THE STANDARD สรุปแนวคิดสำคัญโดย ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ CEO SC Asset Corporation PLC. จากเวที The Secret Sauce Strategy Forum 2022 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564 ผ่านคำถามสำคัญ 3 คำถามในการรับมือวิกฤต
Question 1: สถานการณ์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
ความปกติ (ใหม่) ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป
“วิกฤตนี้ก็ต้องจบลงนะครับ” เพียงแต่ว่าเรายังไม่รู้หรอกว่า มันจะจบลงเมื่อไร แล้วเราก็จะเข้าสู่ช่วง New Normal อย่างแน่นอน
ต้องบอกว่าช่วงประมาณเดือนที่แล้วผมได้ไป Vocations อยู่ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ประมาณ 3 เดือน เหมือนกับว่าได้นั่ง Time Machine ไปดูโลกอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า ว่าประเทศที่มีความใกล้เคียงกับ New Normal บรรยากาศเป็นอย่างไร ก็ได้เห็นภาพชัดขึ้น
ระหว่างไปทริปนั้น ก็ได้ไปที่เยอรมนีแล้วก็สวิตเซอร์แลนด์ด้วย ไปเห็นภาพต่างๆ ที่ UAE ประชากรประมาณเกือบ 10 ล้านคน Vaccination Rate สูงถึงเกือบประมาณ 80% ผู้คนออกมาใช้ชีวิตเกือบจะปกติแล้ว ออกมากินข้าว เดินห้าง ออกมาทำอะไรต่างๆ ได้เกือบจะปกติ เพียงแต่ว่าต้องใส่หน้ากากอนามัย ยกเว้นในร้านอาหาร
ที่ UAE อัตราการติดโควิดยังอยู่ที่ประมาณพันกว่าๆ เพิ่งจะลงมาต่ำกว่าพันเมื่อไม่กี่วันนี้ แต่ที่น่าสนใจมากคือ อัตราการตายต่อวันอยู่สักประมาณ 2 คน 1 คน บางวันไม่มีเลย ตัวเลขที่สำคัญมากเลยที่เห็น มีเลข 2 ตัวด้วยกัน คือเลข Vaccination Rate ซึ่งกำลังจะบอกถึงความเชื่อมั่นของกำลังซื้อในประเทศ อีกหนึ่งตัวเลขคือ เลขดัชนีของนโยบายการเปิดประเทศ ทั้งประเทศตนเองและประเทศคู่ค้าเรา ถ้า Vaccination Rate สูง กำลังซื้อในประเทศจะกลับมา
ถ้านโยบายการเปิดประเทศออกมาชัดเจน กำลังซื้อจากต่างประเทศจะเข้ามาก็ต้องบอกว่า ไปเห็นภาพตรงนี้ก็มีความหวัง มองกลับมาที่ประเทศไทยของเราก็มีความหวังตรงนี้อยู่ แล้วก็ต้องบอกว่าภาพ New Normal จะเป็นอย่างไร วันนี้เราดูช่วง Abnormal ที่เราอยู่ ผมว่าเราจะพอเห็นภาพแล้ว
Work-Life Integrated: เส้นแบ่งของพื้นที่ชีวิตและทำงานจะผสานกัน
เราย้อนกลับไปสักประมาณปีที่แล้ว เราเจอวิกฤตใหม่ๆ เราจินตนาการหลายๆ อย่างไม่ออก บางอย่างเราก็เดาเอา แต่ว่าปัจจุบัน ณ วันนี้เห็นภาพหลายอย่าง ชัดเจนขึ้นมาก และภาพที่เราเห็นวันนี้มันจะไปชัดจริงๆ ในช่วง New Normal สิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตเห็นว่า เมื่อเราเข้าสู่ช่วง New Normal สิ่งที่มาแน่ๆ คือ Work Life Integration
ในอดีต Work Life Integration เป็นวิธีคิด ตอนนี้มันจะกลายเป็นวิธีการแล้ว เพราะว่าเมื่อก่อนจะมี Work Life Balance ด้วย จริงๆ วิธีคิดตรงนั้นมันเป็นการแยกชีวิตกับงานออกจากกัน แต่ Work Life Integration เขามองภาพว่า Work มันเป็นส่วนหนึ่งของ Life ชีวิตชีวิตหนึ่งมันประกอบด้วยหลายมิติด้วยกัน งาน ครอบครัว สังคม ตัวเองด้วย เพราะฉะนั้น Work มันเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่ามันเป็นวิธีคิด มันไม่มีวิธีการให้
Home is Everything: บ้านคือสถานที่สำหรับกิจกรรมทุกอย่าง
ตอนนี้เชื่อว่าเราหลายๆ คนได้ทดลองช้อป เรียน ทำงานจากที่บ้าน ทำอะไรได้หลายๆ อย่างด้วยกัน เพราะฉะนั้น Work Life Integration จะเป็นวิธีการที่ชัดเจนขึ้น ในโลกยุคต่อไปนี้ ก็จะเห็นว่า Work Life Integration จะเป็นโอกาสหนึ่งที่ผู้คนสามารถทำงานจากหลายๆ ที่ด้วยกัน สิ่งที่เปลี่ยนไปเพราะว่า Time กับ Space มันไม่เหมือนเดิมแล้ว Time มันยืดหยุ่นมากขึ้น Space มันยืดหยุ่นมากขึ้น
สิ่งที่ผมทำอยู่คือ เรื่องที่อยู่อาศัย ต้องบอกว่าสูตรสำเร็จของการทำที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนจาก Location-Location-Location เปลี่ยนเป็น Space-Space-Space
Location คือสิ่งสำคัญ แต่ว่ามันจะลดลง เราอยู่ไกลได้ขอให้ Space ที่อยู่อาศัยเราตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเรา ให้เราทำอะไรจากที่บ้านได้หลากหลายมากขึ้น ออฟฟิศจะมีความเป็นโรงแรมมากขึ้น โรงแรมจะมีความเป็นออฟฟิศมากขึ้น คนที่ทำงานอยู่ในตึกก็ต้องการส่วนกลางบางอย่างที่เป็น Co-working Space บ้าง หรือว่าห้องงีบ Micro Stay ต่างๆ ก็จะมาตรงนี้
ในอดีตพวก Micro Stay เป็นกิมมิก ต่อจากนี้มันจะเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องจำเป็น ขณะที่คนมาพักที่โรงแรมต้องการส่วนที่ทำงานมากขึ้น Co-working Space หรือว่าที่ที่ทำงานได้ก็จะมีผลมากขึ้น
แล้วในอนาคตเชื่อว่า Gig Economy จะชัดเจน Gig Label จะชัดเจนมากขึ้น ด้วยความที่ Time กับ Space ยืดหยุ่นอย่างมาก การทำงานก็เช่นกัน คุณเคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ พูดถึง The Great Resignation จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แค่เรื่องของการลาออกอย่างเดียว มันคือการเปลี่ยนสถานะจาก Full-time ไปเป็น Part-time คนเก่งๆ ในอนาคตบางคน เขามักใช้ความเก่งของเขารับไว้ทีเดียว 3 จ๊อบด้วยกัน ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งคนเองทั้งบริษัทเองสามารถบริหาร Time และ Space ได้ในรูปแบบใหม่ ก็จะมีหลายๆ อย่างที่ผมเชื่อว่าเป็นโอกาส
Question 2:
ทิศทางของ SC Asset เป็นอย่างไร?
2023 SC Vision Statement ว่าด้วยเรื่อง ‘รอด-พร้อม-เติบโต’
ทิศทางของการที่จะทำให้เรารอดผ่านช่วง Abnormal เข้าสู่ New Normal แล้วแข็งแรงขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น ถึงจะมีบาดแผล แต่เรา SC จะเข้าสู่ยุคนั้น และแข็งแกร่งมาก มันน่าตาเป็นอย่างไร ทิศทางของเราต้องทำอย่างไร ไปถึง New Normal แล้วเราแข็งแกร่งมากขึ้นได้
ก็ต้องบอกว่าการหาคำตอบหรือการหาเป้าหมายตรงนี้มันไม่ง่าย แต่สิ่งหนึ่งที่อยากมาแชร์วันนี้คือ ฝันว่าเป้าหมายต้องเป็นอย่างไร วิธีการที่ทำผมทำงานร่วมกับทีมแบบ Inclusive เราช่วยกันคิด ถ้าเราเข้าสู่ New Normal เราอยากเป็นอย่างไร เราช่วยกัน ความฝันไม่มีต้นทุน เราสามารถฝันได้ พอเราฝันเสร็จก็เขียน Vision Statement ออกมา แบ่งปันกับทีม Communicate กับทีมทุกเดือน แล้วก็อ่านเองด้วย เพราะว่าเราจะทำให้ภาพเป้าหมายเราชัดเจนมากขึ้น พอเรารู้ภาพความฝันเราแล้ว เราจะไปหาวิธีการได้ง่ายขึ้น
ผมขออนุญาตอ่าน Vision Statement ของปี 2023 สำหรับ SC Asset ผมเขียนเอาไว้ว่า
เข้าสู่ปี 2023 วิกฤตโควิดจบลง ผู้คนใช้ชีวิตในวิถีปกติใหม่ SC จะเป็นองค์กรที่ปรับตัวได้อย่างโดดเด่น ผ่านวิกฤตด้วยความยืดหยุ่นและแข็งแกร่ง เติบโตอย่างยั่งยืนได้ในวิถีบริบทใหม่ ผู้คนที่หลากหลายใน SC จะมีทั้งทัศนคติและทักษะ ที่ผลักดันการเจริญเติบโตขององค์กร วัฒนธรรม Skydive ขององค์กรจะสร้างบรรยากาศให้ผู้คน ปลดปล่อยศักยภาพอย่างเต็มที่ คนเก่งไม่อยากออก คนนอกอยากมาร่วมงาน องค์กรมีความคล่องตัว ด้วยระบบงานที่เรียบง่าย เข้าใจง่าย พนักงานเรียนรู้ได้เร็ว เทคโนโลยีช่วยให้การตัดสินใจแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น ผู้คนจะมีเวลาไปใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น รายได้ของเราจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แบรนด์บ้านเดี่ยวโดย SC จะเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้คน สินค้าและบริการ ทั้งแนวราบและแนวสูงของเราจะมีคุณภาพสูงและมีนวัตกรรม
Living Solutions ที่คิดโดย SC Asset จะช่วยดูแลผู้อยู่อาศัยสร้างประสบการณ์น่าประทับใจ จนผู้คนบอกต่อกันและกลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญ ในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยโดย SC Asset สัดส่วนกำไรมากกว่า 1 ใน 3 จะมาจาก Recurring Income เพราะการลงทุนในโอกาสใหม่ของเรา
ผมเขียน Vision Statement ตรงนี้ออกมาแล้วทีมเรา ทีมผมเอง ก็เอาตรงนี้ไปทำการบ้าน เราหยิบ Keyword บางคำ หยิบหลายๆ อย่างออกมา แยกออกมา เป็นเป้าหมายแต่ละส่วน แล้วก็มาหาวิธีการด้วยกัน พอเราฝันแล้วมันชัดแล้ว ต่อไปเรามาพูดถึงวิธีการ แล้ววิธีการที่ต้องทำเราแบ่งออกเป็น 3 เฟสด้วยกัน เฟสที่ 1 คือรอด เฟสที่ 2 คือเตรียมพร้อม เฟสที่ 3 คือเติบโต ซึ่งจะเป็นการเติบโตในช่วงของ New Normal หรือตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป สมมติว่าปี 2023 วิกฤตจบลง
เฟสที่ 1 คือรอด
ก็ต้องบอกว่าปีที่ (2020) เป็นปีแห่งการเอาตัวรอดของเรา และของหลายบริษัทอสังหาฯ สิ่งที่ผมและทีมเราโฟกัสอย่างมากเลยในปีที่แล้ว คือเรื่องของสภาพคล่อง และเรื่องความปลอดภัยของพนักงานของเรา
ช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเราโฟกัสเรื่องนี้มาก เราต้องผ่านสภาพคล่องให้ได้ เรื่องความปลอดภัยของพนักงานให้ได้ ผลปรากฏว่าพนักงานเกิดความเชื่อมั่น ต้องบอกว่าในทุกวิกฤตมันมีโอกาสจริงๆ เราก็ไม่คาดคิดมาก่อนว่าประมาณช่วงเดือนมิถุนายน พฤติกรรมของคนมองหาที่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวอย่างมากอย่างไม่น่าเชื่อ
ในอดีตผู้คนอยู่บ้านเขามองว่าคือที่อยู่อาศัย ช่วงวิกฤตเขามองว่าคือที่คุ้มกันภัย ทุกคนต้องการหาถ้ำของตัวเองเพื่อหลบจากวิกฤต กลายเป็นว่าเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เป็นช่วงเวลาที่เราขายบ้านได้มากที่สุด ส่งผลให้ปี 2020 เรามีรายได้อยู่ที่ 19,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขนิวไฮของบริษัท ต้องยอมรับว่าตัวเองก็ไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อน
แต่ด้วยเรื่องที่เราโฟกัสเรื่องของสภาพคล่อง และเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน ทำให้ทุกคนมีพลัง มีความเชื่อมั่นในการรับมือกับโอกาสที่เข้ามา และสามารถผ่านตรงนี้ไปได้ เอาตัวรอดกันไปได้ เราเพิ่งจะกลับมาลงทุนอย่างจริงจังประมาณไตรมาส 4 ของเรา นี่คือช่วงที่เราเอาตัวรอด
เฟส 2: ทุนพร้อม-ทีมพร้อม-ฐานพร้อม
ช่วงเฟสที่ 2 ช่วงสองปีนี้ตรงนี้จะเป็นช่วงเวลาของการเตรียมความพร้อม ผมเรียกว่าเป็นการตุนเสบียงเพื่อสู้กับมูลค่าที่มีอยู่ และเตรียมพร้อมเติบโตหลังจากวิกฤตจบลง
คำถามก็คือว่า เราจะต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง เราเตรียมด้วยกัน 3 เรื่อง ทุนพร้อม ทีมพร้อม และฐานพร้อม ทุน ทีม และฐานทุนพร้อมก็คือ Capital ผมกำลังพูดถึงสภาพคล่อง กระแสเงินสด ที่ดิน สินค้าที่พร้อม พูดถึงแบรนด์ที่สร้างความเชื่อมั่นได้ ทีมพร้อมเรากำลังพูดถึงผู้คน วัฒนธรรม โครงสร้างขององค์กรต่างๆ ให้พร้อม เติบโตในบริบทใหม่
ฐาน หรือ Infrastructure เรากำลังพูดถึงเทคโนโลยี ที่ทำให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมกับทีมได้เตรียม 3 เรื่องนี้
5 เป้าหมายเตรียมความพร้อมรับวิกฤตของ SC ASSET
เป้าหมายที่ 1: Liquidity คือกระแสเงินสดที่เป็นดั่งลมหายใจที่สำคัญที่สุด
ขาดไม่ได้ในช่วงเวลาวิกฤต
เป้าหมายที่ 1 Liquidity กระแสเงินสด ผมมีคำที่ผมเปรียบเทียบตัวเลข หมายถึงคำพวกนี้กับร่างกายคนอย่างนี้ครับ กระแสเงินสดคือ ลมหายใจ กำไรขาดทุนคือ กล้ามเนื้อ วัฒนธรรมองค์กรคือ นิสัย เรื่องช่วงวิกฤตเรื่องสำคัญที่สุดคือ ลมหายใจ เราขาดลมหายใจไม่ได้ ถ้าขาดแล้วเราตายทันที
เพราะฉะนั้นช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน กระแสเงินสดยังเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด กระแสเงินสดต้องมีพร้อม พร้อมในระดับที่เตรียมรับมือกับมูลค่าที่จะเกิดขึ้น 2 ปีนี้ Wave 5 จะมาเมื่อไร Wave 6 จะมาเมื่อไร เราต้องพร้อม และเรารอดแล้ว
ที่ SC Asset เราต้องเตรียมต่อไปอีก เราต้องเตรียมกระแสเงินสำหรับการลงทุนต่อไป ใน Strategy การลงทุนจะมีการลงทุน 2 ที่ด้วยกัน ที่แรก คือสมรภูมิเดิมๆ กับอีกอันหนึ่ง น่านน้ำใหม่
กลยุทธ์ใหม่ที่ SC Asset เราใช้ 80% ของทรัพยากร เรากลับไปที่สมรภูมิเดิม เพราะว่ามันเป็นที่ที่เราทำได้ดีและเรามั่นใจ
ต้องบอกว่าแบรนด์ที่เรามั่นใจสั่งสมมาตลอดเป็น 10 ปี ความเชื่อมั่นที่เรามอบให้กับลูกค้าของเรา เราได้รับการตอบกลับอย่างดีมาก บ้านเดี่ยวขายจนเป็นนิวไฮ เพราะฉะนั้นความมั่นใจตรงนี้ 80% เราวิ่งกลับไป เรียกโหมดนี้ว่า โหมดดุดัน
โหมดดุดัน 80% เราไปลงที่สมรภูมิเดิม เราสะสมที่ดินเป็นอย่างมาก ปีนี้ปีเดียวเราสะสมที่ดินมูลค่าหมื่นล้าน เยอะที่สุดตั้งแต่เราสะสมมา ก็ลงไปที่สมรภูมิเดิมอย่างมั่นใจ 80%
ในขณะที่โหมดที่ 2 อีก 20% ผมเรียกโหมดนี้ว่า โหมดเสาะหา การเฝ้ารอโอกาสอย่างอดทน โหมดเสาะหา 20% ตรงนี้ เราถือเอาไว้ และเราก็เฝ้าดูโอกาส ว่าตรงไหนจะมีอนาคต ธุรกิจจะมีอนาคต หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทไหนมีอนาคต เราจะเข้าไปเพื่อสร้าง Portfolio ที่สร้าง Recurring Income หรือสร้างรายได้แบบประจำ สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง
ต้องบอกว่าใน Portfolio ของ SC เราเอง เรามี Recurring Income อยู่ประมาณหนึ่ง สักประมาณ 20% ของกำไรเรา เรามีออฟฟิศประมาณแสนตารางเมตร เรามีที่ดินสำหรับทำโรงแรมประมาณสัก 3 แปลง และเรามีอพาร์ตเมนต์อยู่ที่บอสตัน เราไปลงทุนไว้
แต่เรากำลังจะทำให้ตัวเลขตรงนี้ดับเบิลขึ้น เรายังรอโอกาส อดทน เสาะหาโอกาสที่ใช่ และเราจะเอาทรัพยากร 20% ตรงนี้ลงไป เมื่อเราเห็นภาพอนาคตชัดขึ้น ตรงนี้คือเรื่องการเตรียมพร้อมสภาพคล่อง
เป้าหมายที่ 2: Products คือ สินค้า บริการ Solutions ที่คิดมาเพื่อแก้ปัญหาสำหรับลูกค้าทุกคน
ต้องบอกว่าธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจแบบ Capital Intensive ไม่มีทุนจะเติบโตยากมากๆ เรื่องสำคัญวันนี้ต้องสะสมที่ดิน วันนี้เราได้สะสมที่ดินปีนี้ปีเดียวหมื่นล้านเพื่อการเติบโต โดยเฉพาะกลุ่มแนวราบในอนาคต
ถัดจากที่ดินเรื่องต่อไปครับ ก็คือเรื่องของดีไซน์ เรื่องของดีไซน์อย่างที่ผมได้พูดไว้ตอนแรกว่า Location-Location-Location มันได้เปลี่ยนส่วนไปเป็น Space-Space-Space ผู้คนอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัย ทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้น และอยู่ในบ้านนานขึ้น
Work from Home
Learn from Home
Shop from Home
Do Anything from Home
ที่อยู่อาศัยแบบ The Well กลายเป็น Shelter คุ้มกันภัย ปัจจุบันเป็น Home Nesting คือการอยู่ติดบ้านยิ่งมากขึ้น Space ในที่นี้ไม่ได้พูดถึง Space ขนาดใหญ่ บางทีเราไม่ได้ต้องการพื้นที่เยอะ เพราะต้องการใช้พื้นที่เล็กน้อย แต่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตอบโจทย์ อย่างเรื่องของการทำงาน เราไม่ได้ต้องการพื้นที่ใหญ่ เราเพียงต้องการแค่แสงกับเสียง ที่ที่ปิดเสียงให้เราทำงานได้
เป้าหมายที่ 3 Brand Trust คือ คุณภาพที่เชื่อถือได้ของสิ่งที่แบรนด์ส่งมอบให้กับลูกค้าและสังคม
เรื่องของ Brand Trust ความเชื่อมั่นของแบรนด์เรา ก็ต้องบอกว่าแบรนด์เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ช่วงเวลาวิกฤตผู้คนเดินมาด้วย Budget ก้อนหนึ่ง เขาต้องเลือกสิ่งที่เขาเชื่อมั่นที่สุด แบรนด์ทำหน้าที่ 3 อย่างด้วยกัน สร้างความแตกต่าง ให้คุณค่า และสร้างความเชื่อมั่น วันนี้ช่วงเวลาโดยเฉพาะวิกฤตตรงนี้ มันต้องสร้างความเชื่อมั่นอย่างมาก คำว่าคุณภาพเท่ากับความเชื่อมั่น ในความหมายของ SC Asset
ถ้าเราถามว่าเมื่อเราเข้าสู่ยุค New Normal แล้ว อะไรที่จะไม่เปลี่ยนไปคือ คุณภาพ อย่างไรผู้คนต้องการคุณภาพอยู่ เรามีการทำเรื่องของคุณภาพ OKRs ใช้ OKRs ทำเรื่องของคุณภาพทุกๆ เดือน เราโฟกัสเรื่องของการปรับ Product ให้เรามีคุณภาพอยู่ตลอด
และอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องประสบการณ์ วันนี้เองเรามีรู้ใจคลับ เป็นคลับที่ดูแลลูกค้าของเราหลังการขาย เรียกได้ว่าถ้าซื้อที่อยู่อาศัย จะเป็นบ้านหรือที่อยู่อาศัยของ SC Asset รู้ใจคลับของเราจะส่งมอบโซลูชันการดูแลที่อยู่อาศัยตลอดชีวิต
นี้คือสิ่งที่เราทำ และรายได้ส่วนนี้จะเป็น New S-Curve ในอนาคต
เป้าหมายที่ 4 People: ผู้คนขององค์กร โดยให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร การดูแลชีวิต และความปลอดภัยให้กับพวกเขา
องค์กรคือผู้คน กลยุทธ์คือวิธีการ เทคโนโลยีคือเครื่องมือ เราจะไม่ใช้สลับกัน เวลาที่เราจะขับเคลื่อนองค์กรหรือเปลี่ยนองค์กร เราอย่าเริ่มที่กลยุทธ์หรือเครื่องมือ เราต้องเริ่มที่ผู้คน วันนี้ผู้คนเป็นเรื่องสำคัญ
ช่วงเวลา 2-3 ปีจากนี้ ความปลอดภัยของผู้คนสำคัญมาก เพราะฉะนั้นวันนี้เรามีการเตรียมเรื่องของความปลอดภัยจากโควิดอย่างเป็นรูปธรรม เรามีวัคซีน 2 เข็มแรกให้พนักงาน เรามีบูสเตอร์เข็ม 3 รอไว้แล้ว เราสั่งไว้แล้ว แล้วก็บูสเตอร์เข็ม 4 ด้วย ให้พนักงานของเราทุกคน รวมไปถึงครอบครัวของพนักงานเราทุกคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงานของเรา รวมไปถึงคู่ค้า แรงงาน แม่บ้าน พี่ๆ รปภ. ทุกคนที่ช่วยดูแลพวกเรา ตรงนี้เองใน Stakeholders ของเรา เราจะดูแลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น สร้างปลอดภัย
ในขณะที่อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องของ Way of Work ในการทำงาน วันนี้เราคิดวิธีการทำไฮบริดที่เหมาะสมกับคนในองค์กรของเรา ต้องบอกว่าองค์กรเรามีคนอยู่ทั้งหมด 4 เจเนอเรชัน เราจะไม่ได้ทำไฮบริดสำหรับคนรุ่นใหม่เท่านั้น คนรุ่นใหญ่ก็จะต้องการสมดุลใหม่ในการทำงานเช่นกัน อีก 3 ปีองค์กรของเราสัก 70% จะเป็น Gen Y, Gen Z และ Gen X ก็จะพอๆ กัน และมี Baby Boomer อีกบ้าง แต่ทั้งหมดนี้ต้องปลดปล่อยศักยภาพด้วยกัน ไปด้วยกัน
เพราะฉะนั้น ผมกำลังใช้วิธีการแบบ Inclusive รวบรวมความต้องการทุกคนในองค์กรพันกว่าคน เพื่อเราจะได้เซ็ตไฮบริดเวอร์ชันของเรา ที่ตอบโจทย์ทุกๆ คนได้ดีที่สุด ตรงนี้คือเรื่องทีมพร้อม
เป้าหมายที่ 5: Infrastructure คือการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยลดงานซ้ำซ้อน ให้คนมีเวลาทำงานความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
Infrastructure เทคโนโลยีต้องพร้อม เพื่อมาช่วยทำงานที่ซ้ำๆ ซากๆ งานที่ต้องทำซ้ำทั้งหลาย คนของเราจะได้มีเวลาไปทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพราะว่าจะชนะมูลค่าได้ต้องคิดนอกกรอบ ใช้ความคิดสร้างสรรค์
ในองค์กรเราจะมี Duo Track แบบ Quick Win แก้ Proceed สั้นๆ ให้จบได้เร็ว กับ Big Win การใช้ ERP การเอาระบบ Platform ของการทำงานมาช่วยให้ข้อมูลที่วิ่งอยู่นใน Operations ของบริษัทรวมกันอยู่ที่ตรงกลาง ทุกคนจะได้มาหยิบอย่างสะดวก Automation Robotic ก็จะมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบางอย่าง และผู้คนก็จะได้มีเวลาไปใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
Question 3:
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วิธีการคืออะไร?
ในเวลาวิกฤตที่ทรัพยากรมีจำกัด ต้องทำเรื่อง ‘สำคัญและเร่งด่วน’
สำหรับช่วงวิกฤต ต้องบอกว่าทรัพยากรมีจำกัดจริงๆ เวลา พลังงาน คน เรามีจำกัด Leader ต้องมั่นใจ ต้อง Make Sure ว่าในบริษัทเราทำแต่เรื่องสำคัญ 1 กับ 2 ทำเรื่อง 3 กับ 4 ให้น้อยที่สุด หรือไม่ทำเลย Leader ตรงนี้เป็นเรื่องของภาวะผู้นำ
Research หลายๆ ฉบับ บอกว่าช่วงเวลาหลายๆ วิกฤต ผู้คนมองหาความชัดเจน เป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ผมใช้คำนี้ในองค์กรว่า ยิ่งสับสน ยิ่งสื่อสาร ยิ่งสับสบ ยิ่งต้องสื่อสาร เราจะสื่อสารเท่าไรก็ยังไม่พอ ต้องสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ในองค์กรเราจะมีการสื่อสารหลาย Level ด้วยกัน
ผมจะมี Town Hall ที่พูดคุยเรื่องเป้าหมายขององค์กร และมีช่วงพูดคุย Q&A ที่ถามตอบกัน ในอดีตเราทำ 3 เดือนครั้ง ช่วงวิกฤตหนักๆ ปีที่แล้ว เราทำครึ่งเดือนครั้ง ปัจจุบันอยู่ที่ความถี่เดือนละครั้ง ผมอยู่ที่ดูไบ ผมทำ Town Hall ไป 3 รอบแล้ว
สื่อสารระดับ Town Hall สื่อสารระดับ OKRs สื่อสารระดับทีม แล้วก็สื่อสารแบบ One on One วันนี้คนต้องพูดคุยกัน หัวหน้ากับลูกน้องต้องแลกเปลี่ยนความคาดหวังกัน ฟีดแบ็กกัน พูดคุยกันทุกๆ ไตรมาส อย่างน้อยต้องมีครั้งหนึ่ง ผมเรียกตรงนี้ว่าเช็กอิน
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ ‘L-E-A-D’ ที่ต้องชัดเจน และหมั่นสื่อสาร
L ก็คือ Looking like a leader, not a boss หมดยุคของ Superman เป็นยุคของ Human ผู้นำยุคใหม่จะเป็น Human หมดยุคของการ Command, Control เป็นยุคของการ Communicate, Collaborate, Compassionate เป็นยุคของการ Combine เป็นมนุษย์ มนุษย์ที่เป็นผู้นำ ผิดได้ ไม่รู้ได้ ไม่รู้ไม่เป็นไร ตั้งคำถาม ฟังมากกว่าพูด แล้วก็เห็นใจ เข้าใจ ทำความเข้าใจพนักงาน
E นี้คือ Empathy วันนี้รู้ ไม่เท่ากับรู้สึก อยากจะผ่านช่วงวิกฤตตรงนี้ไปได้ ต้องไปรู้สึกว่าพนักงานรู้สึกอย่างไร ลูกค้ารู้สึกอย่างไร เราถึงจะหา ไปรู้ว่า pain point คืออะไร pain point จะนำมาซึ่งนวัตกรรม
A คือ Awareness รู้คนอื่น แล้วต้องรู้ตัวเอง รู้บริบทด้วย ตัวเองจะทำให้เรามีสติ โลกยุคนี้ EQ สำคัญกว่า IQ EQ คือรู้คนอื่น แล้วต้องรู้ตัวเองด้วย เข้าใจทั้งคนอื่นและเข้าใจตัวเอง
D คือ Delivery เราว่าพนักงานต้องปลอดภัย เราต้อง Deliver วัคซีน Deliver เข็มบูสเตอร์ ทำให้เป็นรูปธรรม
มุ่งมั่นสร้างเช้าที่ดีให้กับลูกค้าทุกคน-ต้องรู้ตัวเอง รู้บริบท แล้วจะพบชัยชนะ
Pampers ขององค์กรเรา การสร้างเช้าที่ดีให้กับลูกค้าของเราทุกคน ต้องบอกว่าทั้งหมดที่เราทำตรงนี้ เพื่อที่ในบริบทใหม่เราจะสร้างเช้าที่ดีให้กับลูกค้าของเราได้
แล้วลูกค้าของเราอยู่ในบ้าน อยู่ในคอนโด เขาตื่นมามีพลังงาน มีเวลาที่มากขึ้น แล้วเขาจะไปทำ Mission ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ SC Asset ทำ วันนี้ต้องรู้ตัวเอง และก็รู้บริบท และเราจะหากลยุทธ์ของเราเจอ เป็นกลยุทธ์ของเวอร์ชันของแต่ละบริษัทเอง และจะผ่านวิกฤตตรงนี้ไปสู่แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เองได้
กลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตที่มีความไม่แน่นอน
กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ การปรับกลยุทธ์อยู่สม่ำเสมอ การปรับกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลา
ผมคิดว่ายุคนี้ ยุคที่อะไรเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต้องรู้ตัวเอง รู้บริบท ปรับตัวได้เหมือนน้ำ แต่สงบนิ่งได้เหมือนดิน ตัวเราเองมีจุดแข็ง เราต้องรู้ตัวเอง และรู้บริบท เราถึงจะรู้ว่าตัวเองมันจะวิ่งเข้าไปในบริบทได้ตรงไหน
ในขณะเดียวกันน้ำนี้มันเป็นของเหลว มันวิ่งไปไหนไม่ได้ แต่พออุณหภูมิร้อนขึ้น มันเปลี่ยนสภาพกลายไปเป็นไอได้ แต่พออุณหภูมิเย็นลง มันกลายเป็นน้ำแข็งได้
มันเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
“แต่ในขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มันวิ่งเข้ามา มันก็กระทบความมั่นคงทางจิตใจของเรา เราต้องสงบนิ่งได้เหมือนดิน อะไรเข้ามาเราก็ไม่หวั่นไหว ถ้าเราทำตรงนี้ได้ เราจะสามารถปรับกลยุทธ์ได้อย่างต่อเนื่องอย่างเป็นอิสระ”