×

กรุงเทพฯ ในวันที่สวยขึ้น เรื่องเล่าจากโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินโดย การไฟฟ้านครหลวง (MEA) [Advertorial]

30.10.2019
  • LOADING...
สายไฟฟ้าใต้ดิน

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • MEA วางยุทธศาสตร์องค์กรสอดรับกับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน สร้างมหานครอัจฉริยะ Smart Metro เพื่อความมั่นคงเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และเพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสร้างความปลอดภัย และยังช่วยสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้กับกรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย
  • เป้าหมายใหญ่ของ MEA คือความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของ กทม. เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน คาดว่านำสายไฟฟ้าลงใต้ดินได้ทั้งหมดกว่า 127 กิโลเมตร

เราคุ้นชินกับสายไฟฟ้าที่พาดผ่านทุกพื้นที่ของชุมชน ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปตามจุดต่างๆ จากเสาไฟฟ้าถึงหม้อหุงข้าวในครัว เป็นภาพที่เห็นกันมาตั้งแต่เด็กจนโต จนเมื่อการพัฒนาเมืองก้าวหน้าไปมากขึ้น ชุมชนขยายตัวสอดรับกับการท่องเที่ยวที่กลายเป็นรายได้สำคัญ สายไฟฟ้าสีดำรวมทั้งสายเคเบิลสื่อสารจำนวนมากบนเสาไฟฟ้าที่ตัดกับสีของท้องฟ้าดูจะกลายเป็นสิ่งบดบังทัศนียภาพและทำให้เมืองของเราไม่สวยอย่างที่ควรจะเป็น

 

การไฟฟ้านครหลวง (MEA) นฐานะองค์กรสำคัญที่รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้า ได้เดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในย่านธุรกิจและพื้นที่สำคัญ รวมถึงพื้นที่ท่องเที่ยว เพื่อมอบเมืองที่สวยงามคืนกลับให้ชุมชนอีกครั้ง และนี่คือความตั้งใจของ MEA ที่ THE STANDARD อยากจะถ่ายทอดให้รับรู้ผ่านบทความนี้

 

เรื่องเล่าของสายไฟฟ้าใต้ดิน 46.6 กิโลเมตรที่น่าภูมิใจ จากสีลมผ่านปทุมวัน ไปถึงพหลโยธินและสุขุมวิท

จากสถิติที่น่าทึ่งของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาปี 2561 พบว่า มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาที่ประเทศไทยกว่า 38 ล้านคน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 2 ล้านล้านบาท และกรุงเทพมหานครเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวหลายสิบล้านคนแวะเวียนมาเยี่ยมเยือน สร้างรายได้ให้กับเมืองหลวงของประเทศเป็นกอบเป็นกำ ขณะเดียวกันก็เพิ่มอุปสงค์ต่อการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ด้วย

 

สายไฟฟ้าใต้ดิน

 

เป็นที่ทราบดีว่าการไฟฟ้าฟ้านครหลวง (MEA) ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 รับผิดชอบการจําหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรีและสมุทรปราการ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจบนพื้นที่เกือบ 3.2 พันตารางกิโลเมตร ให้บริการต่อเนื่องทุกวินาทีแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าราว 3.8 ล้านคน เพื่อตอบสนองความต้องการพลังไฟฟ้าที่อาจพุ่งสูงเกือบ 10,000 เมกะวัตต์ในฤดูร้อนและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การใช้ชีวิตของผู้คนในทุกๆ วัน

 

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีระบบไฟฟ้าที่มั่นคง เพิ่มความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งพัฒนาทัศนียภาพของชุมชนเมือง MEA จึงดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ที่ไม่เพียงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักขององค์กร ที่สร้างมหานครอัจฉริยะ Smart Metro แต่ยังตอบสนองนโยบายภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแหล่งธุรกิจและการท่องเที่ยว สำหรับการดําเนินการโครงการฯ MEA ได้ประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เพื่อร่วมพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการขยายพื้นที่โครงการเพิ่มเติมด้วย 

 

แนวคิดสำคัญของโครงการนั้นจะต้องช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการดําเนินการและไม่ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร โดยขณะนี้ MEA มีการบูรณาการแผนงานการก่อสร้างร่วมกับหน่วยงานด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน และดําเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นระยะทางรวมถึง 46.6 กิโลเมตรในพื้นที่ใจกลางเมือง ได้แก่ โครงการสีลม โครงการจิตรลดา โครงการปทุมวัน โครงการพหลโยธิน โครงการพญาไท และโครงการสุขุมวิท (บางส่วน) 

 

สายไฟฟ้าใต้ดิน

สายไฟฟ้าใต้ดิน

 

ปัจจุบันยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการดําเนินการคิดเป็นระยะทางรวมกว่า 62.3 กิโลเมตร ได้แก่ โครงการสุขุมวิท (ส่วนที่เหลือ) โครงการนนทรี โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก-อโศก และโครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 เพื่อให้งานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจสูงสุดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและยกระดับกรุงเทพมหานครให้กลายเป็นมหานครแห่งอาเซียนที่น่าภาคภูมิใจ

 

สายไฟฟ้าใต้ดิน

 

ระยะทางทั้งหมดในแผนใหญ่ของ MEA คิดเป็น 215.6 กิโลเมตร เทียบได้กับระยะทางจากกรุงเทพฯ ไปที่นครนายก ซึ่งถือว่าท้าทายอย่างยิ่ง โดยเส้นที่นำเสาไฟฟ้าลงใต้ดินคิดเป็นระยะทางยาวที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

 

  1. ถนนสุขุมวิทฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ (ซอยแบริ่งถึงสถานีย่อยบางปิ้ง) คิดเป็น 12.5 กิโลเมตร 
  2. ถนนจรัญสนิทวงศ์ (เชิงสะพานพระราม 7-แยกท่าพระ) คิดเป็น 11.4 กิโลเมตร
  3. ถนนลาดพร้าว (รัชดาภิเษก-ศรีนครินทร์) คิดเป็น 8.6 กิโลเมตร
  4. ถนนติวานนท์ (ถนนรัตนาธิเบศร์-แยกปากเกร็ด) 7.8 กิโลเมตร
  5. รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (ถนนราชวิถี ถนนสวรรคโลก ถนนศรีอยุธยา และถนนพระราม 5) คิดเป็น 7.1 กิโลเมตร

 

สายไฟฟ้าใต้ดิน

 

เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา เกิดสิ่งที่เป็นความภูมิใจของ MEA ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว นั่นคือพิธีเปิดเดินเครื่องขุดเจาะโครงการก่อสร้างอุโมงค์ Outgoing ชิดลม ซึ่งเป็นอุโมงค์เชื่อมต่อระบบจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ อุโมงค์แห่งนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 3.6 เมตร ลึก 40 เมตร และมีความยาวถึง 1.3 กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรองรับระบบไฟฟ้าขนาดแรงดัน 230 กิโลโวลต์ในพื้นที่ส่วนต่อขยายจากอุโมงค์ใต้ดินเดิมตรงถนนชิดลมถึงถนนสารสินและเพลินจิต คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2563 โดย MEA ตั้งงบประมาณในการก่อสร้างเกือบ 900 ล้านบาท 

 

เป็นที่แน่นอนว่าอุโมงค์ขนาดใหญ่นี้จะรองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางเมืองที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และช่วยปรับทัศนียภาพของกรุงเทพมหานครให้สวยงามกว่าเดิม ปัจจุบันโครงการอุโมงค์สายไฟฟ้าใต้ดินของ MEA มี 4 แห่ง แบ่งเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จคือ อุโมงค์สถานีต้นทางบางกะปิถึงสถานีต้นทางชิดลมและอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าลาดพร้าวถึงวิภาวดี ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างคือโครงการบริเวณคลองพระโขนง และโครงการอุโมงค์ Outgoing สถานีต้นทางชิดลม

 

แนวคิดดังกล่าวสอดรับกับการพัฒนาเมืองในเวทีสากล หากเปรียบเทียบโครงการของ MEA กับประเทศอื่นๆ พบว่าที่สิงคโปร์ก็มีโครงการลักษณะนี้เช่นกัน โดยมีอุโมงค์ขนาดใหญ่ใต้ดิน 3 จุด ระยะทาง 40 กิโลเมตร ที่สามารถเก็บสายไฟฟ้าได้ถึง 1.8 พันกิโลเมตร ด้วยงบประมาณถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า ขณะที่มหานครลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ก็มีโครงการอุโมงค์สายไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่คิดเป็นระยะทาง 32 กิโลเมตร คาดว่าจะจัดเก็บสายไฟฟ้าได้เป็นระยะทาง 200 กิโลเมตรในระยะแรกนี้

 

สายไฟฟ้ายังมีคุณค่าต่อชีวิตผู้คนและระบบเศรษฐกิจเสมอมา เพียงแต่ตอนนี้มันได้เปลี่ยนที่อยู่ไปในที่ที่เหมาะสมเท่านั้น แม้จะมองไม่เห็นอีกต่อไป แต่เราก็ยังอุ่นใจได้เสมอว่าจะมีกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการใช้งานในทุกวันที่เราก้าวเดินไปข้างหน้า ชมความงดงามของท้องฟ้า สิ่งปลูกสร้างที่เล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์และเสน่ห์ของกรุงเทพมหานครที่เราเห็นได้อย่างเต็มตา

 

ในฐานะมหานครแห่งอาเซียนที่งดงามและจะคงอยู่ไปตราบนานเท่านาน

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising