×

Karun เครื่องประดับในรูปแบบชาไทยที่ รัส-ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ อยากส่งต่อ

28.08.2024
  • LOADING...
Karun

รสชาติอันหวานมัน กลิ่นหอมรัญจวนใจในทุกจิบ ได้ทำให้ ‘ชาไทย’ กลายเป็นหนึ่งใน Soft Power อันแข็งแกร่งของไทยจนถึงขั้นติดอันดับ 7 เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ที่อร่อยที่สุดในโลกไปในปี 2023

 

ทว่าตัวเลือกชาไทยในไทยก็มีค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่รถเข็นข้างทางยันร้านในห้าง ความท้าทายนี้เองที่ทำให้ รัส-ธัญย์ณภัคช์ ศิริประภาเจริญ ทำการบ้านอย่างหนักแรมปีก่อนจะตัดสินใจเปิดตัว ‘Karun’ แบรนด์ชาไทยระดับพรีเมียมบนแนวคิดที่ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็น ‘ชาไทย’ แต่เป็น ‘เครื่องประดับ’ อันทรงคุณค่าที่อยากส่งต่อ

 

 

จากการเปิดขายในช่องทางออนไลน์ครั้งแรกในปี 2019 ปัจจุบัน Karun มีหน้าร้าน 15 สาขาในประเทศไทย และยังมีแพลนที่จะขยายไปยังต่างประเทศในอีกไม่ช้า สิ่งที่เราต่างมองเห็นจากภายนอกคือร้านชาไทยไฮคลาสที่ประสบความสำเร็จไปเสียหมด แต่ความจริงแล้วเบื้องหลังไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด รัสเคยก้าวพลาดจนได้แผลที่เจ็บพอตัว แต่ความเจ็บที่ทิ้งแผลเป็นในวันนั้นได้กลายเป็นบทเรียนเตือนใจให้เธอก้าวต่ออย่างมั่นคงและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จนทำให้ Karun เป็นชาไทยยุคใหม่ที่ครองใจคนไทยในทุกวันนี้ได้

 

 

กระบวนการคิดตั้งแต่วันแรก อุปสรรคความท้าทาย และบทเรียนที่รัสได้เรียนรู้จาก Karun จะเป็นอะไรบ้าง ร่วมค้นคำตอบได้ใน Passion Calling x Rus, CEO of Karun

 

ปัจจุบันรัสดูธุรกิจของตัวเองทั้ง Karun, Summer Bowl และเจริญสังขยาที่เพิ่งเปิดตัวไป การทำธุรกิจเป็นหนึ่งในเป้าหมายตั้งแต่สมัยเรียนเลยไหม

Rus: ถ้าพูดเรื่องการทำธุรกิจ จริงๆ ตอนแรกก็ไม่ได้มีอยู่ในหัวตัวเองเพราะว่าค่อนข้างวางแพลนไว้ว่าจะอยู่ในตลาด Finance แต่ว่าด้วยความที่ที่บ้าน Background ทำธุรกิจมาตั้ง 3 รุ่นแล้วค่ะ เราก็เลยอาจจะมีพื้นฐานอยู่บ้าง มีความเข้าใจบางส่วนอยู่ แล้วคุณพ่อคุณแม่จริงๆ ก็คาดหวังให้กลับมาทำธุรกิจที่บ้านหรือว่าลองทำอะไรใหม่ๆ ที่เป็นของตัวเองดู

 

ซึ่งตอนนั้นเพิ่งจบใหม่มาทำ…?

Rus: ไปทำทางสาย Finance ค่ะ เพราะว่าเรียนเกี่ยวกับ Financial ต่างๆ มาด้วย แล้วเราก็… ณ ตอนแรกเข้าใจว่าตัวเองน่าจะมีแพสชันใน Industry นั้นค่ะ ก็เลยเลือกที่จะเริ่มทำงานจากอะไรที่ตัวเองเรียนมา อยากได้ใช้สิ่งที่เรียนมาค่ะ ก็เลย Jump เข้าไปใน Industry นั้นก่อน

 

Karun

 

แล้วอยู่ดีๆ มาเจอกับชาไทยได้อย่างไร

Rus: ต้องเล่านานนิดหนึ่งค่ะ (ยิ้ม) มันจะเกิดจากการที่คุณแม่เขามีสูตรชาไทยอยู่แล้ว และที่บ้านเราก็กินชาไทยสูตรนี้กันมา 10-20 ปีแล้วค่ะ เวลาที่มีใครมาบ้าน คุณแม่ก็จะเสิร์ฟเป็น Welcome Drink ให้ หรือแม้กระทั่งมีใครมา Visit ที่บริษัทของที่บ้าน เครื่องดื่มตัวนี้ก็จะเป็น Welcome Drink ให้คนที่มาหา

 

ทีนี้คนที่มาพอเขากินแล้วเขาติดใจ ก็แบบ “ขอซื้อกลับได้ไหม” ขอเอาไปนู่นนี่นั่นได้ไหม คุณแม่ก็จะแจกฟรีตลอด จนมีอยู่จุดหนึ่งที่คุณแม่มาเล่าให้ฟังว่าวันนี้มีคนมาติดต่อขอเอาไปทำ Catering 300 เสิร์ฟ คุณแม่ก็โทรมาหาเรา ตอนนั้นเรายังทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ แม่ก็โทรมาเล่าให้ฟังว่าลูกขายไหม เราก็เลยแบบจริงเหรอ มันขายได้เหรอ หรืออะไรประมาณนี้ เราก็เก็บทดไว้ในใจเฉยๆ ว่าน่าจะเป็นไอเดียถ้าเราเริ่มทำธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่ง ตอนที่ออกจากงานมาก็มีไปทำธุรกิจอย่างอื่นก่อนอีกด้วยสักระยะหนึ่งเลยค่ะ เป็นสตาร์ทอัพค่ะ แอปพลิเคชันเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

แสดงว่าตอนคุณแม่ยกหูมารัสยังไม่ได้เริ่มลงมือทำ

Rus: ใช่ค่ะ ยังไม่ได้เริ่มเลย รัสเป็นคนค่อนข้างคลั่งในการทำ Research แล้วไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองเท่าไร เวลาจะทำอะไรก็จะใช้เวลาคิดนาน ใช้เวลา Research นาน หาแบ็กอัพ หาซัพพอร์ตอะไรอย่างนี้นาน ว่าสิ่งที่เราทำมันจะมีตลาดรองรับไหม อาจจะเป็นนิสัยที่ติดมาจากเรียน Economics ด้วยค่ะ เราก็เลยต้องมั่นใจก่อนว่าเวลาจะทำอะไรต้องมี Research แบ็กอัพเพียงพอไหม ตลาดตอบรับอย่างไรบ้าง เราก็เลยใช้เวลาต่างๆ กว่าจะเริ่มทำ Karun ก็คือนานเป็นปีค่ะ แต่ว่าระหว่างนั้นก็ทำธุรกิจอื่นไปด้วย เก็บเกี่ยวประสบการณ์อย่างอื่น

 

เมื่อครู่ที่บอกว่า Karun ริเริ่มจากสูตรชาของคุณแม่ คุณแม่เป็นคนเดียวในบ้านเลยไหมที่ชื่นชอบชาไทย

Rus: ใช่ค่ะ มีคุณแม่คนเดียวค่ะ แต่ว่าทุกคนก็จะกินตามเพราะว่าคุณแม่จะทำมาเยอะ แล้วก็แจกคนนู้นคนนี้ และก็เวลาญาติๆ แบบเสพติด ชอบกิน ก็จะมาขอเอาไปกินที่บ้านเรื่อยๆ ด้วยค่ะ รัสเองก็ดื่มชาไทยเพราะคุณแม่เลยค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Russ Thannaphak Siri. (@russssiri)

 

 

รัสมีโอกาสได้ลองชงชาไทยบ้างไหมตอนอยู่ที่บ้าน

Rus: เมื่อก่อนไม่ลองค่ะ ไม่ได้ทำเลย เพราะว่ารัสเป็นคนเดียวในบ้านที่ไม่ทำกับข้าว ไม่ทำอาหารเลย จะเน้นเป็นฝ่ายกินอย่างเดียวแล้วก็ล้างจาน แต่ว่าน้องชายกับคุณพ่อก็มีโอกาสได้ลองทำดู ได้ช่วยเทสต์ ได้ช่วยอะไรบ้าง แต่ว่ารัสมาเริ่มจริงๆ ก็คือตอนที่ตัดสินใจที่จะขาย ถึงจะมา R&D ด้วยตัวเองแบบ 100%

 

ช่วงที่ตัดสินใจว่าจะทำขาย สิ่งแรกที่รัสลงมือทำคืออะไร

Rus: หาความรู้ก่อนค่ะ คือด้วยความที่รัสไม่เคยทำธุรกิจเลย อาจจะแบบขายของออนไลน์ตอนเด็กๆ ตอนมัธยม ตอนมหาวิทยาลัย คือขายมาตลอดเพราะเป็นคนชอบขายของ เราก็รู้แล้วว่าเอเนอร์จี้เราน่าจะเป็นคนอยากได้เงินแหละ แต่ว่าพอตอนที่จะเริ่มทำธุรกิจตัวเองเราก็ขาดความมั่นใจเพราะว่าที่บ้าน จริงๆ เราอยู่ใน Industry เหล็ก ซึ่งมันไม่มีความรู้เกี่ยวกับ F&B เลย ไม่มีเลยแม้แต่นิดเดียว

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Russ Thannaphak Siri. (@russssiri)

 

 

Food Safety คืออะไร ก็คือไม่เข้าใจ ก็เริ่มจากการหาข้อมูลทุกอย่างค่ะว่าการที่เราจะเป็นเจ้าของโรงงานเครื่องดื่ม 1 อย่าง หรือขายชาไทย นอกจากการมีสูตรแล้วเราต้องทำอะไรบ้าง วิธีฆ่าเชื้อทำอย่างไร รู้จักแบคทีเรียทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นในชา 1 แก้วของเรา ถ้าวันหนึ่งเราขายแล้วมันมีการสปอยล์ เราต้องรับรู้ได้ว่ามันเกิดจากอะไร สาเหตุคืออะไร เราพยายามที่จะทำให้ End User ของเราปลอดภัยที่สุดในการรับ Experience ของเราในแง่มุมต่างๆ

 

หรือแม้กระทั่งกระบวนการการผลิต รัสก็มาหาก่อนว่าการจะทำโปรดักต์ให้เป็นหนึ่งโปรดักต์ที่ขายได้จริงๆ ต้องทำอะไรบ้าง เสร็จแล้วก็กระเถิบมาเป็นเรื่องเราจะตีตลาดอย่างไร ทำความรู้จักตลาดเพิ่มขึ้น แต่ว่าหลักๆ มันคือการ Research แบบปูพรมเลยค่ะ ทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็น Food Science, Marketing, Branding, HR หรือ Consult อะไรต่างๆ ก็คือลงคอร์สเรียนเพิ่มออนไลน์ตลอดเลย

 

ชาไทยเป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไปในไทย รถเข็นข้างถนนก็มี เดินเข้าห้างก็มี รัสมีการวางแผนตีตลาดอย่างไรบ้าง

Rus: ด้วยความที่มันหาง่ายตามตลาดนี่แหละค่ะ ก็เลยเป็นเรื่องที่ทำให้เราต้องคิดหนักขึ้น เพราะว่าจะทำอย่างไรให้คนสนใจในเมื่อเดินไปที่ไหนก็เจอ ทำอย่างไรให้อย่างน้อยมาลองเราสักครั้งเพื่อให้ติดใจ

 

เราควรใช้อะไรบ้างที่จะดึงดูดลูกค้าให้อยากมาลองเราครั้งแรกได้โดยที่เราเองก็ขายราคาแพงขึ้นด้วย เราก็เลยศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่าในเมื่อตลาดมันหนาแน่นขนาดนี้ ถ้าเราจะ Jump ลงไปในตลาด เราควรจะลงไปด้วยแง่มุมไหนบ้างให้ลูกค้าเกิด Experience ใหม่ๆ จดจำเราได้แล้วก็อยากซื้อเราซ้ำค่ะ

 

ซึ่งคำตอบคือ…

Rus: คือเรื่อง Branding ค่ะ จริงๆ เราโฟกัสเรื่อง Branding มากๆ เพราะว่านอกจากรสชาติที่เราพยายามผลิตออกมาให้มันแตกต่างแล้ว ก็ด้วยความเป็นรสชาติเนอะ มันต้องมาลองชิมก่อนถึงจะรู้ว่ารสชาติแตกต่าง แต่ว่าทำยังไงเราถึงจะ Attract คนเข้ามาหาเราได้เหมือนกวักมือเรียกแล้วมาเลย หรือว่าอาจจะไม่ต้องกวักมือเรียกแต่ว่าวางโปรดักต์อยู่แล้วคนรู้สึกสนใจ ก็เลยเป็นเรื่องของการนำ Branding มาใช้ค่ะ แล้วก็มองเห็นช่องว่างนี้ด้วยในตลาด ณ เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

อย่างแรกที่สะดุดตาคือชื่อ Karun

Rus: ใช่ค่ะ บ้านที่อยู่ชื่อบ้านการัน เวลาใครมาขอชาคุณแม่กินหรือคุณแม่ให้ชาใครไป เขาก็จะพูดว่าชาจากบริษัทการันหรือชาจากบ้านการันอะไรประมาณนี้ค่ะ เราก็เลยหยิบเรื่องนี้มาทำเป็นชื่อแบรนด์ด้วย ว่าไหนๆ มีคนเคยเรียกแล้ว เราก็เลยเอามาเป็นชื่อแบรนด์ด้วย แล้วก็เรียกง่ายค่ะ ตัวอักษรมีแค่ 5 ตัว

 

อีกสิ่งที่สะดุดตาก็คือมู้ดโทนร้าน

Rus: มีที่มาที่ไปแบบเต็มๆ ค่ะ คือหลายคนอาจจะคิดว่าเราทำขึ้นมาเฉยๆ แต่จริงๆ บ้านการัน ณ ตอนแรกที่รัสเคยอยู่ตอนที่คุณแม่ผลิตชามันจะเป็นไม้ค่ะ แล้วก็จะเป็นไม้ออกโทนสีแดงๆ เราก็เลยหยิบสีแดงมาเป็น Element การทำร้าน แล้วก็เลือกสีแดงเป็นสีของแบรนด์ด้วยค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Russ Thannaphak Siri. (@russssiri)

 

 

เรียกว่าจริงๆ ก็ถอดแบบมาจากความเป็นการัน 100%

Rus: ใช่ค่ะ

 

ระหว่างวางแผนจนถึงวันที่เราเริ่มขาย ใช้เวลานานแค่ไหน

Rus: ก็ประมาณปีหนึ่งค่ะในการวางแผนแล้วก็รวบรวมสติ รวบรวมความรู้ทุกอย่างที่มีแล้วถึงจะเริ่ม Launch ออนไลน์ก่อนค่ะ

 

เริ่มขายออนไลน์ปีไหน

Rus: ปี 2019 ค่ะ ก่อนโควิดแป๊บเดียวค่ะ ประมาณเดือนกันยายน 2019 ค่ะ ขายแค่ในอินสตาแกรมอย่างเดียวเลยค่ะ และก็เปิดเป็น Batch ค่ะ Batch ละ 500 ขวด เดือนละประมาณ 2-3 Batch 3 รอบค่ะ ก็ Sold Out ทุกรอบ เราก็เลยแฮปปี้

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

ยังจำความรู้สึกของการเปิดจำหน่ายวันแรกได้ไหม

Rus: จำได้ค่ะ จำได้แม่นเลยเพราะว่าตื่นเต้นมาก เรากังวลไปหมดเลย คือรัสเคยขายของก็จริงแต่ว่าของที่รัสขายเป็นต่างหู เสื้อผ้า หรือแบบเสื้อผ้าตัดเอง หรือไม่ก็ของที่ไปรับมาแล้วเอามาขายอีกทีหนึ่ง แต่ว่าวันนั้นที่เราจะเริ่มขายมันเป็นเรื่องของของกิน ซึ่งพอเรา Research มาหรือว่าเราเรียนรู้อะไรต่างๆ อย่างที่รัสบอกว่ารัสเรียน Food Science นิดหนึ่งด้วย อาจจะไม่ใช่ 1 ใบปริญญา แต่ว่ามันเป็น Short Course ประมาณครึ่งปีกว่าๆ เราก็รู้จักโปรดักต์ รู้จัก Food Safety พอสมควร

 

เราก็รับรู้ว่าถ้าสินค้ามันไม่ดีหรือว่าผิดพลาดจะมีผลต่อผู้บริโภคยังไงบ้าง วันแรกค่ะนอนไม่หลับเลยเพราะเรากลัวว่า อุ๊ย พรุ่งนี้เราส่งของจะมีปัญหาไหม ควบคุมอุณหภูมิจะได้ไหม แมสเซนเจอร์ที่ไปส่งเขาจะส่งครบไหม ทันเวลาไหม อากาศจะร้อนไปไหม อะไรอย่างนี้ค่ะ ก็คือกังวลเรื่องพวกนี้หมดเลย

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Russ Thannaphak Siri. (@russssiri)

 

 

แต่พอส่งแล้วฟีดแบ็กเป็นยังไงบ้าง

Rus: ฟีดแบ็กดีมากๆ เลยค่ะ จริงๆ อาจจะด้วยการที่เราตั้งใจทำแพ็กเกจจิ้งไปด้วย อย่างแรกเลยทุกคนตอนเห็นแพ็กเกจจิ้งครั้งแรกก็แบบว้าว แล้วตื่นเต้นกับแพ็กเกจจิ้งมากๆ แล้วสิ่งที่แฮปปี้มากๆ คือการที่ลูกค้าพอได้ของปุ๊บชมแพ็กเกจจิ้ง เสร็จแล้วกินก็แฮปปี้กับรสชาติ และก็กลับมาสั่งซ้ำทันที

 

ซึ่งตอนนั้นแพ็กเกจที่เรา Delivery จะเป็นแบบขวดแก้วอย่างเดียว เป็นขวดแก้วแบนๆ ที่ทุกคนอาจจะเคยเห็นกันค่ะ ซึ่ง ณ ตอนนั้นคนก็จะเรียกว่าชาไทยหนึ่งแบนอะไรประมาณนี้ เราก็เลยแบบเออแปลกดี

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

มีฟีดแบ็กไหนที่ทำให้รู้สึกใจฟูที่สุดไหม

Rus: เขากินชาไทยที่นี่แล้วเขากินที่อื่นไม่ได้อีกเลย เพราะเสพติดรสชาตินี้ไปแล้วค่ะ รสชาติมันคือรสนิยมคนเนอะ เราไม่สามารถพูดได้ว่าอะไรอร่อยหรืออะไรไม่อร่อย เพราะว่าแล้วแต่ Preference ของคนจริงๆ แต่ว่า ณ ตอนนั้นค่ะ Positive Feedback ที่เราได้รับคือมัน 100% เลยคือลูกค้าที่ได้รับไป 500 ขวดค่ะ ไม่มีใคร Complain เรื่องรสชาติ มีแต่คำชมกลับมา เราก็เลยรู้สึกว่าแฮปปี้มากๆ จากจุดจุดนั้นค่ะ

 

จากวันแรกที่ขายออนไลน์ ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะขยายมาหน้าร้าน

Rus: ใช้เวลาประมาณเกือบปีเลยค่ะ เพราะว่าเราเริ่มต้นเดือนกันยายน 2019 ใช่ไหมคะ เราเริ่มเปิดบูธจริงๆ เดือนมิถุนายน 2020 ตอนนั้นเป็นการขยายเมนูเพิ่มครั้งแรก มีการเสิร์ฟพร้อมน้ำแข็งแล้วก็มีสลัชชี่ค่ะ ที่เป็นชาไทยปั่น ตอนนั้นทำให้บูธเราค่อนข้างเป็นกระแสมากๆ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นอะไรที่แปลกตาแล้วก็ดูใหม่สำหรับลูกค้าที่กินชาไทยมาตลอดค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

ความรู้สึกของวันแรกที่เปิดร้านเป็นอย่างไร

Rus: ด้วยความที่เราทำ Research เยอะ รัสจะทำ Prediction ทำอะไรต่างๆ ด้วย ซึ่งเป็นคนมีแพลนพอสมควรว่าจะทำอะไรบ้าง อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง จะเป็นคน Prepare แบบ Best Case, Worst Case อะไรอย่างนี้ตลอด ซึ่งตอนที่เราเปิดร้านวันแรก เราตื่นเต้นว่ามันจะแบบถึง Worst Case ของเราไหม เรากลัวมันแย่กว่า Worst Case ที่เรา Predict ไว้อะไรประมาณนี้ค่ะ แต่ว่าสุดท้ายทุกอย่างก็ออกมาดีค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Russ Thannaphak Siri. (@russssiri)

 

 

Worst Case ของรัสคืออะไร

Rus: คือยอดขายไม่ถึงเป้าค่ะ Worst Case ที่ตอนนั้น Predict ไว้ก็คือยอดขายไม่ถึงเป้า แต่ว่าปัจจัยอาจจะเกิดจากการที่ลูกค้าไม่มา เครื่องใช้ไฟฟ้าเสีย หรือแม้กระทั่งพนักงานไม่มาทำงาน ก็จะคาดเดาไว้ก่อนว่ามีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง

 

เป้าที่รัสวางไว้กี่แก้วบอกได้ไหม

Rus: 200 แก้วค่ะ อยากได้วันละ 200 แก้วตอนนั้น แล้วก็ Surprisingly มันก็ Hit 200 แก้วตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ค่ะ Hit เป้ามาโดยตลอด

 

สาขาแรกอยู่ที่ไหน

Rus: สาขาแรกอยู่ที่ EmQuartier ตรงชั้น M ค่ะ

 

ปัจจุบันมีกี่สาขา

Rus: ปัจจุบันมี 15 สาขาค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ เคยมีเหตุการณ์ไหนที่เป็นอุปสรรคจนเกือบไปต่อไม่ไหวบ้างไหม

Rus: มีค่ะ มันเป็นช่วงสถานการณ์ที่ทุกคนได้เจอด้วย ตอนโควิดผลกระทบที่เราเจอมันไม่ได้เยอะมาก แต่ว่าเราดันตัดสินใจผิดพลาด คือด้วยการที่อาจจะทำ Research ไม่พอ หรือว่าตอนนั้นเรางานยุ่งแล้วอาจจะไม่ได้มีเวลามาโฟกัสกับการ Research เท่าเมื่อก่อน เราก็เลยอาจจะคิดน้อยไปแล้วไปลงผิดโลเคชัน น่าจะเป็นที่เดียวแหละค่ะที่เราไม่ Hit เป้าตรงนั้น แล้วมันก็ทำให้เราขาดทุนสะสมระยะยาวค่ะ กลายเป็นว่ากำไรที่ได้จากสาขาอื่นก็ต้องไปหล่อเลี้ยงตรงนั้น ทำให้ทีมขยายไม่ได้ ก็เป็นข้อผิดพลาดที่ใหญ่พอสมควร รัสพยายามจะ Revise ข้อผิดพลาดนี้ตลอด เหมือนเตือนตัวเอง เตือนลูกทีม เตือนทุกคนว่าอะไรที่เราเคยผิดพลาดบ้าง ก็หยิบจับมันมาเรียนรู้แล้วก็แก้ไขค่ะ

 

Karun

 

แล้วเคยมีเหตุการณ์ที่ Burnout บ้างไหม

Rus: ไม่มีโมเมนต์ที่ Burnout กับการทำงานที่เกี่ยวกับแบรนด์หรืออะไรต่างๆ ค่ะ แต่มีโมเมนต์ที่ Burnout เกี่ยวกับการทำงานที่ดีลกับคน พอเราเป็นองค์กรที่คนเยอะขึ้น องค์กรเริ่มขยาย มีพนักงานหน้าร้านเยอะขึ้น หน้าสาขาเริ่มเยอะขึ้น จากเมื่อก่อนมีสาขาเดียว สองสาขา เราดูแลเองได้หมด หลังจากนั้นมันเริ่มเป็น 3, 4, 5 สาขา เราเริ่มรู้สึกว่าท้อจังเลย ไม่ได้เรื่องขายของ แต่เราท้อว่าเราจะ Handle กับจำนวนคนที่มากขึ้นได้อย่างไรบ้าง ไม่ใช่แค่เรา ทีมงานเราที่เป็น Back Office ก็ท้อกับเรื่องนี้เหมือนกัน ก็จับมือกัน Burnout ไปพร้อมกันค่ะ แต่ว่าสุดท้ายก็ปรับ Strategy การทำงานต่อ วางแผนระยะยาวได้ดีขึ้นค่ะ

 

แล้วส่วนใหญ่รัสรับมืออย่างไรกับคน

Rus: จริงๆ เราก็จัดเลเยอร์ในการ Manage เพราะว่าแต่ละคนก็จะมีพาร์ตที่ต้องดูแลในแต่ละส่วนยิบย่อยไป คือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ เหมือนเราขยายทีมนั่นแหละค่ะ แล้วเราก็ขยายแต่ละส่วนในการดูแลแต่ละพาร์ตมากขึ้นเพราะพอเราเป็นหน้าร้านคนหนึ่ง คนที่อยู่หน้าร้านแทบจะดีลกับทุกฝ่ายเลย Operation และ RD อะไรแบบนี้ มันข้องเกี่ยวกันหมด เราก็เลยเซ็ตเลเยอร์ว่าแต่ละทีมดูแลเรื่องไหน จัดการเรื่องไหน

 

 

ส่วนถ้าเป็นเรื่องการ Manage กฎระเบียบหรืออะไรอย่างไรก็จะต้องติดต่อ HR หรือว่ามี Area Manager ที่เป็น Supervisor คอยดูแลอีกทีหนึ่ง หลักๆ ก็มาจัดเลเยอร์ให้องค์กรค่ะ เพราะว่าตอนแรกมัน Flat มาก จริงๆ ทุกวันนี้ก็ยัง Flat มากๆ อยู่ แต่ว่าเราพยายามให้ทุกคนดูแลทุก Session ให้ทั่วถึง ทุก Department เมื่อก่อนทุกคนสามารถยกหูโทรหารัสได้เลยไม่ว่าจะอยู่สาขาไหน กลายเป็นว่าปัญหามันไม่ถูกรีพอร์ตเป็น Department by Department มันก็ทำงานปวดหัวมากขึ้น ณ ตอนนั้นนะคะ

 

พอเรามาจัดเลเยอร์ให้มันดีๆ ก็กลายเป็นว่าทุกอย่าง Manage ง่ายขึ้นมาก แล้วก็ Task ของแต่ละคนก็ชัดเจนว่าต้องดูแลอะไร ถ้าอุ๊ยพาร์ตนี้ทำดีมากเลย ทีมนี้ได้รับการชื่นชม ทุกวันนี้ยังต้องจัดระเบียบองค์กรเรื่อยๆ นะคะ เพราะว่ามันโตขึ้นทุกวัน เรามีการปรับอะไรใหม่เรื่อยๆ ทุกอย่างต้อง Flexible มากๆ แบบยืด ต่อ หด ได้ตลอดเวลา

 

เรียกว่าจริงๆ เหมือนเราวางแผนธุรกิจมาดีแค่ไหนสุดท้ายคุณต้องมีความ Flexible ตลอดเวลา

Rus: ใช่ค่ะใช่ อันนี้แบบเรื่องจริงเลย เพราะว่ารัสเป็นคนวางแผนใช่ไหมคะ แต่พอวันหนึ่งแผนที่เราวางมามันไม่ได้ดั่งใจ เรากลายเป็นเครียดแล้วเรากดดันกับสิ่งสิ่งนั้น แต่พอเราเจอปัญหาเยอะขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นว่าโอเคไม่ตามแพลนก็ได้ แต่ต้องรู้ว่าหนึ่งแพลนของเรามี Contingency Plan กี่อัน แล้วถ้าหลุดไปจากนี้มัน Flexible ได้มากน้อยแค่ไหน เหมือนแก้ปัญหาให้ได้ อาจจะไม่ได้ตามแพลน 100% แต่ว่าพยายามแบบมีมายด์เซ็ตที่ว่าทุกคนสามารถ Flexible ได้ องค์กรปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตลอดเวลาค่ะ

 

ส่วนตัวรัสเป็นคนรับมือกับความเสี่ยงได้ไหม

Rus: รับมือกับความเสี่ยงได้พอสมควรค่ะ แต่อาจจะไม่ได้เยอะมาก

 

ตอนที่ตัดสินใจออกจากงานที่เงินเดือนดีมากแล้วมาทำสตาร์ทอัพที่ได้เงินน้อยแถมยังลงมือทำแบรนด์ที่ต้องลงทุนอีก ตอนนั้นกังวลไหมว่าถ้าเฟลเราจะทำอย่างไร

Rus: กังวลค่ะ จริงๆ กังวลตลอดเวลา มันอาจจะเป็นช่วงปีที่รัสแทบจะนอนไม่หลับเลยด้วยซ้ำ เพราะว่ามันเป็นกระบวนการการคิดแล้วก็วางแผนค่ะ ซึ่งมันจะเกิดความกังวลอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าเราลงมือทำปุ๊บ เราอาจจะไม่ต้องกังวลแล้ว เพราะเรารู้ เราเห็น Result เลยทันที

 

ช่วงปีก่อนที่จะเริ่มก็คือนอนไม่หลับเลย เหมือนคิดกังวลตลอดเวลาว่าทำไปแล้วจะเป็นอย่างไร ลองแล้วจะเป็นอย่างไร ก็พยายามวางแผนให้ได้เยอะที่สุดค่ะ แล้วก็รีบลงมือทำ จะได้หยุดกังวลสักที

 

Karun

 

เคยมีคิดถึง Worst Case ในระดับที่ธุรกิจเจ๊งบ้างไหม

Rus: เคยคิดค่ะ ก็คิดอยู่ตลอด ทุกวันนี้ยังคิดอยู่เลยค่ะว่าถ้าทำอันนี้แล้วมันไม่เป็นไปตามคาดหวังจะเป็นอย่างไร คือถ้าย้อนกลับไปตอนแรก ตอนที่เพิ่งเริ่ม ก็มีคิดว่าถ้าทำแล้วมันไม่รอดเราจะทำยังไงต่อ สิ่งที่รัสมองคือรัสอาจจะโชคดีกว่าคนอื่นๆ ในหลายๆ เรื่องด้วย คือเราไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินแบบส่วนตัวเพราะว่าที่บ้านยังมีธุรกิจ มันอาจจะเป็นจุดรองรับในหลายๆ อย่างของเราได้ แต่ว่าสิ่งที่ทำให้เรากดดันคือมันจะมีแบบ Phrase ที่บอกว่า พ่อแม่ประสบความสำเร็จแล้วลูกก็ต้องทำให้ดีกว่า ถ้าทำไม่ถึงก็เหมือนคนที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่ออะไรแบบนี้ เรื่องพวกนี้ก็มากดดันเราเรื่อยๆ แต่ว่าเราก็พยายามให้อิสระกับตัวเองในเรื่องของความคิด ว่าถ้าอันนี้ไม่เวิร์ก เราไปทำอะไรอย่างอื่นต่อได้ อย่างน้อยเรายังมีองค์ความรู้ที่เรา Research ที่เราลอง Trial ตลาดไป อย่างน้อยเราจะได้รู้ว่าสิ่งนี้ไม่เวิร์ก เราจะได้ไม่กลับมาลงท่านี้อีก หรือว่าถ้าจะกลับมาลงท่านี้อีกอาจจะเป็นเรื่องของ Matter of Time อาจจะลงตอนนี้ไม่ได้ ต้องไปทำอีก 3 ปีข้างหน้า ลูกค้าถึงจะตอบรับ อะไรแบบนี้ค่ะ ซึ่งรัสมองว่าทุกอย่างเป็นการเรียนรู้

 

 

เชื่อว่าแบรนด์ชาไทย Karun เองก็น่าจะครองใจคนจำนวนไม่น้อยเลยทั้งไทยและต่างประเทศ รัสคิดว่าอะไรคือ Key Success Factor ของแบรนด์

Rus: พอเป็นอาหารเครื่องดื่มมันต้องเป็นเรื่องของรสชาติ เราอาจจะเป็นรสชาติที่เข้าถึงง่าย Universal คนกินแล้วติดใจกลับมากินซ้ำค่ะ แต่ว่าอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักๆ รัสมองว่าเป็นเรื่องของภาพลักษณ์และเป็น Value ที่เราส่งต่อให้ลูกค้าได้ เพราะว่าจริงๆ ตอนวางแผนการทำ Branding รัสเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการที่มองว่าเครื่องดื่มคือเครื่องดื่ม แต่มองว่าเครื่องดื่มคือเครื่องประดับแทน เราก็พยายามส่งต่อคุณค่านี้ให้ลูกค้าค่ะ ไม่ว่าลูกค้าจะถือเราในรูปแบบแก้ว ในรูปแบบขวด หรือว่าซื้อไปฝากใคร ทุกอย่างก็จะต้องดูดีด้วยให้เหมาะสมกับราคาที่เขายินยอมที่จะจ่ายเรามาตั้งแต่แรก หรือแม้แต่ Service After Service ที่เวลาเคลมสินค้า เราก็พยายามดูแลลูกค้าให้ได้แบบ 100% จริงๆ ค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

เรียกว่าถือแล้วสวย

Rus: ใช่ค่ะ เราอยากให้คนดื่มเราสวยค่ะ (หัวเราะ)

 

เห็นรัสพูดถึงเรื่องรสชาติอยู่บ่อยๆ รสชาติความพิเศษของชาไทย Karun เป็นแบบไหน

Rus: รัสเชื่อว่าทุกแบรนด์มีความพิเศษของตัวเอง แต่ว่าถ้าเป็นแบบฉบับ Karun ของเราก็จะมีความหนักแน่น เข้มข้น บอดี้ตัวชาของเราจะหนักพอสมควร แล้วกลิ่นของชาก็จะเป็นกลิ่นชาไทยเข้มๆ ฝาดๆ เฝื่อนๆ รัสว่าอันนี้คือเอกลักษณ์ของชาในแบบของ Karun ค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

ตอนนี้เดินทางมาถึงปีที่ 5 แล้ว รัสมองทิศทางของธุรกิจตัวเองไว้อย่างไรบ้าง

Rus: ถ้าเป็นธุรกิจโดยรวม เราอยากจะมีแบรนด์หลายๆ แบรนด์ที่อยู่ในองค์กร เพราะว่าจริงๆ ตอนที่เราทำ Karun ก็มีโอกาสได้ Research ตลาดเรื่อยๆ แล้วก็ Research วัตถุดิบมาโดยตลอด จนทำให้เราได้รับ Advantage ต่างๆ จากการทำธุรกิจ Karun ทำแบรนด์ Karun มาเรื่อยๆ เราก็เลยตั้งใจว่าอะไรที่เราเห็นว่าดีแต่ใช้กับ Karun ไม่ได้ เราก็พยายามหยิบยกเพื่อไปแตกเป็นแบรนด์อื่นๆ ต่อไปค่ะ

 

ส่วนในแง่ของแบรนด์ Karun เอง เราก็อยากจะเป็นหนึ่งในแบรนด์ชาไทยที่คนทั่วโลกนึกถึง เวลานึกถึงชาไทยก็อยากกินชาไทยที่ Karun ค่ะ

 

 

ในฐานะ CEO รัสอยากเพิ่มทักษะอะไรไหมที่ทำให้ Karun เติบโตไปอยู่ในระดับโลกอย่างที่รัสคาดหวังไว้ได้

Rus: ทุกทักษะเลยค่ะ รอบด้านอย่างเช่นทุกวันนี้ค่ะ ทำงานเยอะแล้วก็จริงแต่ว่าก็จะแบ่งเวลาไปเรียนรู้เรื่องอื่นเพิ่มเติมเรื่อยๆ อย่างแบบ HR ถ้าเขาเรียนอะไรรัสก็จะแบบขอไปฟังด้วยได้ไหม หรือเรียนเสร็จแล้วสรุปมาสอนด้วยได้ไหมว่ามีอะไรบ้าง หรือแม้กระทั่งน้องๆ Marketing ถ้ามีไปออกอีเวนต์อะไร หรือว่าไปฟังสัมมนาอะไร เราก็จะแบบอุ๊ยมาสอนพี่ด้วยนะ

 

การลงเรียนคอร์สต่างๆ ก็ยังเรียนอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะการเรียนที่เกี่ยวกับเรื่องชาเท่านั้น เราเรียนแบบหลายๆ เรื่อง People Management, Financial Invesment อะไรแบบนี้ เราเรียนทุกๆ อย่างจริงๆ แต่ว่าอาจจะเป็นการจัดสรรเวลาแล้วเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้วก็เน้นอ่านหนังสือ เรียน Short Course แม้กระทั่งแบบ Anti-Aging รัสก็เรียน เพราะเรารู้สึกว่าบางทีเราก็อยากรู้ว่าเทรนด์ในอนาคตมันเป็นประมาณนี้ เราคาดว่าต่อไปคนจะ Shift เทรนด์ไปทางไหน เราก็พยายามมองว่าแล้วพอร์ตแบรนด์ต่างๆ ที่เราถืออยู่ในมือมันจะ Merge ไปกับเทรนด์อะไรได้บ้างในอนาคต

 

Karun

 

ก็จะเป็นคนที่คอยเรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่จากหนังสือหรือจากคอร์ส แต่ว่าแบบจากพนักงานหรือจากทีมงานเราก็อยากเรียนรู้กับเขาด้วยค่ะ

 

เรียกว่าจริงๆ อย่าตีกรอบสิ่งที่เราจะเรียน

Rus: ใช่ค่ะ คือบางทีเราไม่รู้ว่าเราจะเจอโอกาสอะไรในทักษะนั้นๆ บ้าง เพราะฉะนั้นรัสก็เลยพยายามเก็บทักษะหลายๆ อย่างให้ครบ จากจริงๆ เมื่อก่อนตอนที่รัสทำสตาร์ทอัพที่เป็น Education Technology รัสก็มีโอกาสได้คุมทีมโปรแกรมเมอร์ ด้วยความที่เราไม่ได้เป็นสาย IT หรือว่า Software Engineer เราก็มีไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมว่าการที่จะ Lead Team เราจะคุยอะไรอย่างไรกับเขาได้บ้าง มันก็ทำให้รัสได้มีโอกาสแตะหนังสือหลายเล่มมากๆ คือเยอะมากๆ ซึ่ง Branding เป็นหนึ่งในนั้น แต่ ณ วันที่ทำสตาร์ทอัพ Branding ยังไม่ได้ใช้เลย แต่เราก็อ่านแล้วเราก็ทดไว้ว่าชอบเรื่องนี้ เก็บไว้ จนวันหนึ่งเรามีโอกาสได้เริ่มทำ Karun เราก็หยิบจับเรื่องนี้ขึ้นมา

 

 

รัสเลยมองว่าวันนี้เราไม่มีวันรู้หรอกว่าวันข้างหน้าเราจะเจออะไรบ้าง เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ Collect ทักษะอะไรเล็กๆ น้อยๆ รอบตัว แล้ววันหนึ่งมันก็จะมีประโยชน์กับเราเอง

 

สิ่งต่อไปที่เราจะได้เห็นจาก Karun ในเร็วๆ นี้คืออะไร

Rus: จริงๆ ก็จะได้เห็น Karun ขยายไปในรูปแบบต่างๆ ค่ะ อาจจะมีสาขาที่ต่างประเทศด้วยค่ะ แล้วก็มีการ Elevate Brand มากขึ้น ให้ลูกค้ามี Experience ในการมา Visit ร้านเราเยอะขึ้นค่ะ

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

A post shared by Karun Thai Tea (ชาไทยการัน) (@karunthaitea)

 

 

รัสมีมุมมองอย่างไรกับชาไทยในวันนี้

Rus: พอเราพูดว่า Thai Tea คุณจะไปกินที่ฮ่องกงก็ไม่ได้ คุณจะไปกินที่จีนก็ไม่ได้ หรือจะไปกินที่แบบลอนดอนก็ไม่ได้ เพราะมันคือ Thai Tea แล้วรัสมองว่าพอมันเป็นสินค้าที่หาได้แค่ในไทยเท่านั้น มันเป็นอะไรที่ค่อนข้างต่อยอดไปได้ง่ายในแง่ของ Domestic ก็ดี เพราะคนไทยชอบกินอยู่แล้ว หรือในแง่ของ International ก็ดี เพราะว่าต่างชาติเวลามาบ้านเราเขาก็มีลิสต์ไว้เลยว่าสิ่งที่เขาต้องกินคือผัดไทย ผัดซีอิ๊ว ชาไทย ก็จะมีอะไรที่อยากลองอยู่แค่ประมาณนี้ค่ะ

 

พอรัสมาทำตลาดนี้แล้วเป็นกระแส มีคนลงมาเล่นด้วยในตลาดนี้เหมือนกัน รัสมองว่ามันทำให้ Industry นี้ค่อนข้างแข็งแรง และก็เป็นตัวเลือกด้วยให้กับลูกค้าได้ว่ามันไม่ได้มีแต่กรอบเดิมๆ อีกแล้วนะที่แบบกินชาไทยตามร้านกาแฟ หรือว่ากินชาไทยตามรถเข็น

 

 

ทุกวันนี้ถ้าไทยหรือต่างชาติอยากเลือกที่จะกินชาไทยก็สามารถมีร้านดีๆ นั่ง ถ้าในแง่ของคอมมูนิตี้เราก็อยากให้มันเป็นเหมือนกาแฟที่มีที่นั่ง Chitchat กันได้ แล้วก็มีลูกเล่นอะไรต่างๆ ซึ่งจริงๆ เราก็มีการปรับกลิ่นชาไทยของเราเหมือนกัน ที่ร้านเราจะมีกลิ่น Floral ให้ลูกค้าสามารถเลือกกินได้ด้วย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าหลายๆ คนได้มากขึ้นด้วยค่ะ

 

Karun

 

ในฐานะที่รัสผ่านประสบการณ์การทำธุรกิจแบบเต็มตัวมาแล้ว อยากฝากอะไรถึงคนที่อยากมีธุรกิจของตัวเองแต่ยังมีความกลัวที่จะเริ่มอยู่

Rus: จริงๆ การทำธุรกิจก็คือการลงทุน ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงค่ะ คือแค่เตรียมใจยอมรับว่าเราจะเจอความเสี่ยงเรื่องอะไรบ้างให้ได้ก่อน แล้วเรื่องที่สองคือวินัยกับตัวเอง วินัยมันอาจจะไม่ได้แบบตื่นเช้านอนเร็วหรืออะไรอย่างนี้ แต่มันเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ มันจะต้องมีความเชื่อมาเกี่ยวด้วยว่าเราเชื่อในสิ่งที่เรากำลังจะทำไหม ถ้าเราทำแล้ว User ได้รับอะไรบ้าง หรือแม้กระทั่งคนในองค์กรได้รับอะไรบ้าง ชีวิตเขาดีขึ้นไหม ทุกอย่างดีขึ้นไหม หรือ Industry นี้ดีขึ้นไหม พอเรามีความเชื่อปุ๊บ เราก็ต้องเปลี่ยนมันมาเป็นวินัยค่ะ

 

Karun

 

อย่างรัสอาจจะกล้าพูดได้ว่าเป็นคนที่มีวินัยมากๆ ในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วก็ตั้งใจสรุปอะไรต่างๆ ที่ตัวเองอยากรู้ไว้เป็นพาร์ตๆ เพื่อวันหนึ่งสามารถหยิบจับขึ้นมาใช้ได้ หรือแม้กระทั่ง Relearn, Reread สิ่งต่างๆ ที่เราเคยรู้แล้ว เหมือนหนังสือเล่มเดิม บางทีเราอ่านมันอาจจะไม่ได้จบเหมือนเดิมนะ วันนี้เรามีประสบการณ์แบบนี้ พอเรากลับมาอ่านเรื่องนี้หรืออ่านเล่มนี้หรืออ่านทฤษฎีนี้ เราอาจจะเข้าใจมันเป็นอีกแบบหนึ่ง หยิบจับมันมาใส่คนละภาคส่วนได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นรัสรู้สึกว่าการสรรหาความรู้ให้กับตัวเองแล้วก็ทำ Back Up Plan ต่างๆ ดีๆ วางแผนดีๆ มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันหมด น่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้เราลดความกลัว แล้วก็ลดความเสี่ยงจากอะไรหลายๆ อย่างที่จะเกิดขึ้นได้ค่ะ

 

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ Karun คืออะไร

Rus: การบริหารคนค่ะ มันอาจจะไม่ใช่การบริหารคนอย่างเดียว แต่ว่าการบริหารคนเป็นตัวอย่างในชีวิตหลายๆ แง่เลย สิ่งที่รัสรับรู้จากการทำคือมันมี Factor หลายอย่างมากที่เราไม่สามารถ Control ได้ ต่อให้เราวางแผนดีแค่ไหน เรียนรู้มาดีแค่ไหน สุดท้ายมันก็จะมีความเสี่ยงนั้นๆ หรือว่า Uncontrollable Factor เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่ดี สิ่งที่เราทำได้คือเราต้อง Respond กับมันทันที แล้วหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ดีที่สุดในแต่ละพาร์ต ทุกวันนี้เราเครียดกับปัญหาน้อยลงเพราะเราเริ่มเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ แล้วสิ่งที่เราจะทำได้ต่อไปคืออะไรบ้างค่ะ

 

 

อยากบอกอะไรกับตัวเองในฐานะผู้ก่อตั้ง Karun

Rus: ทุกวันมันเป็นวันของการเรียนรู้แล้วก็ปรับปรุงแก้ไขค่ะ เราในวันพรุ่งนี้ก็จะดีกว่าเราในวันนี้ทุกๆ วัน

 

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน The Secret Sauce Summit 2024 อีเวนต์เปิดโลกผู้ประกอบการไทยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องสนุกและชนะได้จริง ได้ในวันที่ 5-6 กันยายน 2567 ณ พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://bit.ly/TSS202423

 

Karun

Address: 15 สาขาทั่วประเทศ เช็กสาขาได้ที่นี่

Facebook: https://www.facebook.com/karunthaitea

Instagram: https://www.instagram.com/karunthaitea/

Budget: เริ่มต้นที่ 85 บาทต่อแก้ว

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising