×

รับมืออย่างไรในวันที่ใจเศร้า?

04.03.2023
  • LOADING...
ใจเศร้า

ความเจ็บป่วยด้านจิตใจที่ไม่ได้แสดงให้เห็นความเจ็บป่วยในรูปแบบที่มองเห็นหรือสัมผัสได้ และการยอมรับว่าเกิดความเจ็บป่วยขึ้นภายในยิ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่ากำลังได้รับผลกระทบทางจิตใจ เช่น ขาดสมาธิ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย คิดลบบ่อยๆ ที่เกิดขึ้นกับเราต่อเนื่องมากกว่า 2 สัปดาห์ และเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อยากชวนให้เริ่มต้นจากการรับมือด้วยวิธีต่อไปนี้  

 

 

รับมืออย่างไรในวันที่ใจเศร้า? 

  1. กำหนดแผนกิจวัตร และ ‘ทำตามแผนมากกว่าอารมณ์’ 

เพราะในขณะที่กำลังอยู่ในช่วงของความเศร้า อารมณ์อยากทำสิ่งต่างๆ จะลดลง ก่อให้เกิดพฤติกรรมเก็บตัว และการวกวนคิดลบกับตนเอง แผนกิจวัตรมีไว้เพื่อกระตุ้นให้เราเองกระทำสิ่งต่างๆ ‘เท่าที่จะทำไหว’ เพื่อให้ร่างกายได้ขยับ ลดความคิดลบ และทวนความรู้สึกต่อการได้ลงมือทำ 

 

  1. มองหาความช่วยเหลือรอบข้าง 

สิ่งนี้เองก็ไม่ง่าย เพราะในขณะที่กำลังมีความเศร้ามักมีความคิดว่า ‘ตนเป็นภาระ’ ทำให้การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นสิ่งยาก แต่ก็มีการร้องขอความช่วยเหลือหลายรูปแบบ อาทิ การชวนเพื่อนออกไปรับประทานอาหารร่วมกันโดยไม่ต้องพูดเรื่องราวของความทุกข์ใจ เพราะการได้ออกไปทำกิจกรรมกับผู้คนก็ช่วยประคองความรู้สึกเราได้ 

 

  1. มองหาความช่วยเหลือจากวิชาชีพ

โดยเฉพาะเมื่อความเศร้ากำลังรบกวนชีวิตประจำวัน การกิน การนอน การมีสมาธิในการทำงาน เพราะหากสิ่งเหล่านี้เกิดกับเรายาวนาน ความสามารถในการใช้ชีวิตก็อาจลดลงจากเดิม ยิ่งส่งผลให้เราคิดลบกับตัวเองว่า ‘เราแย่ เราไม่ดี เราไม่เก่งพอ’ ในขณะที่สิ่งต่างๆ คือส่วนของอาการ ไม่ใช่ตัวเรา 

 

 

  1. แผนในการทำงานกับวิชาชีพด้านจิตใจ

โดยอาจเริ่มจากสถานพยาบาลตามสิทธิของตนเอง ซึ่งอาจไม่สะดวกในแง่ของการให้บริการเพราะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก หลังจากรับความช่วยเหลือตามสิทธิไประยะหนึ่งและต้องการความสะดวกในแง่ของการบริการ หรือต้องการเวลามากขึ้นในการพูดคุยเรื่องความคิด ความรู้สึก สถานพยาบาลด้านจิตใจของเอกชนก็มีให้บริการอยู่ในทุกมุมเมือง ตลอดขั้นตอนนี้อาจส่งผลต่อความรู้สึกหวั่นใจได้ไม่น้อย ‘ทำตามแผนมากกว่าอารมณ์’ ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising