×

คุยกับ คงกระพัน อินทรแจ้ง ซีอีโอคนใหม่ ปตท. “โลกที่แข่งขันสูง เราต้องกล้าที่จะปรับ เปลี่ยน ทบทวนให้เร็ว และต่อยอดในสิ่งที่ถนัด”

17.06.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MIN READ
  • อ่านมุมมองพร้อมเปิดวิสัยทัศน์ ‘คงกระพัน อินทรแจ้ง’ ซีอีโอคนใหม่ของ ปตท. ที่มาพร้อมคอนเซปต์ ‘TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND SUSTAINABLE WORLD’ อาจจะไม่หวือหวา แต่จะเน้นการเติบโต สร้างสมดุลระหว่างกำไรและความยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายของสงครามการค้า (Trade War) และภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)
  • เดือนสิงหาคม ทบทวนแผนกลยุทธ์ธุรกิจ 5 ปี (ปี 2568- 2572) พร้อมแอ็กชันแพลน Revisit แต่ละกลุ่มธุรกิจเดิม ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน และกลุ่มธุรกิจใหม่ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), ยา และโลจิสติกส์ 
  • ปตท. พร้อมรับลูกนโยบายรัฐ PDP 2024 และแผนพลังงานชาติ ผลักดันการใช้ไฮโดรเจนในประเทศ และหนุนไทยเดินหน้าสู่เป้า Net Zero

“เราต้องบริหารธุรกิจแบบยั่งยืนทุกมิติ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เมื่อก่อนก็ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ราคาพลังงานแพงขึ้นถึง 10 เท่า วันนี้โลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันสูง ไทยไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่ จึงต้องบาลานซ์ธุรกิจให้สมดุล ไม่มองแค่กำไรระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องบาลานซ์ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”

 

คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คนที่ 11 เปิดวิสัยทัศน์ครั้งแรกถึงทิศทางการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

 

จาก Powering Life with Future Energy and Beyond สู่ 

TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND SUSTAINABLE WORLD 

วิชั่นใหม่ที่จะเน้นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 

ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจโลก, Trade War และ Geopolitics

 

การเข้ารับตำแหน่งใหม่วาระ 4 ปีจากนี้ คงกระพันวางเป้าหมายและมีวิสัยทัศน์อย่างไรบ้าง THE STANDARD WEALTH ชวนอ่านมุมมอง

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 

 


 

รู้จักปรับตัวตลอดเวลา

 

เราต่างต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยน บริบทการทำธุรกิจย่อมเปลี่ยนแปลงตาม เมื่อภารกิจและบทบาทของกลุ่ม ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ นั้นจะต้องรักษาการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราตั้งเป้าที่จะเติบโตทั้งในประเทศและแสวงหาการเติบโตในระดับโลกในระยะยาว

 

ท่ามกลางความท้าทาย เราต้องบริหารธุรกิจแบบยั่งยืนในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่กับการรักษาต้นทุนพลังงานที่เหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญและต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 

 

“ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งราคาพลังงานในยุโรปก็แพงขึ้นเป็น 10 เท่า แล้วยังมีปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองโลกที่เป็นตัวแปร”

 

ขณะที่ทิศทางโลกที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เราก็ต้องดำเนินธุรกิจที่สร้างกำไรอย่างเหมาะสม ควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน 

 

สร้างกำไรระยะยาว

 

ดังนั้นการวางแผนธุรกิจในกลุ่ม ปตท. จากนี้จะต้องมองการ ‘สร้างกำไรในระยะยาว’ เพราะต้องสร้างสมดุลระหว่างผู้ถือหุ้น สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กล่าวคือ เราจะต้องทำธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยมีบริบทด้านสังคมควบคู่ที่จะช่วยธุรกิจรายย่อยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจในภาพรวมเติบโต ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ อันเป็นผลพลอยได้ที่จะตามมา 

 

“ผมจึงมองในมิติที่ว่า การลงทุนของเราจะเน้นความคล่องตัว”

 

หมายความว่า เราต้องเน้นความเร็วและการตัดสินใจที่ไว ขณะเดียวกันเราก็ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน นำทรัพยากรที่มีมาใช้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม 

 

“พูดง่ายๆ เลยก็คือ ธุรกิจไหนดีต้องต่อยอด ถ้าธุรกิจไหนที่เคยดีแต่ตอนนี้ไม่ดี ก็ต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนและทบทวนได้เร็ว”

 

ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ เพื่อสร้างความร่วมมือและก่อเกิดเป็น Synergy ทางธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้เป็นรูปธรรม 

 

ไม่หวือหวา แต่ขอเติบโตแบบยั่งยืน 

 

คงกระพันบอกอีกว่า “ธุรกิจเราอาจจะไม่หวือหวา แต่จะเน้นการเติบโต สร้างสมดุลระหว่างกำไรและความยั่งยืน” โดยทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Direction and Strategy) เน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593

 

โดย ปตท. มีธุรกิจไฮโดรคาร์บอนและพลังงานเป็นธุรกิจหลัก ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และปิโตรเคมี รวมถึงจะมีธุรกิจสีเขียวที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนและเสริมธุรกิจหลัก

 

“ธุรกิจไฮโดรคาร์บอนต้องเติบโตคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยเราจะยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้แข็งแรง และปรับ Portfolio โดยหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ พร้อมต่อยอดสร้างการเติบโตในเรื่องที่ถนัด”

 

 

ปรับพอร์ต เน้นต่อยอดธุรกิจที่ถนัด 

นำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้

 

ปรับพอร์ต ต่อยอดธุรกิจไฮโดรคาร์บอน เป็น 2 กลุ่มหลัก 

 

Upstream & Power ได้แก่ ธุรกิจสำรวจและผลิต ด้วยการสร้างความต่อเนื่อง มั่นคงทางวัตถุดิบ และจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ที่มีต้นทุนต่ำ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจที่ต้องมีความ Competitive และ Lean พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้

 

โดยเน้นการสร้างผลตอบแทนที่ดีและสร้างการเติบโตของไฮโดรคาร์บอนควบคู่กับการทำ Decarbonization แสวงหาทางเลือกอื่นทั้ง Gas Pipe และ LNG และมีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมทั้งต้อง Alignment การทำงานร่วมกับภาครัฐ

 

ขณะเดียวกันแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นั้นจะเน้นใน 2 เรื่องหลัก นั่นก็คือ การปลูกต้นไม้และลงทุนเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน (CCS) ภายใต้บริษัทลูก ปตท.สผ. 

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีการใช้ในต่างประเทศแล้วในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แม้ไทยยังมีต้นทุนการลงทุนสูงประมาณ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เราต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะต้องคำนึงกฎระเบียบและข้อจำกัด แต่นี่คือแนวทางที่เราจะผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมและรักษาประโยชน์ของประเทศ 

 

นอกจากนี้ ปตท. ยังได้เข้าไปลงทุนในแหล่งไฮโดรเจนในต่างประเทศ เพื่อศึกษาและเรียนรู้เทคโนโลยี อาทิ พื้นที่ตะวันออกกลาง หากเริ่มมีความคุ้มค่า เราก็พร้อมเดินหน้า ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่จะส่งเสริมให้นำไฮโดรเจนมาผสมรวมในท่อส่งก๊าซธรรมชาติ รวมถึงจะขยายการใช้ไฮโดรเจนไปสู่ธุรกิจ Mobility โดยจะหาพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

 

ดัน Decarbonization & Net Zero โตทั้งในและต่างประเทศ

 

ส่วนธุรกิจไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงและรักษาความพึ่งพาได้ให้กับกลุ่ม ปตท. พร้อมกับการจัดหาพลังงานสะอาด เพื่อช่วย Decarbonization & Net Zero ของกลุ่ม ปตท. และแสวงหาโอกาสสร้างการเติบโตทั้งในและต่างประเทศ

 

สำหรับธุรกิจ Downstream ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นต้องสร้างความแข็งแรงให้มากขึ้น ต้องคำนึงด้าน Cost & Feedstock Flexibility ต้องมีการพัฒนา Synergy และการดำเนินธุรกิจทั้งกลุ่ม ปตท. 

 

ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกเราจะมุ่งเน้น ‘การลงทุนที่เป็นเนื้อเป็นหนัง’ รวมทั้งมีความสำคัญต่อผลประกอบการและสังคม โดยใช้จุดแข็งของระบบนิเวศที่มีให้เกิดประโยชน์และธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 

 

 

ทบทวนกลุ่มธุรกิจที่มีอยู่เดิม ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน 

รวมทั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), ยา และโลจิสติกส์ 

หาจุดแข็งและสร้างความแตกต่าง

 

ทบทวนธุรกิจทั้งห่วงโซ่ (Value Chain) 

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจ Non-Hydrocarbon ต้องปรับตัวตามเมกะเทรนด์ของโลก ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV), ธุรกิจสุขภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพและดิจิทัล ซึ่งเทรนด์นี้จะอยู่กับเราไป 30 ปี ทำให้เราจะต้องมีการทบทวนธุรกิจห่วงโซ่ (Value Chain) ด้วยแนวคิดที่ว่า 

 

“ธุรกิจใดมีความน่าสนใจ มีอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. รวมถึงประเทศไทย ที่สามารถเป็นจุดแข็งและสร้าง Synergy กับกลุ่ม ปตท. ซึ่งเราจะต้องหา Right to Play ต้องหาจุดแข็งเพื่อสร้างความแตกต่างและหาจุดยืนในห่วงโซ่ธุรกิจ ส่วนธุรกิจ Industrial AI ต้องยกระดับ ขยายผลทั้งกลุ่ม ปตท. ช่วยให้ธุรกิจเดิมเข้มแข็ง และต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่”

 

ผ่านทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. 5 แนวทาง ดังนี้ 

 

  • ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิ (Competitiveness Enhancement: Existing Business) ทำธุรกิจให้แข็งแรง ปรับ Portfolio โดยหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ พร้อมต่อยอดสร้างการเติบโตในเรื่องที่ถนัด
  • สร้างการเติบโตและหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ (Growth: New Business & Opportunity)
  • สร้างความชัดเจนในแนวทางความยั่งยืน (Sustainability) ทุกมิติ ปรับ Portfolio การลงทุน และปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น
  • สร้างปัจจัยที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม (Enablers for Transformation) 
  • รักษาพื้นฐานสำคัญ มุ่งเน้นธรรมาภิบาลและการกำกับกิจการที่ดี บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล ยึดถือ Way of Conduct อย่างเคร่งครัด 

 

เล็งทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจตามแผนการลงทุน 5 ปี

 

สำหรับแผนการลงทุนของ ปตท. คงกระพันระบุว่า เดือนสิงหาคมนี้จะมีการพิจารณาแผนการลงทุนของทั้งกลุ่ม โดยเตรียมทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจตามแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2568-2572) 8.9 หมื่นล้านบาทตามกรอบแผน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก 

 

โดยจะมีการ Revisit แต่ละกลุ่มธุรกิจ ทั้งกลุ่มธุรกิจที่มีอยู่เดิม เช่น ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน รวมทั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV), ยา และโลจิสติกส์ 

 

 

ทบทวนแผนกลยุทธ์ธุรกิจตามแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2568-2572) 

ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม พร้อมพาองค์กรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 

ผลักดัน GDP ปี 2567 ถึงเป้าหมายของรัฐบาล 3% 

 

“ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปตท. ต้องปรับตัวและมีความคล่องตัว กลุ่มไหนเติบโตก็เดินหน้าต่อ กลุ่มไหนคู่แข่งเยอะ แข่งขันรุนแรง ก็อาจพิจารณา ทบทวน และหาวิธีถอยอย่างชาญฉลาด”

 

พร้อมหาพาร์ตเนอร์ ซึ่งหลังพิจารณา ‘Revisit’ จึงจะจัดทำแอ็กชันแพลน และจะประกาศแผนช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 

 

หนุนนโยบายรัฐ PDP 2024 และแหล่งก๊าซ OCA

 

ต่อคำถามที่ว่า ท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและโลกในปัจจุบันที่ยังไม่ฟื้นตัวนั้น ปตท. ในฐานะบริษัทชั้นนำของไทย จะมีส่วนผลักดันประเทศอย่างไร คงกระพันย้ำว่า “วันนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนก็ไม่สามารถคาดเดาราคาได้ ปตท. จะเน้นบริหารจัดการต้นทุน ช่วยเหลือประชาชนด้วยการพยายามควบคุมราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเราพร้อมพาองค์กรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้ GDP ปี 2567 ถึงเป้าหมายของรัฐบาล 3% ผ่านการสร้างรายได้และกำไร พร้อมส่งรายได้เข้ารัฐเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ” 

 

พร้อมทั้งจะผลักดันความร่วมมือในการสำรวจปิโตรเลียมในแหล่งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (OCA) หากมีนโยบายมาก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐ เนื่องจากเป็นเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

 

“ตลอดจนสนับสนุนนโยบายแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP 2024) ภายใต้แผนพลังงานแห่งชาติ ซึ่งจะส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้มากขึ้นตามสัดส่วนที่คาดว่ารัฐจะปรับเป็น 51%” คงกระพันกล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X