Mark Cuban ได้แบ่งปันมุมมองของตนเองเกี่ยวกับความสำเร็จในพอดแคสต์ The Path ของ LinkedIn โดยท้าทายความเชื่อทั่วไปที่ว่า ความมั่งคั่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานของความสำเร็จ
มหาเศรษฐีในวัย 65 ปี ซึ่งมีความมั่งคั่ง 5.1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.8 แสนล้านบาท ตามข้อมูลของ Forbes ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของความสำเร็จทางการเงิน แต่เขายืนยันว่าตัวชี้วัดที่แท้จริงของความสำเร็จนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและเติมเต็มมากกว่า
“ความสำเร็จไม่วัดจากการที่คุณมีเงินมากเพียงใด เพราะความสำเร็จเป็นเพียงการตั้งเป้าหมาย และการที่สามารถตื่นขึ้นมาทุกเช้าด้วยความรู้สึกดีๆ กับสิ่งที่คุณมี แค่นี้ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- 5 คำแนะนำจาก Bill Gates ชายผู้เลิกเรียนกลางคัน เพื่อออกมาตั้ง Microsoft ถึงเหล่านักศึกษาในงานรับปริญญาที่เขาไม่เคยได้สัมผัส
- ไม่มีความสุขในที่ทำงานแต่ไม่สามารถลาออกได้! นี่คือคำแนะนำเพื่อฮีลใจตัวของเราเอง
- นักจิตวิทยาจากฮาร์วาร์ด แนะ 9 ประโยคเพิ่ม ‘ความยืดหยุ่นทางอารมณ์’ เปลี่ยนสถานการณ์ไม่เป็นดั่งใจให้เป็นบทเรียน
ชัยชนะทางการเงินครั้งใหญ่ครั้งแรกของ Cuban เกิดขึ้นเมื่ออายุ 32 ปี เมื่อเขาขายบริษัทซอฟต์แวร์ MicroSolutions ให้กับ CompuServe ในราคา 6 ล้านดอลลาร์ 8 ปีต่อมาเขาเข้าสู่ทำเนียบมหาเศรษฐีด้วยการขาย Broadcast.com ให้กับ Yahoo ในราคา 5.7 พันล้านดอลลาร์
แม้จะมีความมั่งคั่งมหาศาล แต่ Cuban ก็เน้นย้ำอยู่เสมอว่า เขาจะพอใจหากมีทรัพย์สินเพียง 1% เมื่อเทียบกับปัจจุบันหากชีวิตครอบครัวของเขายังคงเหมือนเดิม ซึ่งเป็นประเด็นที่เขาย้ำในการให้สัมภาษณ์กับรายการ Sunday Morning ทางช่อง CBS ก่อนหน้านี้
ความรู้สึกนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อความสำเร็จในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่กำลังดิ้นรนกับความคิดที่ว่า การสะสมความมั่งคั่งนั้นยากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิทัศน์เศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงและหนี้ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
ตามการสำรวจล่าสุดโดย GoDaddy ความฝันแบบอเมริกัน (American Dream) นั้นกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในหมู่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ตอนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้นหาความสุขและไล่ตามความปรารถนาของตัวเอง มากกว่าการสะสมความมั่งคั่งหรือการเป็นเจ้าของบ้าน
เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของเขา มหาเศรษฐีในวัย 65 ปีได้ร่วมทุนเปิดร้านขายยาออนไลน์ชื่อ Cost Plus Drugs ซึ่งเขากล่าวว่าบริษัทถูกสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าผลกำไร
ปรัชญาของ Cuban ยังก่อให้เกิดความท้าทายต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบเดิมๆ ซึ่งมักจะให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำกำไรเหนือสิ่งอื่นใด หากผู้นำธุรกิจที่มีอิทธิพลเช่นเขายังคงมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบทางสังคมและการเติมเต็มส่วนบุคคล สิ่งนี้อาจปูทางไปสู่ระบบทุนนิยมรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นระบบที่พยายามสร้างสมดุลระหว่างการแสวงหาผลกำไรกับความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและความเป็นปัจเจกบุคคล
อ้างอิง: