษตามรัฐธรรมนูญ

 

“อยู่ที่ดุลยพินิจของท่านตุลาการ ที่จะให้โอกาสนายกรัฐมนตรีคนนี้ทำงานเพื่อชาติ ประชาชน พระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งต่อไปหรือไม่เพียงใดครับ ขอขอบพระคุณครับ” ทักษิณกล่าวทิ้งท้ายระหว่างการพิจารณาคดี

 

ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ทักษิณพ้นผิดด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2544 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X