×

หุ้นกลุ่มร้านอาหาร – แรงขับเคลื่อนรายได้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตในปี 2566

29.03.2023
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

 

หลังจากฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2565 โดยรายได้ฟื้นตัวสู่ระดับมากกว่า 90% ของระดับก่อนเกิดโควิด และปี 2566 มีแนวโน้มที่จะเป็นปีที่ดีอีกปีสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร

 

โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นผ่านทางการเติบโตของยอดขายสาขา (SSS) ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะเติบโต 3% การบริโภคจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะเติบโต 4% ในขณะที่ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญคือการส่งออก

 

ยอดขายสาขา (SSS) ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2565 เกิดจากฐานต่ำใน 2H64 เป็นหลัก ด้วยภาพรวมที่ดีขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น การบริโภคภายในประเทศที่สูงขึ้น และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามามากขึ้น ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงคาดว่า SSS จะเติบโตในปี 2566 แต่จะเติบโตในระดับปกติ

 

และผลของฐานต่ำทำให้คาดว่า SSS จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 1Q66 และหลังจากนั้น SSS จะกลับมาเติบโตตามปกติใน 2Q66-4Q66 รวมถึงการเร่งขยายสาขาจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้กำไรเติบโต

 

นอกจากนี้ หลังจากพูดคุยกับผู้ประกอบการร้านอาหารพบว่า นับถึงปัจจุบัน ต้นทุนวัตถุดิบยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากความผันผวนน้อยกว่าปีที่แล้ว อีกทั้งยังได้อานิสงส์จากการปรับขึ้นราคาในปี 2565 โดยกลยุทธ์ของผู้ประกอบการร้านอาหาร คือรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้สมดุล, ขึ้นราคาเมื่อต้นทุนอาหารสูงขึ้น และนำเสนอโปรโมชันเพิ่มมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าเมื่อต้นทุนอาหารลดลง ซึ่งจะส่งผลทำให้รายได้และความผูกพันของลูกค้าเพิ่มขึ้น

 

ด้านต้นทุนพนักงานคิดเป็นสัดส่วน 23-28% ของรายได้ในธุรกิจร้านอาหาร การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ~5% ในประเทศไทยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ผู้ประกอบการร้านอาหารกำลังดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นผ่านทางเปอร์เซ็นต้นทุนพนักงานต่อรายได้ที่ลดลง เพื่อป้องกันผลกระทบจากค่าจ้างที่สูงขึ้นและการขาดแคลนไฟฟ้า

 

ส่วนต้นทุนค่าไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วน ~4% ของรายได้จากธุรกิจร้านอาหาร ต้นทุนค่าไฟฟ้าในแง่ของอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 18% ในงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 (4.42 บาท/kWh) และปรับขึ้นอีก 13% สำหรับงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2566 (5.33 บาท/kWh) ด้วยต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ลดลงทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่อัตราค่าไฟฟ้าจะปรับลดลง

 

ทั้งนี้ ตาม Sensitivity Analysis ที่ได้จัดทำขึ้น พบว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อกำไรของ ZEN มากที่สุด เพราะอัตรากำไรสุทธิของบริษัทอยู่ในระดับต่ำที่ 5% เทียบกับ 16% สำหรับ AU และ 10% สำหรับ M

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น AU ปรับลดลง 4.39%MoM และราคาหุ้น ZEN ปรับเพิ่มขึ้น 8.64%MoM ขณะที่ SET Index ปรับลดลง 0.95%MoM

 

กลยุทธ์การลงทุน:

 

InnovestX Research ชอบ ZEN และ AU โดยเลือกเป็นหุ้นเด่นของกลุ่มร้านอาหาร

 

ZEN คงเรตติ้ง Outperform ด้วยราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 อยู่ที่ 20 บาทต่อหุ้น โดยแนวโน้ม 1Q66 มีโมเมนตัมรายได้ที่แข็งแกร่งในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ โดย SSS เติบโต 10-15% บริษัทกลับมาเปิดให้บริการสาขาที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ตและสมุย (~10% ของรายได้) แล้ว โดยมีลูกค้าเข้าร้านเพิ่มขึ้นหลังจากไทยเปิดประเทศอีกครั้ง

 

จึงคาดว่ากำไร 1Q66 จะเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด YoY จากฐานต่ำใน 1Q65 ซึ่งได้รับแรงกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น แต่จะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล อย่างไรก็ดี กำไรที่ลดลง QoQ จะได้รับการสนับสนุนจากการดำเนินงานที่ดีขึ้นของสาขาที่เปิดใหม่ใน 4Q65 และสาขาในแหล่งท่องเที่ยว ขณะที่ปี 2566 คาดว่าจะเป็นปีที่ดีอีกปี โดยกำไรปกติจะเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 30% สู่ 200 ล้านบาท

 

AU คงเรตติ้ง Outperform ด้วยราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 อยู่ที่ 13 บาทต่อหุ้น หนึ่งในหุ้นเด่นสำหรับกลยุทธ์การลงทุนใน 2Q66 และ 1Q66 คาดกำไรจะยังเติบโตเด่น YoY ปัจจัยหนุนทั้งจากมีฐานปีก่อนที่ยังต่ำ และตั้งแต่ต้นปีนี้บรรยากาศจับจ่ายใช้สอยยังดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวไทยมากขึ้น รวมทั้งยังมีมาตรการช้อปดีมีคืนช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย สะท้อนได้จากมกราคม 2566 AU มียอดขายสาขาเดิมเติบโตเด่น 30%YoY

 

ส่วนปี 2566 คาด AU จะมีกำไรสุทธิ 190 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56%YoY และแตะ 237 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 24%YoY) กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด ในปี 2567 ตามการเติบโตของยอดขายสาขาเดิมหลังกิจกรรมเศรษฐกิจกลับมาปกติ การออกสินค้าใหม่และการรับรู้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสาขาเชิงรุก ส่วนมาร์จิ้นคาดดีขึ้นหลังเกิดผลประหยัดต่อขนาดจากมีสาขาจำนวนมากและการกลับมากินที่ร้านมากขึ้น (มาร์จิ้นดีกว่าซื้อกลับและ Delivery)

 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ

 

  1. ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค
  2. การแข่งขันรุนแรง
  3. ต้นทุนที่สูงขึ้น
  4. การเปลี่ยนแปลงความชอบของผู้บริโภค และ
  5. การขยายสาขาและแฟรนไชส์ต่ำกว่าคาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising