ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางค่อนเล็กหรือ SMEs ต่างก็ขยับตัวลงมาศึกษาถึงความเป็นไปได้และเครื่องมือที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจของตัวเองสามารถเติบโตได้อย่างมหาศาล ภายใต้ต้นทุนที่ต้องควบคุมได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น (ไม่ได้เพิ่มขึ้นไปมากกว่าเดิม) ด้วยข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสถานการณ์โรคระบาด
‘เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology)’ นับเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจจำนวนมากสามารถปรับตัว เพิ่มความได้เปรียบ ความแข็งแกร่งด้านการแข่งขัน การให้บริการกับลูกค้าได้อย่างไหลลื่น ต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน แบบไร้อุปสรรคใดๆ มากวนใจ
เนื่องจากการให้บริการผู้บริโภค ลูกค้าในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล การเข้าถึงคลังข้อมูลขนาดมหาศาลเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูล เข้าถึงข้อมูล พร้อมประมวลผล ต่อยอดได้แบบเรียลไทม์ด้วย AI ถือเป็นโจทย์สำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บริการและปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาและขั้นตอนต่างๆ ที่ยุ่งเหยิงลงได้ง่ายดาย ที่สำคัญ ถ้าทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำได้ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจ การให้บริการแบบดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ก็จะถือเป็นหัวใจพิเศษที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แต่ในวันที่ตลาดมีตัวเลือกผู้ให้บริการคลาวด์จำนวนมากมายมหาศาลไม่หวาดไม่หวั่น เราจะมีวิธีการในการคัดกรอง คัดเลือกผู้ให้บริการที่เราจะสามารถไว้วางใจได้ดีที่สุดด้วยวิธีการไหน รวมถึงจะมีทางเลือกอื่นๆ มากกว่าแค่การลงทุนด้าน IT แบบเหมารวมแต่โฟกัสไปที่ด้านใดด้านหนึ่งแทน เพื่อที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง แข็งแรง หรือไม่?
หนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนานร่วมศตวรรษ มีประสบการณ์การให้บริการและโครงข่ายการเชื่อมต่อในโลกเทคโนโลยีที่ช่ำชอง ย่อมหนีไม่พ้น ‘Microsoft Azure’ โดย Microsoft บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ซึ่งปัจจุบัน Microsoft Azure ถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ เดต้า ลำดับต้นๆ ที่ได้รับการยอมรับ และไว้วางใจจากภาคธุรกิจ ผู้ใช้งานทั่วโลก
แล้วอะไรคือเคล็ดลับที่ Microsoft Azure จะทำให้ธุรกิจของคุณมีความแข็งแกร่ง รวมถึงช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวเองสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมั่นคง ควบคุมงบประมาณการลงทุนด้านเทคโนโลยี ดิจิทัลได้อย่างเกิดผลลัพธ์สูงสุด จนสร้างความแตกต่าง และความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน?
หัวใจสำคัญทั้ง 4 ข้อของ Microsoft Azure ที่ทำให้บริการคลาวด์ของพวกเขาเหนือกว่าคลาวด์เจ้าอื่นๆ ในท้องตลาด ประกอบไปด้วย
- การช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารต้นทุน IT ให้เหมาะสมได้
- การช่วยขับเคลื่อนธุรกิจแบบผสม Offline & Online
- การเร่งใช้งานข้อมูลเชิงลึกเพื่อขับเคลื่อนภาคธุรกิจ
- การันตีความปลอดภัยที่เชื่อถือได้
เริ่มตั้งแต่ ‘การช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารต้นทุน IT ให้เหมาะสม’ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสำคัญของ Microsoft Azure โดย Microsoft เคลมว่า ระบบคลาวด์ของพวกเขาจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถบริหารควบคุมต้นทุนด้าน IT ในภาคส่วนต่างๆ ขององค์กรได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ตรงตามรูปแบบ ลักษณะเฉพาะของการใช้งานตามแต่ละประเภทธุรกิจให้มากที่สุด
และก็แน่นอนว่า แพ็กเกจราคาค่าบริการที่ทาง Microsoft กำหนดมาให้ลูกค้า ผู้ใช้บริการเลือกใช้งานนั้นก็มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับระบบที่มีการใช้งาน ตามจำนวนทราฟฟิกที่มีการเรียกใช้งานจริง ไม่ต้องมีการลงทุนซื้อ Hardware ในช่วงที่ธุรกิจกำลังฟื้นตัวแบบนี้ ทำให้ Cashflow ของธุรกิจมีความคล่องตัวขึ้น ทำให้มีต้นทุนของการใช้ IT เพื่อทำธุรกิจในยุคนี้ที่สมเหตุสมผลอีกด้วย
อธิบายให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นก็คือ เราสามารถเลือกขนาดของ VM หรือเครื่อง Server บนคลาวด์ที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงได้โดยไม่ต้องซื้อเผื่อไว้รออนาคตแบบการลงทุนระบบ IT แบบที่ผ่านมา และเมื่อธุรกิจจำเป็นจะต้องสเกล ขยายทีมหรือระบบหลังบ้านเพื่อให้พร้อมต่อการให้บริการลูกค้าในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ก็สามารถเลือกซื้อ VM ที่เพิ่มขึ้นได้ เพื่อให้คลาวด์ของ Microsoft Azure ที่ใช้งานนั้นตอบโจทย์กับความต้องการได้อย่างแท้จริง
ซึ่งทาง Microsoft จะคิดค่าใช้บริการตามจริง เช่น ถ้าธุรกิจของคุณไม่จำเป็นต้องให้บริการต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ก็สามารถเลือกปิดการใช้งานคลาวด์ในช่วงที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนกลางคืน เพื่อให้ต้นทุนการใช้งานคลาวด์สมเหตุสมผล คิดตามการใช้งานจริงให้ได้มากที่สุด ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้คลาวด์ ณ ช่วงเวลานั้นๆ จะตรงตามการใช้งานจริงมากที่สุด ช่วยให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดกับตัวเจ้าของธุรกิจด้วย ยิ่งกว่านั้นคือ Microsoft Azure มีเครื่องมือที่จะช่วยให้คำแนะนำว่า ผู้ใช้บริการควรจะปรับลดขนาดของระบบคอมพิวเตอร์ VM ที่เปิดใช้งานอยู่หรือไม่ เนื่องจากมีการใช้งานที่อาจจะไม่ Optimized อยู่ สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้
หรือในกรณีที่ต้องใช้งานต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ทาง Microsoft ก็มีแพ็กเกจค่าใช้บริการในราคาพิเศษให้เลือกใช้ได้อีกด้วย ตรงนี้เองคือความตั้งใจของ Microsoft ที่อยากจะให้บริการ IT เป็นเหมือนสาธารณูปโภคกลุ่มไฟฟ้า-น้ำ ที่ต้องการใช้เมื่อไรก็เปิดเมื่อนั้น ไม่ใช้ก็สามารถเลือกปิดได้ เพื่อช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษา และการดำเนินงานในระยะยาว
โดยที่จุดแข็งข้อแรกนี้ยังยึดโยงกับการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจแบบผสม Offline & Online ในข้อที่สอง เพราะ Microsoft Azure จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถปรับ Custom ความจุ (Capacity) หรือกำลังของการใช้งานคลาวด์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้อย่างเหมาะสมแบบไฮบริด ตามแต่ละช่วงเวลา หรือประเภทของธุรกิจนั้นๆ
เนื่องจากธุรกิจบางประเภทก็เน้นดีมานด์จากขาออฟไลน์มากกว่า ส่วนบางประเภทก็อาจจะเน้นออนไลน์เป็นหลัก ขณะที่อีกกลุ่มก็อาจจะมีความต้องการในการให้บริการทั้งออฟไลน์และออนไลน์ในแต่ละช่วงเวลาของวันด้วยทราฟฟิกที่ไม่แน่นอน ไม่คงเส้นคงวา ดังนั้นการที่บริการคลาวด์ของ Microsoft Azure สามารถให้เครื่องมือช่วยสร้างความยืดหยุ่นในเชิงการใช้งาน ปรับแต่งระบบให้พร้อมรองรับ Workload ที่เข้ามา ไม่ว่าจะขึ้นมาสูงในช่วงโปรโมตแคมเปญธุรกิจต่างๆ หรือต้องมีการลดการใช้งานเพราะมีการล็อคดาวน์แบบที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายก็จะสอดคล้องกับสภาพของธุรกิจในขณะนั้นด้วย และที่สำคัญ คุณภาพของการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ระบบล่มหรือระบบช้าเพราะการเตรียมระบบให้รองรับการเข้ามาใช้งานพร้อมๆ กันไม่ได้มากพอ จึงถือเป็นความโดดเด่นที่ช่วยเพิ่มอิสระในการใช้ระบบ IT หรือ Digital มาเสริมช่องทางการให้บริการใหม่ๆ กับภาคธุรกิจ
ประโยชน์หลักๆ นอกเหนือจากความยืดหยุ่นและอิสระในการใช้งานก็คือ การที่ผู้ใช้บริการ Microsoft Azure สามารถปรับขยายระบบ IT ของตัวเองให้ยืดหดตามดีมานด์การใช้งาน และทราฟฟิกความเป็นจริง โดยที่ระบบเว็บก็ไม่ล่ม และต้นทุนการใช้งาน IT การลงทุนจริงก็ไม่บานปลาย
ข้อถัดมา ‘การเร่งใช้งานข้อมูลเชิงลึกเพื่อขับเคลื่อนภาคธุรกิจ’ ตรงนี้ถือเป็นจุดแข็งแต่ดั้งแต่เดิมของ Microsoft อยู่แล้ว ซึ่งการใช้บริการ Microsoft Azure จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถเข้าถึงการใช้งานข้อมูลเชิงลึกหรือ Data Analytics แบบที่ไม่ได้มีต้นทุนที่สูง เพื่อเปลี่ยนให้การดำเนินงานภาคธุรกิจของตนหรือ การทำการตลาดในยุคนี้ เป็นยุคที่มีเงินทุนจำกัด เพราะสถานะการณ์โรคระบาดโควิด ทำให้การทำการตลาดต้องมาเน้นการขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลขนาดมหาศาลหรือ Data Driven เพื่อให้สามารถหวังผลในทุกๆ การขยับตัว การเคลื่อนไหว ในการเดินเกมธุรกิจให้ได้มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดของเงินทุน
และสุดท้าย ‘ความปลอดภัยที่เชื่อถือได้’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ Microsoft ใส่ใจและเร่งพัฒนาโดยตลอด เนื่องจากตนเองถือเป็นบริษัทเทคโนโลยี ดังนั้นในวันที่ภัยคุกคามไซเบอร์ สแปมโจมตีภาคองค์กรอย่างต่อเนื่อง รุนแรง เพื่อหวังผลด้านข้อมูล การโจรกรรม และการเรียกค่าไถ่ Microsoft ในฐานะที่เป็นป้อมปราการสำคัญจึงต้องเร่งยกระดับความสามารถในการช่วยดูแลระบบไซเบอร์ให้กับผู้ใช้งานภาคธุรกิจองค์กรให้ได้ โดยที่พวกเขาได้ลงทุนเป็นเงินจำนวนกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 33,600 ล้านบาทต่อเนื่องในทุกๆ ปี เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง และความปลอดภัยให้กับองค์กรที่เข้ามาเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการคลาวด์ Microsoft Azure ของตัวเอง โดยที่ Microsoft Defense Operation Center นั้นมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาณด้านความปลอดภัยไซเบอร์ประจำการในแผนกนี้มากถึงกว่า 3,500 รายโดยเฉพาะ
เท่านั้นยังไม่พอ การที่ภาคธุรกิจทั่วโลกมีสัดส่วนการใช้งานระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ที่รันระบบโดย Microsoft เป็นหลัก ก็ถือเป็นแต้มต่อที่ทำให้ Microsoft มีอินพุตสำคัญในการบริหาร จัดการกับความเสี่ยง ภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และครอบคลุมในหลากหลายมิติ
เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์นี้ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นมากๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาคธุรกิจไทยจะต้องปรับวิธีการให้บริการ และมาตรการในการดูแลลูกค้าของตัวเองเสียใหม่ให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวข้อมูลผู้บริโภค PDPA (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ที่จะมีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ในประเทศไทย
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นจุดเด่นและความแตกต่างของ Microsoft Azure ที่ทำให้คลาวด์ของพวกเขาช่วยให้ภาคธุรกิจจำนวนมาก สามารถปรับตัวในการให้บริการ การทำธุรกิจได้ในทุกๆ สถานการณ์ โดยไร้ซึ่งแรงเสียดทาน อุปสรรค และสามารถเพิ่มแต้มต่อความได้เปรียบในการทำธุรกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างหลากหลายได้แบบตรงใจ ตรงเวลา และตรงกับการตอบสนองความปลอดภัยของข้อมูล
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cloud Economy สามารถติดต่อได้ที่ https://aka.ms/CloudAssessment