×

Kirin ประกาศ ‘ยุติการร่วมลงทุน’ ในโรงเบียร์สองแห่งที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ หลังเกิดรัฐประหาร

05.02.2021
  • LOADING...
Kirin ประกาศ ‘ยุติการร่วมลงทุน’ ในโรงเบียร์สองแห่งที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ หลังเกิดรัฐประหาร

Kirin เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเบียร์และบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นบริษัทแห่งแรกของแดนซามูไรที่ตัดสินใจยุติการร่วมทุนกับบริษัทในเมียนมา ซึ่งถูกระบุว่า เจ้าของคือกองทัพเมียนมาที่เพิ่งโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของออง ซาน ซูจี พร้อมส่งมอบอำนาจให้กับนายพลระดับสูง และประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปีทำให้เกิดการประณามจากนานาประเทศ

 

การกระทำของกองทัพ “ขัดต่อมาตรฐานและนโยบายสิทธิมนุษยชนของเรา” ผู้ผลิตเบียร์กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ (5 กุมภาพันธ์) ”จากสถานการณ์ปัจจุบันเราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยุติการเป็นหุ้นส่วนร่วมทุนในปัจจุบันกับ Myanmar Economic Holdings Public Company (MEHL) เราจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้การยุตินี้มีผลบังคับใช้”

 

บริษัทญี่ปุ่นถือหุ้นใหญ่ในโรงเบียร์เมียนมาและโรงเบียร์มัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกับ MEHL ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นกองทุนสวัสดิการสำหรับทหารของเมียนมา

 

“เราตัดสินใจลงทุนในเมียนมาในปี 2015 โดยเชื่อว่าธุรกิจของเราจะสามารถมีส่วนร่วมในเชิงบวกต่อประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศได้เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการทำให้เป็นประชาธิปไตย” Kirin กล่าว

 

Kirin เข้าซื้อหุ้น 55% ในโรงเบียร์ด้วยราคา 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2015 เพื่อรักษาฐานที่มั่นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโต ก่อนโอนหุ้น 4% ให้ MEHL ในปี 2017 แม้เมียนมาจะคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 5% ของยอดขายเบียร์ทั่วโลกของ Kirin แต่เป็นหนึ่งในตลาดเบียร์ที่เติบโตไม่กี่แห่งของ Kirin เนื่องจากยอดขายในตลาดบ้านเกิดอย่างญี่ปุ่นยังคงหดตัวเนื่องจากประชากรสูงอายุ

 

การเข้าถือหุ้นของ Kirin เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนจากต่างประเทศหลายพันล้านดอลลาร์ ซึ่งไหลบ่าเข้ามาในประเทศด้วยการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศบางส่วน ต่อมาในปีนั้นพรรคของซูจีชนะการเลือกตั้งฟรีครั้งแรกในรอบ 25 ปี 

 

ทว่าก่อนการรัฐประหารเมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มต่างๆ เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เรียกร้องให้ Kirin และบริษัทอื่นๆ ตัดความสัมพันธ์กับ MEHL

 

ภารกิจของสหประชาชาติในการตรวจสอบการสังหารโหดกับชาวโรฮีนจาในเมียนมารายงานในปี 2018 ว่า การทำธุรกิจกับ MEHL และ Myanmar Economic Corp. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กองทัพเป็นเจ้าของอีกแห่งมีความเสี่ยงสูงที่จะมีส่วนต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อเผชิญกับแรงกดดันดังกล่าว Kirin จึงว่าจ้างผู้ตรวจสอบบุคคลที่สามเพื่อตรวจสอบธุรกิจ ก่อนที่จะกล่าวในเดือนมกราคมว่า การสอบสวน ‘สรุปไม่ได้’ ว่าใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากผลกำไรของ MEHL บ้าง 

 

Human Rights Watch กล่าวว่า การประกาศของ Kirin คือ “สิ่งที่รอคอยมานาน แต่ยินดีสำหรับความเคลื่อนไหว” Teppei Kasai เจ้าหน้าที่โครงการเอเชียขององค์กรกล่าวว่า “บริษัทต่างชาติอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับทหารเมียนมาควรดำเนินตามรอย Kirin โดยเร่งด่วนและโปร่งใส”

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X