×

บางครั้งการฟังเพลงเศร้าก็ไม่ได้ทำให้เราเศร้าหนักกว่าเดิม

17.07.2024
  • LOADING...

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางทีเราถึงรู้สึกดีขึ้นหลังฟังเพลงเศร้า ดูแปลกๆ ใช่ไหม แต่จริงๆ แล้วการฟังเพลงเศร้าที่มันอินต่อความรู้สึกนี่แหละที่บางทีก็ทำให้เรามีความสุขและรู้สึกดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตอนที่เรากำลังเซ็งๆ แล้วเปิดเพลงเศร้าฟัง มันเหมือนมีเพื่อนสักคนที่เข้าใจความรู้สึกเรา เสียงดนตรีกับเนื้อเพลงที่สื่อถึงอารมณ์เราตอนนั้นทำให้รู้สึกว่าเราไม่ได้แบกความทุกข์ไว้คนเดียว การได้รับการยอมรับและเข้าใจ ถึงแม้จะผ่านแค่เพลง ก็ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในใจได้เหมือนกันนะ แถมการร้องไห้ไปกับเพลงเศร้ายังช่วยระบายอารมณ์ที่อัดอั้นออกมาด้วย หลายคนบอกว่าหลังจากร้องไห้สุดๆ ไปเลย พวกเขารู้สึกโล่งอกและใจเย็นลงอย่างบอกไม่ถูก และนี่ไม่ใช่แค่ความรู้สึกล้วนๆ นะ มีงานวิจัยรองรับด้วย 

 

โดยนักวิจัย* พบว่าตอนเราฟังเพลงเศร้าหรือร้องไห้ไปกับเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนตัวหนึ่งที่ชื่อว่า โพรแลกทิน (Prolactin) ออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมใต้สมอง มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ และเป็นสารเคมีที่เกี่ยวกับการร้องไห้ แต่ที่เจ๋งก็คือเจ้าฮอร์โมนโพรแลกทินตัวนี้ไม่ได้ทำให้เราเศร้าหนักกว่าเดิม แต่กลับช่วยลดความเศร้าและทำให้ใจเย็นลง เหมือนเป็นระบบป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายที่ช่วยต้านทานความเจ็บปวดทางใจยังไงยังงั้น

 

คราวหน้าถ้ารู้สึกอยากฟังเพลงเศร้าก็ไม่ต้องกังวลไป บางทีมันอาจเป็นวิธีที่ร่างกายและจิตใจของเรากำลังพยายามเยียวยาตัวเองก็ได้ ลองให้เวลากับตัวเองในการรับรู้และปล่อยวางอารมณ์พวกนั้นดู อย่าลืมว่าการร้องไห้ไปกับเพลงไม่ได้แปลว่าเราอ่อนแอนะ แต่มันแสดงถึงความเข้มแข็งที่กล้าเผชิญหน้ากับความรู้สึกของตัวเอง และบางที นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเยียวยาและค้นพบความสุขที่แท้จริงในที่สุดก็ได้นะ

 

นักวิจัยพบว่าตอนเราฟังเพลงเศร้าหรือร้องไห้ไปกับเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนตัวหนึ่งออกมาชื่อ โพรแลกทิน (Prolactin)

 

ที่เจ๋งก็คือเจ้าฮอร์โมนโพรแลกทินตัวนี้ไม่ได้ทำให้เราเศร้าหนักกว่าเดิม แต่กลับช่วยลดความเศร้าและทำให้ใจเย็นลงได้

 

ฮอร์โมนโพรแลกทินนี้ทำหน้าที่เหมือนเป็นระบบป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายที่ช่วยต้านทานความเจ็บปวดทางใจ 

 

ดังนั้นการร้องไห้ไปกับเพลงเศร้าๆ ไม่ได้แปลว่าเราอ่อนแอนะ แต่มันแสดงถึงความเข้มแข็งที่กล้าเผชิญหน้ากับความรู้สึกของตัวเอง

 

การค้นพบนี้มาจาก David Huron ที่ศึกษาวิจัยข้อมูลเรื่อง Why is sad music pleasurable? A possible role for prolactin (ทำไมเราถึงชอบฟังเพลงเศร้า? โพรแลกทินอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง)

 

คราวหน้าถ้ารู้สึกอยากฟังเพลงเศร้าก็ไม่ต้องกังวลไป บางทีมันอาจเป็นวิธีที่ร่างกายและจิตใจของเรากำลังพยายามเยียวยาตัวเองให้ค่อยๆ ดีขึ้นก็ได้นะ 

 

อ้างอิง:

  • *David Huron (2011) ศึกษาวิจัยข้อมูลเรื่อง Why is sad music pleasurable? A possible role for prolactin (ทำไมเราถึงชอบฟังเพลงเศร้า? โพรแลกทินอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง)
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X