Lawson เชนร้านสะดวกซื้อชื่อดังของญี่ปุ่น เปิด Lawson Go โมเดลร้านสะดวกซื้อใหม่แบบไม่มีพนักงานคิดเงิน ประเดิมให้บริการที่แรกในอาคาร Mitsubishi Shokuhin โตเกียว
Japan Today รายงานว่า ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยเครื่องดื่มและอาหารหลากหลายประเภท ตั้งแต่ชา กาแฟ ไปจนถึงข้าวปั้นโอนิกิริและของหวาน ที่สามารถสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งได้ และจะยิ่งสะดวกไปกว่านั้นหากไม่ต้องยืนรอคิวยาวเพื่อชำระค่าสินค้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ร้านสะดวกซื้อญี่ปุ่น เจาะตลาดจีน ชี้โอกาสเติบโตสูง-ผู้คนมีกำลังซื้อ ‘Lawson’ ประกาศเปิด 1 หมื่นแห่งภายในสิ้นปี 2568
- ร้านโอมากาเสะทั่วโลกขาดแคลน ‘เชฟซูชิชาวญี่ปุ่น’ แย่งตัวกันอุตลุด ยิ่งได้ภาษาจะถูกเสนอค่าจ้างสูงถึง 2.2 ล้านบาทต่อปี
- ญี่ปุ่นจ๋าพี่มาแล้ว! นี่คือ 5 เซอร์ไพรส์เล็กๆ จากญี่ปุ่นที่เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
ล่าสุด Lawson เครือร้านสะดวกซื้อชื่อดังในญี่ปุ่น เปิดร้าน ‘Lawson Go’ ร้านสะดวกซื้อประเภทใหม่ที่ไม่มีพนักงานคิดเงิน โดยใช้เทคโนโลยีระบบ Computer Vision เข้ามาตรวจสอบการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าภายในร้าน
สำหรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้าน จะต้องติดตั้งแอปพลิเคชัน Lawson Go ในสมาร์ทโฟน และผูกบัญชีบัตรเครดิตเชื่อมกับแอป และเมื่อเดินเข้าไปในร้านก็เปิดแอปเพื่อสร้างรหัส QR แล้วนำไปสแกนตรงทางเข้าร้าน จากนั้นก็เดินเลือกซื้อสินค้าภายในร้าน แล้วเดินออกจากร้านได้เลย
ทั้งนี้ ภายในร้านจะมีกล้องติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ซื้อเพื่อตรวจสอบว่าหยิบสินค้ารายการไหนบ้าง รวมถึงชั้นวางมีเซ็นเซอร์น้ำหนักที่สามารถยืนยันข้อมูล และ Lawson จะคิดเงินและเก็บเงินจากบัตรเครดิตที่ผูกกับแอป โดยใบเสร็จค่าสินค้าจะถูกส่งไปให้ลูกค้าผ่านแอปด้วยเช่นกัน
เบื้องต้น Lawson ได้เริ่มทดสอบ Lawson Go เป็นที่แรกภายในอาคาร Mitsubishi Shokuhin ในเขต Bunkyo Ward ของโตเกียวเมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม้ภายในร้านจะยังมีพนักงานทำงานอยู่ แต่จะทำหน้าที่เติมสินค้าและดูแลความเรียบร้อยภายในร้านเท่านั้น
ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยตอบโจทย์พนักงานออฟฟิศที่ไม่ค่อยมีเวลาในการกินอาหารและพักผ่อนให้ใช้ชีวิตสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
Lawson ระบุอีกว่า ยังไม่พร้อมที่จะเพิ่มตัวเลือกการชำระเงินแบบ Walk-through ในทุกสาขา แต่ในอนาคตอาจพิจารณาการขยายสาขา Lawson Go โฟกัสในย่านธุรกิจที่มีคนพลุกพล่านและสถานที่อื่นๆ เช่น สถานีรถไฟ เพื่อเป็นทางเลือกการจ่ายเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ใช้บริการ
อ้างอิง: