×

‘MTCH’ แบรนด์มัทฉะญี่ปุ่นสายเลือดไทย ยืนอย่างไรในวันที่ร้านมัทฉะเต็มเมือง

16.07.2025
  • LOADING...
mtch-matcha-thai-storytelling

ปี 2567 คนไทยดื่ม ‘มัทฉะ’ ไปกว่า 5 ล้านแก้ว 

 

นอกจากนั้น เรายังได้ผ่านตาปรากฏการณ์มัทฉะฟีเวอร์ จนถึงขั้นขาดตลาดไปช่วงหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าคนไทย ‘อิน’ กับเจ้าเครื่องดื่มนี้อย่างมาก 

 

ท่ามกลางกระแสนี้ MTCH (เอ็ม-ที-ซี-เอช) ร้านมัทฉะสัญชาติไทย นำโดย จิว-สรวิศ พันธ์เกษม ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2020 สามารถยืนระยะให้ร้านยังคงเป็นที่นิยมได้อย่างไร ในวันที่ร้านมัทฉะ Speciality เปิดอยู่แทบทุกหัวมุมถนนในย่าน CBD ของกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ทั่วไทย?

 

🟡 แบรนด์ที่ชัด คือหัวใจสำคัญของการยืนหยัด 

 

“ถ้าลูกค้าเดินเข้าร้านแล้วรู้สึกว่าเหมือนอีกร้านหนึ่งจังเลย นั่นแปลว่าเราจะยิ่งเหนื่อย”

 

MTCH ให้ความสำคัญกับแบรนดิ้งเป็นอันดับหนึ่ง ชื่อร้าน ‘MTCH’ ถูกออกแบบมาให้มีความเป็นเอกลักษณ์และชวนให้เกิดคำถาม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าจดจำได้ 

 

และองค์ประกอบต่างๆ ของแบรนด์ MTCH ตั้งแต่ โทนสี, การตกแต่งร้าน, Packaging ไปจนถึงตำแหน่งโลโก้ในทุกแพลตฟอร์ม ถูกสร้างสรรค์บน Corporate Identity (CI) ที่แข็งแกร่งและสอดคล้องกัน เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ได้ง่าย 

 

นอกจากนั้น MTCH ยังเน้นแนวคิด Storytelling ผ่านการเล่าเรื่องราวของมัทฉะตั้งแต่การปลูกในไร่ชา กระบวนการผลิต และการชงดื่มผ่านโซเชียลมีเดียให้เป็นเหมือน ‘ตัวอักษรที่มีเสียง’ ซึ่งทำให้ลูกค้าเข้าใจและรู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์ 

 

🟡 มุ่งมั่นในแก่นแท้ ไม่ใช่แค่ตามกระแส 

 

MTCH ไม่ได้มุ่งเน้นการเติบโตแบบก้าวกระโดดหรือการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว แต่ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพและเอกลักษณ์ของแบรนด์

 

การเลือกทำเลของสาขาเน้นการ ‘สื่อสารแบรนด์’ (express brand) และการเสริมสร้างคุณค่าร่วมกับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ เช่น เปิดสาขาที่ซอยสุขุมวิท 23 เพราะมีกลุ่มคนที่ดูแลสุขภาพและออกกำลังกาย มากกว่าการเลือกทำเลที่มีปริมาณลูกค้าสูงอย่างห้างสรรพสินค้า

 

การ Collaboration ที่เราเห็นแต่ละครั้งก็เลือกสรรอย่างพิถีพิถัน โดยเลือกทำกับคนที่รู้จักกันอย่างดี หรือแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ‘ลูกค้าได้อะไร’ จากการร่วมมือ ไม่ใช่การเน้นยอดขาย

 

🟡 ลูกค้าต้องรู้สึกคุ้มค่า และเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์

 

MTCH ไม่ได้บวกราคาตามต้นทุนวัตถุดิบ แต่ตั้งกำไรต่อแก้วให้คงที่มาตั้งแต่แรก

 

สมมติว่า Matcha Latte มีต้นทุน 20 บาท ทางร้านตั้งกำไรไว้ที่ 80 บาท ทำให้ราคาขายอยู่ที่ 100 บาท ในขณะที่มัทฉะพรีเมียมอีกตัวหนึ่งมีต้นทุน 45 บาท หากคิดตามหลักการค้าปลีกทั่วไป อาจจะต้องขายแก้วละประมาณ 200 บาท

 

แต่ด้วยแนวคิดการตั้งกำไรต่อแก้วให้คงที่ 80 บาทเท่ากัน ทำให้ชาพรีเมียมแก้วนั้นถูกตั้งราคาขายไว้ที่ 125 บาท 

 

วิธีคิดนี้ ทำให้ลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเลือกซื้อเมนูชาต้นทุนต่ำหรือสูงก็ยังรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับร้าน ไม่ได้รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบหรือต้องจ่ายแพงเกินไปเพียงเพราะเลือกของดี สมกับแนวคิด ‘มัทฉะสำหรับทุกคน’ ที่ตั้งไว้

 

ในวันที่ใครก็สามารถประกอบธุรกิจได้ แบรนด์ของคุณอาจจมหายไปง่ายๆ หากไม่มี ‘จิตวิญญาณผู้ประกอบการ’ ที่แข็งแกร่งพอ มารับแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้า ‘อิน’ ในแบบที่เป็นคุณได้ จากประสบการณ์ตรงของ จิว-สรวิศ พันธ์เกษม ที่เวที YOUNG ENTREPRENEUR STAGE งาน The Secret Sauce Summit 2025 วันที่ 16-17 กันยายน 2568

 

FYI

🎟️ ซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ที่ https://bit.ly/tsss25MTCH

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising