ธนาคารมิซูโฮบรรลุข้อตกลงวงเงินสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนจำนวน 440 ล้านดอลลาร์ กับซีพีเอฟ (ประเทศไทย) ตั้งเป้านำไปใช้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตภัณฑ์ และเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการดำเนินงาน
ธนาคารมิซูโฮได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการที่ได้รับมอบอำนาจแต่เพียงผู้เดียว (Sole Mandated Arranger) สำหรับวงเงินสินเชื่อร่วมที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Cross-Border Syndicated Loan) และได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ระยะ 5 ปี จำนวน 440 ล้านดอลลาร์ กับบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย)
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ และธุรกิจอาหาร โดยบริษัทให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าทางด้านการวิจัย การพัฒนา สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
นอกจากนี้บริษัทยังใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เช่น ติดตั้งระบบอัตโนมัติ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและลดความเสี่ยงทางธุรกิจให้กับบริษัท
ส่งผลให้บรรลุผลสำเร็จในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตให้อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงทำให้เกิดการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านกระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับวงเงินสินเชื่อร่วมที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนนี้ ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) มีการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของกลุ่มซีพีเอฟ
โดยเป้าหมายด้านความยั่งยืน (KPI) ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนในการดำเนินงาน การคำนวณอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จของบริษัทในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้
โดยธนาคารมิซูโฮได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงานด้านความยั่งยืน และช่วยสนับสนุนการกำหนดเป้าหมาย (KPI) ในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน (SPT) สำหรับวงเงินสินเชื่อในครั้งนี้
นอกจากนี้เพื่อเป็นการกระจายแหล่งเงินทุนและขยายฐานนักลงทุน ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) ได้ทำงานร่วมกับธนาคารมิซูโฮ เพื่อให้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR)
โดยในเดือนมีนาคม 2565 ธนาคารมิซูโฮได้พยายามทำงาน โดยรวมความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคาร และใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลาย รวมถึงให้คำปรึกษาและการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่มีส่วนในการเปลี่ยนไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ส่องผลงาน 4 หุ้นในเครือเจ้าสัว ‘ธนินท์ เจียรวนนท์’
- เจ้าสัวธนินท์ ฟันธง เศรษฐกิจไทยปีหน้าดีกว่าปีนี้แน่นอน! แต่มาก-น้อยขึ้นอยู่กับรัฐบาล
- ลิซ่า BLACKPINK ไม่ได้เป็นพรีเซนเตอร์แค่ TrueID แต่เป็นการดีลระดับเครือ CP ที่เตรียมปรากฏตัวในอีกหลายแบรนด์