วิจัยกรุงศรีฯ ปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีไทยเป็น -6.4% ในปีนี้ จากเดิม -10.3% ส่วนปีหน้าคาดขยายตัว 3.3% อานิสงส์การบริโภคภาคเอกชนและส่งออกฟื้นตัว ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐฯ ช่วยสร้างแรงส่งต่อเศรษฐกิจ
ฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ วิจัยกรุงศรี เปิดเผยมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยเพิ่มคาดการณ์เป็นมองว่า เศรษฐกิจจะหดตัว 6.4% จากเดิมที่เคยประเมินว่าน่าจะหดตัว 10.3% ขณะเดียวกัน ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะขยายตัว 3.3%
สาเหตุที่ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ สืบเนื่องมาจากจีดีพีไตรมาส 3 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงการเร่งใช้จ่ายของภาครัฐ และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น
เมื่อมองไปข้างหน้า วิจัยกรุงศรีฯ มีมุมมองเป็นบวก และคาดว่าเราจะเห็นการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ปีหน้าเป็นต้นไป เนื่องจากเป็นการขยายตัวจากฐานที่ต่ำ อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการใช้จ่ายภาครัฐ และเศรษฐกิจต่างประเทศที่ฟื้นตัวและสร้างแรงขับเคลื่อนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ความต้องการจับจ่ายในประเทศยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายอยู่
สำหรับภาคการท่องเที่ยว มองว่าฟื้นตัวช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งส่งผลต่อภาคบริการอื่นๆ ด้วย เช่น ทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกิน ขณะที่อัตราการว่างงานจะส่งผลต่อรายได้ และความสามารถในการใช้จ่ายอยู่เช่นเดิม
ในส่วนของปัจจัยการเมืองในประเทศ วิจัยกรุงศรีฯ มองว่า อาจขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสร้างความกังวลเกี่ยวกับความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การส่งออกจะเป็นกลไกสำคัญที่สร้างการเติบโต
ด้านการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการส่งออก มองว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
การปรับมุมมอง
วิจัยกรุงศรีฯ คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลงเป็น 4 ล้านคน เป็น 6.7 ล้านคนในปีนี้ เนื่องจากความกังวลเรื่องโควิด-19 โครงการ Travel Bubble ที่ล่าช้า และการจำกัดการเดินทางทั่วโลกที่นานกว่าที่คาดการณ์ไว้ และแม้ว่าจะมีข่าวดีจากการพัฒนาวัคซีน แต่มองว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้าสู่ไทยในไตรมาส 4 ปีหน้า
วิจัยกรุงศรีฯ ได้เพิ่มคาดการณ์การบริโภคภาคเอกชนในปี 2563 เป็น -1.1% จากเดิมที่คาด -4.2% และคาดว่าปี 2564 จะขยายตัว 2.5% โดยตัวเลขล่าสุดในไตรมาส 3 ปีนี้ จะเห็นว่าดีกว่าที่คาด โดยได้รับแรงหนุนจากเงินช่วยเหลือภาครัฐในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ที่มีมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาท และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศในไตรมาส 4 ที่มีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ในปี 2564 จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (จาก พ.ร.ก. เงินกู้ที่เหลืออยู่ราว 2 แสนล้านบาท) และกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายในเรื่องความต้องการในประเทศที่เริ่มแผ่ว การสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลกระทบจากการว่างงานและอัตราหนี้สิน
วิจัยกรุงศรีฯ ได้เพิ่มคาดการณ์การเติบโตของภาคส่งออกปีนี้ เป็น -7.5% จาก -12.5% และคาดว่าปีนี้การส่งออกจะขยายตัว 4.5% เนื่องจาก 1. ความต้องการสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เวชภัณฑ์ และสินค้าที่เกี่ยวข้องการ WFH และ 2. สัญญาณการฟื้นตัวตามวัฏจักรของภาคการผลิตทั่วโลก
โดยองค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่า การเติบโตของการส่งออกสินค้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.2% ในปี 2564 จากที่ประมาณ -9.2% ในปี 2563 นอกจากนี้ยังมีโอกาสขยายตัวเพิ่ม เนื่องจากอาเซียนกำลังขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคมากขึ้น
วิจัยกรุงศรีฯ เพิ่มคาดการณ์อัตราการเติบโตของการลงทุนภาคเอกชน เป็น -11% ปีนี้ และคาดการณ์ว่าปีหน้าจะเติบโต 3.2% จากสัญญาณการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก นอกจากนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคการผลิตหลายแห่งเพิ่งถึงระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด ซึ่งจะนำไปสู่การขยายการลงทุน
วิจัยกรุงศรีฯ เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของการลงทุนภาครัฐปีนี้ เป็น 12.5% และคาดการณ์การเติบโตในปี 2564 ที่ 10.5% เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล
ทั้งนี้ แม้จะมีการปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจของเรา แต่เราเห็นว่าการเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามวัฏจักรจะถูกควบคุมโดยแรงขับเคลื่อนในประเทศประเทศเป็นหลัก ซึ่งการที่เศรษฐกิจพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูง กำลังสร้างความเสียหายให้กับภาคธุรกิจและการหารายได้
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เปราะบาง อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของเฟด อาจจะชี้นำให้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ตลอดปี 2564
นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ยังต้องดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่ม และต้องตรงเป้าหมาย
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์