วันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 คือวันที่ประเทศไทยมีประชากรครบ 60 ล้านคนเป็นครั้งแรก โดยคาดการณ์ว่ามีเด็กทารก 10 คน คลอดในเวลา 09.48 น. โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลจากข้อมูลในเว็บไซต์กรมอนามัยระบุว่า ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2539 ที่มีประชากรครบ 60 ล้านคน ทางการได้มีกิจกรรมถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่อง 5 มีการรายงานผลการเกิดของทารกทั่วประเทศ มีหน่วยรถเคลื่อนที่ของช่อง 5 ไปถ่ายทอดสดเหตุการณ์จริงจากห้องคลอดของจังหวัดหลักๆ
โดยเด็กที่เกิดในเวลา 09.48 น. จำนวน 10 คน ต่างได้รับของขวัญวันเกิดสุดพิเศษจากทางรัฐบาล เช่น พระเลี่ยมทอง หรือเลสทองคำสลัก ‘อัลเลาะห์’ สำหรับเด็กที่มารดานับถือศาสนาอิสลาม, เช็กของขวัญ 10,000 บาท, บัตรประกันสุขภาพ 10 ปี, ทุนการศึกษาครบหลักสูตร ฯลฯ
ขณะที่จำนวนประชากรไทยสำรวจ ณ สิ้นปี 2562 สำนักงานทะเบียนกลางออกประกาศเรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยแยกเป็นกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ รวม 77 จังหวัด พบว่า ประชากรทั่วประเทศมีสัญชาติไทยทั้งสิ้น 66,558,935 คน เป็นผู้ชาย 32,110,775 คน ผู้หญิง 33,503,382 คน ส่วนที่ไม่ได้สัญชาติไทย 944,778 คน เป็นผู้ชาย 494,325 คน ผู้หญิง 450,453 คน
นอกจากนี้หากแยกตามรายจังหวัดพบว่า 5 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด คือ
- กรุงเทพฯ 5,666,264 คน
- นครราชสีมา 2,645,927 คน
- อุบลราชธานี 1,878,146 คน
- ขอนแก่น 1,802,876 คน
- เชียงใหม่ 1,779,255 คน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรที่ไม่ได้สัญชาติไทยมากที่สุด 148,006 คน