×

นิด้าโพลเปิดผลสำรวจประชาชนหลังรับเงินหมื่น ส่วนมากนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน-ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจสนับสนุนรัฐบาล

โดย THE STANDARD TEAM
06.10.2024
  • LOADING...
นิด้าโพล

วันนี้ (6 ตุลาคม) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘รับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม’

 

ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ทั้งตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัว ได้รับเงิน 10,000 บาทจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 กระจายทุกภูมิภาค, ระดับการศึกษา, อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการนำเงินไปใช้จ่ายของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวได้รับเงิน พบว่า

 

  • ร้อยละ 86.79 ระบุว่า ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (รวมค่าน้ำ ค่าไฟ และน้ำมันเชื้อเพลิง)
  • ร้อยละ 16.49 ระบุว่า เก็บออมไว้สำหรับอนาคต
  • ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ใช้หนี้
  • ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ (เช่น ซื้อยารักษาโรคและหาหมอ)
  • ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ใช้ลงทุนการค้า
  • ร้อยละ 7.48 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา
  • ร้อยละ 1.37 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ร้อยละ 1.07 ระบุว่า ใช้ซื้อหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • ร้อยละ 0.99 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มือถือ และเครื่องมือสื่อสาร
  • ร้อยละ 0.69 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการบันเทิง (เช่น เลี้ยงสังสรรค์และซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาสูบ)
  • ร้อยละ 0.31 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว
  • ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ใช้ซื้อทองคำ, เพชร, พลอย และอัญมณี
  • ร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการสนับสนุนรัฐบาลของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัว ได้รับผลประโยชน์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 พบว่า

 

  • ร้อยละ 34.35 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร
  • ร้อยละ 30.31 ระบุว่า มีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล
  • ร้อยละ 20.38 ระบุว่า จะมีหรือไม่มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ก็สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว
  • ร้อยละ 13.13 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาล
  • ร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ / ไม่สนใจ
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising