×

เกาหลีใต้-เกาหลีเหนือ เห็นพ้องในหลักการ เตรียมประกาศยุติสงครามเกาหลีอย่างเป็นทางการ

15.12.2021
  • LOADING...
สงครามเกาหลี

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ (13 ธันวาคม) มุนแจอิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เผยว่า ทางการเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ รวมถึงสหรัฐอเมริกาและจีน เห้นพ้องในหลักการ เตรียมประกาศยุติสงครามเกาหลีอย่างเป็นทางการ หลังจากที่สงครามเกาหลีช่วงปี 1950-1953 เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้จุดยืนของเกาหลีเหนือเป็นปฏิปักษ์และอยู่ขั้วตรงข้ามกับสหรัฐฯ ตลอด 7 ทศวรรษที่ผ่านมา

 

ในสงครามเกาหลีช่วงเวลานั้น (เดือนกรกฎาคม 1953) ยุติลงด้วยข้อตกลงสงบศึกชั่วคราว และยังไม่เคยมีการทำสนธิสัญญาสันติภาพแต่อย่างใด ดังนั้นในทางเทคนิคแล้วถือว่าทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยังคงเป็นคู่สงครามกันมาโดยตลอด 70 ปี และอยู่คนละฝ่ายกับสหรัฐฯ ที่สนับสนุนเกาหลีใต้

 

ผู้นำเกาหลีใต้ระบุว่า ทางการเกาหลีเหนือจะยุติการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกันกับสหรัฐฯ ก่อน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญ ก่อนที่จะเปิดทางไปสู่การเจรจาต่างๆ ได้ และด้วยเพราะเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเรายังไม่สามารถนั่งโต๊ะเจรจาเพื่อประกาศแถลงการณ์หรือความตกลงร่วมกันของเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ รวมถึงแถลงการณ์ร่วมระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ได้ 

 

มุนแจอินหวังว่าทิศทางความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ เหล่านี้จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เขาเชื่อว่าการยุติข้อตกลงสงบศึกชั่วคราวที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนตลอด 70 ปีที่ผ่านมามีความสำคัญมาก อีกทั้งการประกาศสนธิสัญญาสันติภาพยังช่วยปูทางไปสู่การแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เพื่อนำสันติภาพมาสู่คาบสมุทรเกาหลีและภูมิภาคนี้อีกด้วย

 

ทางการจีนเห็นพ้องกับข้อเสนอดังกล่าว ขณะที่เกาหลีใต้และสหรัฐฯ อยู่ในระหว่างการร่างสนธิสัญญาสันติภาพในช่วงสุดท้าย ขณะที่เกาหลีเหนือปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเจรจาใดๆ ก็ตาม หากสหรัฐฯ ยังคงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับเกาหลีเหนืออยู่ ที่ผ่านมาในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือถึง 3 ครั้ง ในช่วงปี 2018-2019 แต่ดูเหมือนว่าการประชุมดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมถึงจัดการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ (Inter-Korean Summit) ถึง 3 ครั้งในปี 2018 ที่ผ่านมา

 

ภาพ: Inter Korean Press Corp / NurPhoto via Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising