×

สำรวจศูนย์พักพิงอุทัยธานี บ้านใหม่สุนัขจรจัด กทม. กินอิ่ม นอนหลับ อาจจะเฉาๆ หน่อย

15.11.2018
  • LOADING...

ในแต่ละปีกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนสุนัขจรจัดตามพื้นที่สาธารณะในเขต กทม. ปีละ 4,500-5,000 คำร้อง มีทั้งเรื่องร้องเรียนกรณีสงสัยโรค สุนัขก้าวร้าว และสร้างความรำคาญ โดยปัจจุบันแนวโน้มข้อร้องเรียนเรื่องสุนัขก้าวร้าวมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง เพราะพื้นที่ กทม. มีความแออัดมากขึ้น

 

ล่าสุด พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีนโยบายสำรวจจำนวนสุนัขจรจัดในแต่ละพื้นที่ หากพบว่าไม่มีเจ้าของ ไม่มีคนรับดูแล เป็นสุนัขพลัดหลงตามหาเจ้าของไม่ได้ หรือสุนัขที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ก็ให้จับไปบำบัดพักฟื้นที่ศูนย์ควบคุมสุนัขจรจัด ประเวศ เพื่อคัดกรองโรค ฉีดวัคซีน ทำหมัน ให้เรียบร้อย ก่อนจะขนย้ายไปที่ศูนย์พักพิงสุนัขกรุงเทพมหานคร อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี

 

 

สำหรับศูนย์พักพิงสุนัขกรุงเทพมหานคร อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี มีขนาดพื้นที่ 200 ไร่ ประกอบด้วยคอกสุนัข 16 โดม รองรับได้โดมละ 500 ตัว รวม 8,000 ตัว ปัจจุบันมีสุนัขอยู่ 4,871 ตัว

 

ในแต่ละเดือนสุนัขจรจัดที่คัดกรองโรคแล้วจากศูนย์พักพิงประเวศ จะถูกส่งมาที่ศูนย์อุทัยธานีประมาณ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 120-150 ตัว

 

1 ล้านบาทต่อเดือน คือค่าอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงสุนัขที่ศูนย์พักพิงอุทัยธานี สุนัขที่นี่จะได้รับอาหารเม็ดวันละ 1 มื้อ ซึ่งถือว่าเพียงพอตามธรรมชาติของมัน

 

นายสัตวแพทย์ศิวะ ไม้สนธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย บอกกับ THE STANDARD ว่าสุนัขจรจัดในศูนย์อุทัยธานีมีประมาณ 10% เท่านั้น ที่สามารถนำไปฝึกได้ วิธีคัดเลือกเบื้องต้นคือ ดูอายุระหว่าง 6 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี จากนั้นก็ดูลักษณะนิสัยว่าตื่นคนหรือไม่ มีความอยากรู้อยากเห็น หรือช่างสังเกตแค่ไหน ขณะที่ในแต่ละปีมีคนมารับสุนัขไปดูแลต่อแค่ 200-300 ตัวเท่านั้น

 

นายสัตวแพทย์ศิวะบอกว่า สุนัขโดยธรรมชาติเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องมีเจ้าของ สุนัขพวกนี้แต่เดิมเป็นสุนัขจรจัด ไม่มีบ้าน ไม่มีเจ้าของ ไม่มีอาหารและหลักโภชนาการ แต่มาอยู่ที่นี่มีบ้าน มีอาหาร แต่ขาดเจ้าของ หรือพูดง่ายๆ กินอิ่ม นอนหลับ แต่อาจจะเฉาๆ หน่อย

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X