“ขอบคุณ ขอโทษ และขอให้คุณโชคดี”
นอกจากเป็นผู้กำกับหนังอย่าง Countdown (2012) และ Bad Genius (2017) บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ยังเป็น ‘เพื่อน’ ในเฟซบุ๊ก ที่มักจะมีสเตตัสที่น่าสนใจ ชวนคิด ตั้งคำถาม หาคำตอบให้กับเรื่องราวมากมายในชีวิตอยู่เสมอ
ในช่วงที่ผลงานเรื่องใหม่อย่าง One for the Road ที่พูดถึง ‘แฟนเก่าส์’ เพิ่งเข้าฉาย THE STANDARD POP เลยลองชวนบาสมาเช็ก ‘สเตตัสเก่าส์’ ที่เคยเขียนเอาไว้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อขยายความตัวอักษร ทบทวนชีวิต และแนวคิดต่างๆ ที่เขาได้เรียนรู้ และอยากนำเสนอผ่านภาพยนตร์ที่ปอกเปลือก ‘เปลือย’ ความเป็นมนุษย์ของเขาออกมามากที่สุดเรื่องนี้
เตรียมเครื่องดื่มแก้วที่มีความหมาย แล้วออกเดินทางกลับไปทบทวนตัวเอง และทุกๆ ความสัมพันธ์พร้อมกับ ‘บาส’ กันแบบเต็มๆ ได้ที่
ขอบคุณสถานที่: OFTR Bar
“มีบทวิจารณ์ ของเมืองนอกหลายๆ ชิ้นที่บอกว่า กูจะเอาใจช่วยไอ้ 2 ตัวเหี้ยนี่ (บอส กับ อู๊ด ตัวละครในเรื่อง One for the Road) ทำไมวะ แม่งคือ Unlikable Character สัตว์ๆ เลย ซึ่งมันคือสิ่งที่ใช่ ผมเป็นแบบนั้น เพราะนี่คือเศษเสี้ยวหนึ่งในประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาแล้วผมไม่ปฏิเสธมัน
“ถ้าสมมติคนดูแล้วรู้สึกว่าไอ้คน 2 คนนี้แม่งเป็นผู้ชายที่ห่วยแตกสัตว์ๆ เขาไม่ได้ด่าคาแรกเตอร์ ไม่ได้ด่านักแสดง เขาด่าผมในฐานะมนุษย์ ซึ่งผมโอเค เพราะถือว่าสุดท้ายแล้วมันคือการมองย้อนกลับไป แล้วก็วิเคราะห์ พิจารณา เรียนรู้กับมัน
“แล้วสุดท้ายหวังว่าอย่างน้อยในฐานะคนทำงาน หนังเรื่องนี้จะเป็นเหมือนทั้งจดหมายขอโทษที่ผมมีกับคนรอบๆ ตัวในชีวิตที่ผ่านมา ก็ไม่รู้ว่าเขาจะมีโอกาสได้อ่านหรือเปล่า”
บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ พูดถึงบทบาทของ 2 ตัวละครหลักในเรื่อง One for the Road ที่สะท้อนเรื่องความเป็นมนุษย์ของเขาออกมา ในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งของรายการ THE INTERVIEW กับ THE STANDARD POP
รับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=SMJdoHfSviQ&t=1200s
“ที่ผ่านมาผมปฏิเสธการทำงานที่ใช้ความเป็นตัวเองแบบนี้มาตลอด ลึกๆ ผมจะบอกเหตุผลกับทุกคนว่า ชีวิตผมไม่ได้น่าสนใจขนาดนั้น แม่งโคตรน่าเบื่อเลย แต่พอมาถามตอบตัวเองจริงๆ สิ่งที่อยู่ใต้จิตสำนึกอาจจะเป็นเพราะผมกลัว
“ผมกลัวการต้องเรียนรู้ว่ามึงแม่งเป็นคนห่วยแตก และเรื่องนี้คือการเรียนรู้ว่าตัวเองเป็นคนห่วยแตกอย่างเป็นทางการ ผ่านงานที่ต้องมีหลายๆ คนดู แต่ในช่วงที่พัฒนาบท พัฒนาโปรเจกต์ไป กำไรที่เกิดขึ้นคือ ไอสัตว์ กูห่วยกว่าที่กูคิดว่ะ”
บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ พูดถึงการเรียนรู้ถึงความ ‘ห่วยแตก’ ในฐานะการเป็นมนุษย์ จากการกำกับภาพยนตร์เรื่อง One for the Road ในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งของรายการ THE INTERVIEW กับ THE STANDARD POP
รับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=SMJdoHfSviQ&t=1200s
“พี่หว่อง (กาไว) เขาโยนคำถามมาว่า คุณอยากทำอะไรในวันท้ายๆ ก่อนจากโลกนี้ไป ผมได้คำตอบว่าอยากกลับไปขอโทษคนในชีวิต แล้วก็ค่อยๆ โฟกัสมาเป็นการขอโทษแฟนเก่า ซึ่งเป็นพล็อตที่พี่หว่องเขาซื้อเลยจบ
“สเตปต่อไปคือ ผมในฐานะมนุษย์ต้องกลับไปขอนัดเจอแฟนเก่าเกือบทุกคนในชีวิต เพื่อไปสัมภาษณ์ว่าในฐานะมนุษย์เพศชายคนหนึ่ง ที่เคยเดินร่วมทางกันในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตตอนนั้นมันเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคุยกัน บางทีเลิกกันก็คือเลิกกัน ก่อนเลิกคุณจะด่าอะไรกันก็ได้แล้วแต่ อันนั้นคือทนายฝั่งโจทก์กับจำเลยซักค้านกัน แต่การรีวิวในฐานะลูกขุนไม่เคยเกิดขึ้น
“เป็นการไปคุยกับแฟนเก่าที่บางคนผมก็ยังติดต่อเป็นวาระ บางคนไม่ได้คุยกันเลย บางคนไม่เจอกัน 20 ปี โอเค ตอนนั้นด้วยความคิดแบบนั้น วัยแบบนั้น ปมแบบนั้นมันทำให้เป็นแบบนี้ มันเรียนรู้ตัวเองค่อนข้างเยอะเหมือนกัน แล้วก็ค่อยๆ ทำให้ประเด็นในการทำหนังเรื่องนี้มันค่อยๆ ชัดเจนขึ้น”
บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ พูดถึงช่วงที่ต้องกลับไปขอสัมภาษณ์ ‘แฟนเก่าส์’ ระหว่างการพัฒนาภาพยนตร์ One for the Road ในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งของรายการ THE INTERVIEW กับ THE STANDARD POP
รับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=SMJdoHfSviQ&t=1200s
“นักแสดงใน One for the Road ช่วยยืนยันว่านักแสดงที่จะรู้จักตัวละครมากกว่าที่ผมรู้จัก เขาเป็นเหมือนจิตแพทย์ของตัวละคร ทั้งที่ผมเขียนคาแรกเตอร์เหล่านี้มาแบบมีเศษเสี้ยวความเป็นตัวเองประมาณหนึ่งแล้ว แต่ประโยคเดียวกันที่ผมมีภาพแบบหนึ่ง นักแสดงพูดออกมาผ่านการตีความ น้ำเสียง อารมณ์ของเขา แล้วทำให้ประโยคถูกพัฒนาไปอีก
“นักแสดงที่ดีไม่ใช่แค่การตอบโจทย์หรือเล่นได้อย่างที่ผมคาดหวัง เขาจะเป็นเหมือนจิตแพทย์ของตัวเองละครที่พาบทไปได้ไกลกว่านั้น”
บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ พูดถึงบทบาทของนักแสดงภาพยนตร์เรื่อง One for the Road ในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งของรายการ THE INTERVIEW กับ THE STANDARD POP
รับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=SMJdoHfSviQ&t=1200s
“ถ้าคิดว่าการใช้ชีวิตคือเกมหรือการแข่งขันอะไรบางอย่าง เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แพ้หรือชนะก็ได้ อันนั้นไม่สำคัญเท่าการเป็นผู้เล่นที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมทำได้แล้วนะ แต่อาจจะเป็นกลยุทธ์การลงแข่งในสนามต่อๆ ไปหลังจากนี้
“ถ้าเปรียบชีวิตตอนนี้เป็นช่วงพักครึ่งแรกของการแข่งฟุตบอล จากที่เมื่อก่อนเตะบอลไม่เข้า ก็จะตีอกชกหัวตัวเอง มึงแม่งห่วยแตก ไม่คู่ควรกับการเป็นนักฟุตบอลเลยว่ะ ต่อไปผมอาจจะแก้เกมว่าไม่ต้องเตะเข้าประตูทุกลูกก็ได้ เตะพลาด โดนคนโห่บ้างก็ดี พอจบครึ่งแรกแต่ละคนจะมีวิธีปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีการเล่นในแบบของตัวเอง และนั่นอาจจะเป็นความสวยงามของการเป็นผู้เล่นที่ดี”
บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับภาพยนตร์ One for the Road เปรียบเทียบชีวิตในวัย 40 ปี ว่าเป็นช่วงพักครึ่งการแข่งขันฟุตบอล ในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งของรายการ THE INTERVIEW กับ THE STANDARD POP
รับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=SMJdoHfSviQ&t=1200s
“ความสำเร็จของ Countdown คือมันล้มเหลว พอล้มเหลวปุ๊บมันทำให้เรามีสติ ถ้าวันนั้น Countdown มันประสบความสำเร็จผมคงเป็นอีกแบบหนึ่งเลย ตอนนั้นต้นทุนชีวิตเรามีแค่นั้น ความเชื่อ ทัศนคติ มันมีแค่นั้น
“แล้วถ้ามันถูกรับเลือกหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ผมว่ามันจะเปลี่ยนความเชื่อในการใช้ชีวิตผมไปแบบ 100% เต็มเลย แต่พอมันไม่ประสบความสำเร็จ เรากลับมาตั้งสติใหม่ ค่อยๆ เจียระไนความคิดหางอึ่งที่มี ว่าไหนใช่ ไม่ใช่ อันไหนดี ไม่ดี
“Bad Genius ก็เหมือนกัน คือมันล้มเหลวเพราะมันสำเร็จ ขนาดคิดว่าผมมีสติประมาณหนึ่งแล้วนะ แต่ความสำเร็จมันก็ทำให้เราไร้สติได้เหมือนกัน ต้องยอมรับ จนถึงทุกวันนี้ที่ทุกอย่างคูลดาวน์ลง เราเริ่มรู้แล้วว่า ไม่ว่าจะล้มเหลว สำเร็จ หรือกลางๆ ไม่มีอะไรที่จะคงอยู่ไปถาวร”
บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับภาพยนตร์ One for the Road พูดถึงความ ‘สำเร็จ’ และ ‘ล้มเหลว’ จาก 2 ผลงานก่อนหน้าอย่าง Countdown และ Bad Genius ที่ส่งผลกับตัวเขามาจนถึงทุกวันนี้ ในการสัมภาษณ์ช่วงหนึ่งของรายการ THE INTERVIEW กับ THE STANDARD POP
รับชมรายการแบบเต็มๆ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=SMJdoHfSviQ&t=1200s