×

ชวนสำรวจตัวเองว่าคุณเข้าข่ายคนเป็นโรคเกลียดเสียงหรือไม่?

29.10.2021
  • LOADING...
Misophonia

การที่เรารู้สึกรำคาญหรือตกใจเสียงอะไรบางอย่างนั้น จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่มันจะผิดปกติทันที หากเราเริ่มกลายเป็นคนที่รำคาญหรือเกลียดเสียงเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันจนส่งผลต่ออารมณ์ที่แปรปรวน เช่น เมื่อได้ยินเสียงถุงขนม เสียงหายใจ เสียงฝีเท้า เสียงเคี้ยว เสียงปิดประตู เสียงก๊อกน้ำไหล เสียงหยดน้ำจากหลังคารั่ว ฯลฯ ที่คนทั่วไปได้ยินแล้วเฉยๆ แต่พอเราได้ยินแล้วกลับมีอารมณ์หงุดหงิดเกิดขึ้นทันที แบบนี้ถือว่าเข้าข่ายอาการ มีโซโฟเนีย (Misophonia) หรือโรคเกลียดเสียง ซึ่ง Misophoniainthai (มีโซโฟเนียอินไทย) ที่ทำการรวบรวมข้อมูลจากงานแปลและงานวิจัยเกี่ยวกับโรคเกลียดเสียงโดยเฉพาะ ได้อธิบายอาการของโรคมีโซโฟเนียว่า คืออาการตอบสนองต่อเสียงจำเพาะด้วยอารมณ์ที่รุนแรงในทันทีที่ร่างกายได้ยินเสียง โดยปฏิกิริยาเกิดขึ้นเองอัตโนมัติอยู่นอกอำนาจจิตใจ และเสียงจำเพาะมักเป็นเสียงเบาๆ 

 

ถามว่าสาเหตุเกิดจากอะไร? Misophoniainthai อธิบายว่า มีโซโฟเนียมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางระบบประสาท ซึ่งสมองแปลความผิดว่าเสียงกระตุ้นคือสิ่งอันตราย คนที่เป็นมีโซโฟเนียถูกกระตุ้นด้วยเสียงที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น เสียงเคี้ยวอาหาร เคาะดินสอ ไอ จาม ฯลฯ และบางคนถูกกระตุ้นทางการมองเห็นด้วย สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นเหล่านี้เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรงทั้งทางร่างกายและอารมณ์นั่นเอง 

 

ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ที่สามารถยืนยันได้ว่าสามารถรักษาโรคเกลียดเสียงที่ได้ผลจริงและถาวร ดังนั้นหากใครที่กำลังเป็นโรคนี้อยู่ หรือมีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคเกลียดเสียง ก็มีวิธีที่จะอยู่ร่วมกันได้ นั่นคือฝึกมีสติ ทุกครั้งที่กำลังเผชิญกับอาการของโรคเกลียดเสียง ก็ให้รู้ตัวว่ากำลังโกรธเพราะได้ยินเสียงที่ไม่ชอบอยู่ มันเกิดจากอาการที่เรามีความอ่อนไหวต่อเสียงมากเป็นพิเศษ พยายามคิดว่ามันไม่ได้ส่งผลอันตราย มันเป็นเพียงเสียงธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อฝึกควบคุมสติของตัวเองบ่อยๆ ก็จะดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น 

 

เอาล่ะหากใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากเช็กว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคเกลียดเสียงหรือไม่ ลองทำตามแบบทดสอบต่อไปนี้แล้วดูผลลัพธ์ได้เลย

 

Misophonia

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising