×

จะรับมืออย่างไรหากคนไทยต้องอายุถึง 100 ปี?

03.12.2023
  • LOADING...
อายุ 100 ปี

LIFE จะขอพาผู้อ่านไปรู้จักวิธีดูแลตัวเองเพื่อการมีชีวิตที่ยั่งยืน ซึ่งได้มาจากงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป มีหลายๆ เซสชันที่น่าฟัง และได้ความรู้ในการขับเคลื่อนทั้งชีวิตและแนวคิดของตัวเองใหม่ เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรู้เท่าทัน โดยเฉพาะในเซสชัน The 100-Year Life: Thailand’s Action for a Super-Aged Society เตรียมประเทศไทยให้พร้อมรับสังคม 100 ปี ต้องบอกว่าได้ความรู้และประโยชน์มากๆ เกี่ยวกับแนวโน้มสุขภาพของคนไทย ที่มีการตั้งคำถามว่า ‘ถ้าเราต้องมีอายุอยู่ถึง 100 ปี มันจะเป็นอย่างไรกันนะ?’ คิดว่าเป็นพรหรือคำสาป? ซึ่งคำตอบน่าจะขึ้นอยู่กับว่าถ้าเราอายุถึง 100 ปี สุขภาพเราตอนนั้นเป็นอย่างไร ความพร้อมด้านการเงินและสังคมรอบตัวเป็นอย่างไร แล้วในสังคมไทยจะมีโอกาสที่ก้าวไปถึงจุดนั้นจริงหรือไม่? และถ้าเป็นแบบนั้นจริง สังคมไทยพร้อมแค่ไหน และควรทำอย่างไรถ้าวันหนึ่งสังคมไทยต้องอายุยืนถึง 100 ปี ซึ่งจากเซสชันนี้เราได้คัดสรรข้อคิดและมุมมองของ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากผู้อ่าน ดังต่อไปนี้ 

 



ซื้อบัตรรับชมย้อนหลัง THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 ได้แล้ววันนี้!

 📣 ราคาพิเศษ 2,500 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2566 เท่านั้น

คลิก https://bit.ly/TSEF2023RRS

 

✅ รับชมย้อนหลังออนไลน์ทุกที่ทั่วโลก 

✅ ดูย้อนหลังนาน 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566-31 พฤษภาคม 2567

✅ รับสรุปเนื้อหา Visual Summary ทุกเวที

 


 

ถ้าคนไทยอายุถึง 100 ปี สาธารณสุขและการแพทย์จะช่วยเราได้อย่างไร? 

คำว่า 100 ปีของผม ความหมายของการอายุยืนถึง 100 ปีมันมีวาระซ่อนเร้นข้างในว่า 100 ปีที่มีชีวิตอยู่นี้คุณภาพเป็นอย่างไร หากเราพูดถึงสาธารณสุขโดยภาพรวมว่าเราต้องการอะไร ผมคิดว่าเราน่าจะโฟกัสที่แนวคิดว่า ไม่ใช่แค่ Longevity (การมีอายุยืนยาว) แต่มันต้องเป็นระหว่าง Healthspan คือช่วงเวลาที่เราอยู่โดยมีสุขภาพที่ดี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีระดับหนึ่ง กับ Lifespan เรากำลังพูดถึงการมีชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบ ประเด็นสำคัญคือ ถ้าเราพูดถึงหน้าที่ของสาธารณสุข เราคงจะต้องการให้ค่าเฉลี่ยช่วงชีวิตที่มีสุขภาพดีอยู่ให้ได้นานที่สุด และเมื่ออยู่ในช่วงที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามวัยที่มากขึ้น เราต้องพยายามทำให้ช่วงตรงนี้มีคุณภาพดีที่สุด หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรให้ Longevity = Longer Healthy Lifespan คือถ้าต้องอยู่ถึง 100 ปี พอจะตายก็ตายดี อย่าไปยื้อนาน มันสำคัญนะครับที่คนเราจะต้องอยู่ดี และต้องตายดี ผมว่านี่คือคีย์เวิร์ดสำคัญเลย

 

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023

 

อะไรจะเป็นตัวทำให้เราสามารถอยู่ได้นานอย่างมีคุณภาพ?

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของสุขภาพมนุษย์คือเวลา เพราะเราหยุดเวลาไม่ได้ ถ้าเรามองประเด็นเรื่องปัจจัยที่กำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health) คือจะอยู่อย่างมีสุขภาพดีให้นานนั้นขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง 30% อาจเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ พฤติกรรมสุขภาพ ความเชื่อ หรือจิตวิญญาณ ซึ่งเราเปลี่ยนไม่ได้ แต่ถ้าเรารู้ก่อนเราอาจป้องกันได้ เช่น คนไข้ผมอาจจะไปตรวจยีนแล้วรู้ว่าเขามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสูงมาก พวกนี้เราจับมาสกรีนนิ่งตั้งแต่อายุ 30 ปีเลย ทุกปีต้องไปตรวจสุขภาพ เพื่อป้องกันให้เขามีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น 30% ส่วนหนึ่งแก้ไขได้นะครับ คือการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ถ้าเรามีพฤติกรรมที่ดีมันจะช่วยเราได้ 

 

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023

 

แต่พอมาอีกด้าน 70% ของปัจจัยกำหนดสุขภาพมันเป็นด้านที่เราปรับได้ จะเห็นว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือ Environment, Food, Lifestyle, Culture, Politics, Technology และ Infrastructure สิ่งเหล่านี้เราต้องพยายามปรับ ผมเชื่อว่าถ้าเราไปดูในกลุ่มที่อายุเกิน 100 ปี นอกจากพฤติกรรมของเขาแล้ว สิ่งแวดล้อมสำคัญมาก ถ้าเขาอยู่ในที่ที่ใช้ชีวิตแบบชิลๆ ชีวิตมีความหมาย และไม่ค่อยเครียด และปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ เช่น ยา การดูแลสุขภาพ ก็มีบทบาทแต่ไม่สำคัญที่สุด ถ้าถามว่าจะมียาที่ทำให้ท่านอายุยืนไปถึง 100 ปีไหม ผมคิดว่ายาอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ มันต้องประกอบด้วยปัจจัยเหล่านี้ ผมเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นได้ถ้าเรามีแนวคิดตรงกันคือ Health for All เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของนโยบายชาติเลยนะครับว่า ถ้ารัฐบาลมีนโยบาย บริษัททุกบริษัทมีนโยบาย Health for All คือสุขภาพต้องมาก่อน เหมือนช่วงที่เรามีโควิดระบาด เมื่อเทียบการท่องเที่ยวกับสุขภาพ เราเลือกสุขภาพก่อน เราจะอยู่ต่อไปได้ 

 

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023

 

Anti-Ageing Diet: Fact or Fiction?

มีท่านใดเคยใช้วิธี IF หรือกิน Keto หรือเลือกแบบ Low Carb ไหมครับ? ท่านทราบไหมว่าตกลงแล้วคีย์เวิร์ดของวิธีการเหล่านี้คืออะไร? ทั้งหมดนี้ผลสรุปอันเดียวเลยคือ ‘อย่ากินมากเกินไป’ จริงๆ มันเป็น Agenda ให้เรากินให้น้อย ดังนั้น ผมคิดว่าจริงๆ เราต้องมาทำการศึกษาให้ชัดเจนตรงนี้ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะบอกเราได้ และอีกประเด็นที่ผมได้รับคำถามมากที่สุดเลยคือ ผลวิจัยโมเลกุลมณีแดง ย้อนวัย ต้านเซลล์ชรา ซึ่งมันจะมีข้อมูลในการทดลองว่าช่วย Reverse Ageing Process บางอย่างในสัตว์ทดลอง แต่ว่าตรงนี้มันยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง ซึ่งเราหวังนะ ถ้ามันช่วยได้มันจะเสริมเราในแง่ของการชะลอวัย แต่ในปัจจุบันนี้มันไม่มีหรอกจอกวิเศษของ Anti-Ageing ยังไม่มียาอะไรที่จะลดความเสื่อมของท่านได้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้น ท่านต้องใช้ทั้ง 3 ปัจจัยสำคัญในการกำหนดสุขภาพ คือการดูแลตัวเอง การดูแลสิ่งแวดล้อม แล้วก็ไปหาหมอ ให้หมอช่วยในเวลาที่สำคัญ ผมเรียนว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทยปัจจุบันถือว่าพื้นฐานเราดีมากนะครับ พวกท่านจะไปหาหมอที่ไหนก็ได้เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ปัญหาคือเราจะทำอย่างไรให้การใช้สิ่งเหล่านี้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด 

 

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023

 

ความท้าทายสำคัญของระบบสาธารณสุขไทยในวันนี้เป็นอย่างไร ถ้าอยากให้คนไทยมี Healthspan ที่ขยายออกไปยาวขึ้นต้องทำอย่างไร? 

