×

สารเคมีในถุงขนมขบเคี้ยว ฟาสต์ฟู้ด และสารเคลือบเครื่องครัว เสี่ยงทำให้ผู้หญิงอ้วนได้ง่ายขึ้น

14.02.2018
  • LOADING...

นักวิจัยสหรัฐฯ ระบุว่า สารเคมีที่ถูกใช้ในการผลิตกระดาษห่อและบรรจุภัณฑ์อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว สารเคลือบกระทะและเครื่องครัว รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือน้ำมัน ซึ่งนอกจากจะเกี่ยวพันกับโอกาสเกิดภาวะฮอร์โมนและภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือแม้แต่เป็นโรคมะเร็งแล้ว จากงานวิจัยล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ใน PLOS Medicine นี้ยังพบว่า สารเคมีชนิดนี้อาจทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานน้อยลงและส่งผลให้เป็นโรคอ้วนในที่สุด

 

 

สารที่ว่ามีนี้ชื่อว่า ‘Perfluoroalkyl Substances’ (PFASs) หรือที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักกันดีในชื่อ ‘Obesogens’ ซึ่งเป็นสารเคมีที่จะเข้าไปทำให้ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติและเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกินได้ง่ายมากขึ้น ถ้าหากพบสารชนิดนี้เจือปนอยู่ในเลือดในปริมาณที่สูง โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนมากกว่าผู้ชาย

 

ทีมวิจัยได้ทำการค้นคว้าและเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างกว่า 621 คนที่ประสบปัญหาเป็นโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน โดยจะทำการตรวจเช็กสุขภาพ เข้าคอร์สลดน้ำหนัก และออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งพบว่า พวกเขาสามารถลดน้ำหนักไปได้ถึง 14 ปอนด์ (ราว 6.4 กิโลกรัม) ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก ในขณะที่พวกเขากลับลดน้ำหนักได้น้อยลงเรื่อยๆ จนมีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น 6 ปอนด์ (ราว 2.7 กิโลกรัม) โดยเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีระดับความเข้มข้นของ PFASs ในเลือดสูง

 

 

ในสหรัฐฯ สาร PFASs ถูกใช้มานานกว่า 60 ปี และเจือปนในแหล่งน้ำย่านอุตสาหกรรม ค่ายทหาร และโรงบำบัดน้ำเสีย ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ค่อนข้างยากในชีวิตประจำวัน สารชนิดนี้จะคงอยู่และสะสมในร่างกายมนุษย์ได้เป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพตามมา

 

ด้าน ฟิลิปเป แกรนด์จีน (Philippe Grandjean) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมประจำ Harvard Chan School ยืนยันว่า “โดยทั่วไปแล้ว พวกเรามักจะนึกถึงสาร PFASs ในลักษณะที่อาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งอะไรทำนองนั้น แต่งานวิจัยล่าสุดพบว่า สารชนิดนี้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคอ้วนมากเกินไป ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ที่คนหลายล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญ”

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising