เคยเป็นกันไหมกับอาการท้องไม่ดีหลังดื่มนม ซึ่งอาจจะทำให้ใครหลายคนออกอาการหวาดๆ ไม่กล้าที่จะดื่มนมไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ในนมวัวนั้นมีสารอาหารอันอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย แต่รู้กันหรือเปล่าว่าที่หลายคนไม่อยากจะดื่มนมเพราะคิดว่าตัวเอง ‘แพ้โปรตีนในนมวัว’ (Cow Milk Protein Allergy) นั้นอาจจะเป็นความเชื่อที่ผิดมาโดยตลอด เพราะอันที่จริงแล้วอาการท้องไส้ปั่นป่วนหลังดื่มนมนั้นอาจจะมาจากสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ‘ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง’ หรือที่เรียกว่า ‘Lactose Intolerance’ ก็เป็นได้
Lactose Intolerance
ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่องคืออะไร
ภาวะนี้หาใช่อาการแพ้ไม่ แต่เป็นปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายหลังจากดื่มนม (Adverse Food Reaction) เท่านั้น ซึ่งเกิดจากภาวะ ‘พร่องเอ็นไซม์แลคเตส’ (Lactase Deficiency) ที่ลำไส้ไม่สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่พบมากในน้ำนมได้เพียงพอ ทั้งนี้เมื่อน้ำตาลแลคโตสไม่ถูกย่อยและไม่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กก็จะถูกย่อยโดยกระบวนการหมักที่ลำไส้ใหญ่ ส่งผลทำให้เกิดก๊าซในลำไส้ จนเกิดอาการท้องอืด ผายลมบ่อย ปวดท้อง ไปจนถึงคลื่นไส้อาเจียนได้ นอกจากนี้น้ำตาลที่ไม่ย่อยก็จะถูกดูดกลับให้เข้าสู่ลำไส้ ทำให้ท้องเสีย ถ่ายเหลว (Osmotic Diarrhea) ซึ่งปฏิกิริยาต่างๆ เหล่านี้มักจะออกอาการหลังจากที่ดื่มนมไปแล้วประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงโดยประมาณ
ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่องเกิดจากอะไร
รู้กันหรือไม่ว่าภาวะดังกล่าวนี้พบได้ในผู้ใหญ่ทั่วโลกจำนวนมากถึง 65-70% เลยทีเดียว ส่วนสาเหตุของภาวะย่อยแลคโตสบกพร่องนั้นเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุหลักด้วยกัน ได้แก่
1. เกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (Primary Lactase Deficiency หรือ Primary Adult Type Hypolactasia) ตามปกตินั้นร่างกายของคนเรามักจะมีน้ำย่อยมากที่สุดในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี แล้วจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น จึงเกิดปัญหาการย่อยนมมากขึ้น ทั้งนี้การลดลงของเอ็นไซม์นั้นจะมากหรือน้อยเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งจากสถิติพบว่าชาวเอเชียอย่างเรานั้นเกิดภาวะพร่องเอ็นไซม์มากที่สุด (ในขณะที่พบน้อยในชาวยุโรปและสแกนดิเนเวีย) เพราะไม่ได้กินอาหารจำพวกนม ชีส เนยเป็นหลัก จึงทำให้เวลาดื่มนมมักจะเกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เรอ และผายลม ทำให้ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่
2. ขาดเอ็นไซม์ตั้งแต่เกิด (Congenital Lactase Deficiency) กลุ่มนี้มักมีอาการตั้งแต่เด็ก เกิดจากกรรมพันธุ์ที่ได้รับยีนมาจากพ่อและแม่ แต่กลุ่มนี้จะพบได้น้อย
3. พร่องเอ็นไซม์แลคเตสจากสาเหตุอื่น (Secondary Lactase Deficiency) มักจะพบตามหลังการติดเชื้อหรือการอักเสบเรื้อรังของลำไส้เล็ก เช่น หลังการติดเชื้อไวรัสโรตา ซึ่งพบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เป็นต้น
แม้ย่อยแลคโตสไม่ได้…แต่ก็ยังดื่มนมได้สบายท้องด้วยนมปราศจากน้ำตาลแลคโตส ‘Meiji Lactose Free’
หากเราลองสังเกตตัวเองกันดูแล้วพบว่าไม่ได้แพ้โปรตีนในนมวัว แต่เป็นเพราะย่อยแลคโตสไม่ได้แล้วยังอยากจะดื่มนม ก็ขอให้สบายใจกันได้เลย เพราะสมัยนี้มีนมปราศจากน้ำตาลแลคโตสอย่าง Meiji Lactose Free ซึ่งผลิตจากน้ำนมโคธรรมชาติ และผ่านกระบวนการเติมเอ็นไซม์ ทำให้น้ำตาลแลคโตสถูกย่อยไปแล้ว จึงเหมาะสำหรับคนที่มีอาการท้องอืด มีลม ท้องเสีย เนื่องจากไม่สามารถย่อยแลคโตสเองได้ นอกจากดื่มแล้วไม่เกิดอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังคงรสชาติและสารอาหารที่มีคุณประโยชน์เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน เช่น
- แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
- วิตามินบี 2 สูง ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
- วิตามินบี 12 สูง มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- มีโปรตีน ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ ในร่างกาย
มีให้เลือก 2 รสชาติ
รสจืดและรสช็อกโกแลต
นมเมจิปราศจากน้ำตาลแลคโตสจึงเป็นทางเลือกที่ดีงาม เหมาะสำหรับคนที่ย่อยแลคโตสไม่ได้ แต่ยังต้องการดื่มนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากดื่มได้สบายท้องแล้วยังอร่อย ดื่มง่ายมากๆ อีกด้วย
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
อ้างอิง:
- https://cpmeiji.com/lactosefreemilk/knowledge/lactose-intolerance
- https://cpmeiji.com/lactosefreemilk/knowledge/lactose-free-milk
- https://bit.ly/3cALzMI
- นอกจากดื่มแทนนมธรรมดาโดยไม่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวแล้ว นมปราศจากน้ำตาลแลคโตสยังสามารถนำมาประกอบอาหารและเครื่องดื่มแทนนมธรรมดาได้อีกด้วย ในขณะที่นมจากพืช เมื่อนำมาทำอาหารจะมีรสชาติแปลกไปจากปกติ เพราะมีรสชาติและกลิ่นเฉพาะ อนึ่ง ในเรื่องของคุณค่าทางอาหาร นมถั่วเหลืองมีแคลเซียมต่ำกว่านมวัว ส่วนนมอัลมอนด์และนมมะพร้าวจะมีโปรตีนและวิตามินบี 12 ต่ำ