ผมคิดว่ามันมีหลายองค์ประกอบ เทคโนโลยีเป็นอย่างหนึ่งที่เราต้องให้มีการเข้าถึง แต่เราต้องมีวัตถุประสงค์ว่าต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่ออะไร เราจะพูดที่จุฬาฯ เสมอว่าเทคโนโลยีมีไว้แชร์ ไม่ใช่โชว์ การที่เราจะมีระบบสุขภาพที่ยั่งยืนได้จึงต้องเริ่มต้นจาก Self-Care (Nutrition, Exercise, Sleep และ Emotion) เทคโนโลยีซึ่ง Empower ให้ผู้ป่วยหรือคนธรรมดาดูแลตัวเองได้ดีขึ้น การให้องค์ความรู้ที่ถูกต้อง การได้เข้าถึงบริการโดยที่ไม่ต้องมาโรงพยาบาล มารอคิว การมี Tailored Medicine จะเป็นสิ่งที่ทำให้เขาสามารถมีอายุที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Genetics Precision Medicine ยาซึ่งช่วยในการป้องกันการเกิดโรคบางอย่าง การที่เราสามารถมี Healthcare System ที่ทุกคนเข้าถึงได้ในเวลาที่เหมาะสมและยั่งยืน เรื่อง Anti-Ageing ผมให้ความสำคัญน้อยมากในแง่ของการใช้ยา เพราะยังไม่มีอะไรที่มาตอบโจทย์ตรงนี้ ในอนาคตมันอาจจะมี แต่ตอนนี้ยังไม่มี ผมเชื่อว่าการกินอาหารที่เหมาะสม การพักผ่อนก็ยังสำคัญ การมีกิจกรรมทำอย่างสม่ำเสมอก็จำเป็น ถ้าไปดูคนที่มีอายุถึง 100 ปีในต่างประเทศ เขาไม่เคยออกกำลังกายเป็นกิจจะลักษณะนะครับ อย่างคนอายุยืนที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หรือคนอายุยืนฝั่งยุโรป แต่เขามีกิจกรรมที่สม่ำเสมอ เขาเดินเยอะ เขาเดินขึ้นเขา ก็เป็นสิ่งที่ทำให้มีอายุที่ยืนยาวได้  

 

เมื่อปี 2017 ทั้งโลกใช้เงินไปมากถึง 8 แสนล้านบาทในการซื้อยายับยั้งมะเร็ง แต่ไม่ได้เป็นยาที่รักษามะเร็งได้นะครับ มันแค่ยืดออกไปให้ตายช้าลง จะเห็นว่าถ้ามองไปถึงปี 2027 ต้องใช้เงินมากถึง 2 ล้านล้านบาทในการซื้อยานี้ทั้งโลก มันเป็นสิ่งที่เราต้องคิดดูให้ดีว่า ในอนาคตค่าใช้จ่ายพวกนี้ที่เราต้องจ่ายออกไป ทำอย่างไรให้มันสมดุลกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน อันนี้จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากของสังคมไทยในอนาคต เพราะเรายังเป็นระบบสุขภาพที่รัฐให้สวัสดิการ แต่เราจะสามารถจ่ายได้แค่ไหน เป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณาให้เหมาะสม  

 

THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023

 

เร่งผลักดัน Self-Care การดูแลสุขภาพตัวเอง 

Self-Care คือการที่เรามีบทบาทในการดูแลตัวเอง ผมคิดว่า Self-Care เป็นโจทย์ที่สำคัญ และ 7 Pillars ของการดูแลตัวเองก็จะมีคีย์เวิร์ดของมันอยู่ ตั้งแต่การให้ความรู้ คำว่า Health Literacy กับ Knowledge ไม่เหมือนกันนะครับ ความรู้มันคือการที่เรามีความรู้ แต่อาจจะไม่ใช้ แต่ Health Literacy คือการมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้กับสุขภาพเราให้ได้, เรื่อง Mental Well-being ก็สำคัญ ทำอย่างไรให้เราสามารถดูแลเรื่องความเครียดได้ดี, Physical Activity การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ, Healthy Eating การกินดี, Risk Avoidance การลดความเสี่ยง, Good Hygiene การดูแลเรื่องสุขอนามัยให้ดี และการใช้ Rational Use of Products & Service ของยา ซึ่งเราต้องไปเรียนรู้จากแพทย์ ทั้งหมดนี้คือ Pillars ที่สำคัญ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising