×

Attachment Theory: แกะรอย ‘ปม’ ความรักวัยเด็ก ทำไมโตมาเป็นคนแบบนี้?

25.04.2025
  • LOADING...
attachment-theory-childhood-impact

John Bowlby ผู้คิดค้นทฤษฎี Attachment เคยอธิบายไว้ว่า “ความผูกพันในวัยเด็กเป็นเหมือนคู่มือความสัมพันธ์ที่เราจะใช้ไปตลอดชีวิต” ซึ่งทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมบางคนถึงกลัวการถูกทิ้ง บางคนชอบความเป็นอิสระ และบางคนก็สับสนในความรู้สึกของตัวเอง คิดง่ายๆ ตอนเด็กๆ ถ้าเราร้องไห้งอแง แล้วมีคนมากอด ปลอบ มาเล่นด้วยสม่ำเสมอ เราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้มันโอเค มีคนซัพพอร์ต เราก็จะโตมาเป็นคนที่ ‘Secure’ หรือมั่นคงในความสัมพันธ์ กล้าใกล้ชิด ไม่กลัวโดนเท

 

แต่ถ้าตอนเด็กๆ ร้องไปก็เท่านั้น ลองลงทุนลงไปนอนดิ้นบนพื้นพ่อแม่ก็ไม่สนใจ แถมบางทีก็โดนดุอีก เราก็จะเริ่มงงๆ กับความรักจากคนที่เลี้ยงดูเรามา พอโตมาก็อาจจะเป็นคน ‘Anxious-Ambivalent’ คือฟีลมันจะแบบอยากมีแฟนนะ แต่ก็กลัวเขาไม่รักจริง กลัวโดนทิ้ง ต้องคอยเช็ก คอยถามตลอดเวลาว่ายังรักกันอยู่ไหม

 

ส่วนบางคนที่ตอนเด็กๆ ไม่ค่อยได้รับการดูแลเท่าไร ต้องพึ่งตัวเองมาตลอด ก็อาจจะกลายเป็นคน ‘Avoidant’ คือชินกับการอยู่คนเดียว ไม่อยากผูกพันกับใคร กลัวการใกล้ชิด เพราะรู้สึกว่ายังไงก็ต้องดูแลตัวเองอยู่ดี เขาก็จะขีดเส้นพื้นที่ส่วนตัวชัดเจน 

 

ที่แย่ไปกว่านั้น ถ้าตอนเด็กๆ เจอเรื่องแย่ๆ แบบคาดเดาไม่ได้ โดนทำร้าย หรืออะไรที่มันทำให้รู้สึกสับสนมากๆ ก็อาจจะกลายเป็น ‘Disorganized’ คือไม่รู้จะเอายังไงกับความสัมพันธ์ เดี๋ยวอยากใกล้ เดี๋ยวก็ผลักไส งงๆ ไปหมด

 

แล้วไงต่อ? มันเปลี่ยนได้ไหม?

 

ข่าวดีคือ ‘ปม’ ความรักวัยเด็กเนี่ย มันไม่ใช่สิ่งที่ต้องติดตัวเราไปตลอดชีวิตหรอกนะ การที่เราเข้าใจตัวเอง เข้าใจว่าทำไมเราถึงมีความรู้สึกแบบนี้กับความสัมพันธ์ มันคือสเต็ปแรกที่จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้ ลองสังเกตตัวเองดูสิ ว่าเรามีแนวโน้มไปทางไหน? เรากลัวอะไรในความสัมพันธ์? พอเรารู้ทันตัวเองแล้ว เราก็จะเริ่มปรับตัวได้ เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ ค่อยๆ สร้างความไว้ใจ เรียนรู้ที่จะสื่อสารความรู้สึกตัวเองแบบตรงๆ

 

บางทีการคุยกับเพื่อนสนิท หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็ช่วยได้เยอะเลยนะ อย่าคิดว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องน่าอาย การเข้าใจตัวเองและพัฒนาตัวเองให้มีความสุขกับความสัมพันธ์ได้มากขึ้น มันคือเรื่องเจ๋งสุดๆ ไปเลย สรุปง่ายๆ ทฤษฎี Attachment มันเหมือนเป็นการแกะรอยความรู้สึกของเราที่มีต่อความรักและความสัมพันธ์ ตั้งแต่เด็กจนโต การทำความเข้าใจ ‘พิมพ์เขียว’ ในใจเราจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและคนอื่นมากขึ้น และที่สำคัญคือทำให้เรารู้ว่าเราสามารถออกแบบความสัมพันธ์ที่เราต้องการได้ด้วยตัวเอง

 


 

 

John Bowlby ผู้คิดค้นทฤษฎี Attachment อธิบายว่า “ความผูกพันในวัยเด็กเป็นเหมือนคู่มือความสัมพันธ์ที่เราจะใช้ไปตลอดชีวิต” หรือพูดง่ายๆ ว่ามันคือ ‘วิธีรัก’ ที่เราเคยเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก

 


 

 

ทำให้เราเข้าใจว่า เมื่อมีความรัก ทำไมบางคนถึงกลัวการถูกทิ้ง ทำไมบางคนชอบความเป็นอิสระ และทำไมบางคนก็สับสนในความรู้สึกของตัวเอง

 


 

 

ตอนเด็กถ้าเราร้องไห้งอแงแล้วมีคนมากอดและปลอบจนชิน ก็จะรู้สึกว่าโลกนี้มันโอเค มีคนซัพพอร์ต โตมามีแนวโน้มที่จะเป็นคน ‘Secure’ รู้สึกมั่นคงในความสัมพันธ์

 


 

 

คนที่โตมาแบบไม่ได้รับการตอบสนองเมื่อเรียกร้องความสนใจ มักโตมาเป็นคนแบบ Anxious-Ambivalent คืออยากมีความรักนะ แต่จะหวาดระแวง กลัวว่าอีกฝ่ายไม่รักจริง กลัวการถูกทอดทิ้ง

 


 

 

ถ้าตอนเด็กๆ ไม่ค่อยได้รับการดูแลเท่าไร ต้องพึ่งตัวเองมาตลอด ก็อาจจะกลายเป็นคนแบบ ‘Avoidant’ คือชินกับการอยู่คนเดียว ไม่อยากผูกพันกับใคร กลัวการใกล้ชิด จะขีดเส้นพื้นที่ส่วนตัวชัดเจน

 


 

 

ที่แย่ไปกว่านั้น ถ้าตอนเด็กๆ เจอเรื่องแย่ๆ หรือโดนทำร้าย ทำให้มีปมในใจมากๆ ก็อาจจะกลายเป็น ‘Disorganized’ คือไม่รู้จะเอายังไงกับความรักดี จะรักก็กลัว จะเลิกก็กลัวตัวเองเหงา

 


 

 

แต่ ‘ปม’ ความรักวัยเด็ก ไม่ใช่สิ่งที่ต้องติดตัวเราไปตลอดชีวิตหรอกนะ ถ้าเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนี้ มันคือสเต็ปแรกที่จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีรักของตัวเองได้

 


 

 

ลองฝึกทำความเข้าใจ ‘พิมพ์เขียว’ ในใจจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและคนอื่นมากขึ้น ทำให้รู้ว่าเราสามารถออกแบบความสัมพันธ์ที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง และมีสิทธิ์ที่จะมีความสุขในความรักได้เหมือนกัน 

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising