×

KBTG กับพันธกิจลมใต้ปีกครั้งใหญ่ ขับเคลื่อนคนเทคผ่านการสนับสนุนทุนวิจัย ‘KBTG Fellowship’ สำหรับ MIT Media Lab [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
12.07.2022
  • LOADING...
KBTG

HIGHLIGHTS

3 mins. read
  • KBTG ประกาศสนับสนุนทุนวิจัย KBTG Fellowship ครั้งแรกสำหรับ MIT Media Lab พร้อมเปิดตัว ‘KBTG Fellow’ พัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยคนแรกในสาขา Fluid Interfaces 
  • KBTG ยังได้ชื่อว่าเป็น Tech Company ของไทยเจ้าแรกที่ริเริ่มใช้แนวทางนี้ในการให้ Fellowship กับ MIT Media Lab
  • เรืองโรจน์และทัดพงศ์ สองหัวเรือใหญ่ของ KBTG บอกว่า การสนับสนุนทุนวิจัยแบบ Fellowship ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางสร้าง ‘คน’ ในแบบ KBTG ด้วยการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ตามพันธกิจหลักในการเป็นลมใต้ปีกที่ต้องการสนับสนุนคนไทยให้ไปได้ไกลที่สุด

หลัง KBTG ได้เข้าร่วม MIT Media Lab Research Consortium เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยด้านบริการทางการเงินยุคอนาคต (Next Generation Financial Services) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมเปิดตัว ‘KBTG Fellow’ พัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยคนแรกในสาขา Fluid Interfaces ยิ่งทำให้พันธกิจหลักของ KBTG ที่เคยวางตัวเองเป็นลมใต้ปีก สนับสนุนคนไทยให้ไปได้ไกลที่สุด ชัดเจนขึ้น

 

MIT Media Lab 

 

สำหรับ KBTG แล้ว ในฐานะ Tech Company การสร้างโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีด้วยเครื่องมือทุกมิติ เป็นภารกิจที่ KBTG ทำมาโดยตลอด เป้าหมายที่จะสร้างเทคโนโลยีที่เป็น Deep Tech Product ก็ส่วนหนึ่ง แต่การจะสร้างสรรค์โซลูชันที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งมาจาก ‘คน’ 

 

KBTG เองก็ทำให้เห็นมาตลอดว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการสร้างคนมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแคมป์และเทรนนิ่งพนักงานใหม่ๆ ของบริษัทด้วยการทำคอร์สสอนความรู้เฉพาะทางในสายงานต่างๆ หรือการมอบทุนการศึกษา เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากร

 

เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

 

ดังนั้นการร่วมมือกับ MIT Media Lab ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยแบบ Fellowship แก่นักศึกษาวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของ MIT Media Lab ซึ่งจะถูกเรียกว่า KBTG Fellow ในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางสร้างคนในแบบ KBTG เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาพัฒนาชีวิตมนุษย์ สอดคล้องกับภารกิจของบริษัทในการเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยีชั้นนำของภูมิภาค


เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า การได้เป็น Researcher Partner กับ MIT Media Lab ครั้งนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของ KBTG “เราเป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวในไทยที่ได้ส่งนักวิจัยไปทำงานร่วมกับ MIT Media Lab สิ่งที่เกิดขึ้นมันกำลังจะบอกว่า บริษัทไทยก็สามารถสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยชั้นนำที่สร้างเทคโนโลยีต่างๆ มากมายให้กับโลกได้เช่นกัน” 

 

ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director, KASIKORN Labs, KBTG

 

ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director, KASIKORN Labs, KBTG อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุน Fellowship ที่จัดให้อยู่ในประเภททุนวิจัยระดับปริญญาโท-เอกที่อเมริกาว่า “คนไทยจะคุ้นเคยกับทุนประเภท Assistantship เช่น ทุน TA หรือ Teaching Assistant คือให้ทุนเรียนและต้องทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอนด้วย และทุน RA หรือ Research Assistant โดยผู้ขอทุนต้องเป็นผู้ช่วยวิจัยในหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมาจากอาจารย์หรือบริษัทผู้ให้ทุน แต่ทุน Fellowship เป็นทุนวิจัยแบบอิสระที่ไม่มีข้อผูกมัด เพราะเป็นการให้ทุนที่ทาง MIT จะคัดเลือกผู้รับทุนที่มีคุณสมบัติและหัวข้อการวิจัยที่สอดคล้องกับบริษัทผู้ให้ทุน และได้รับความเห็นชอบจากบริษัทผู้ให้ทุน แม้ Fellowship จะเป็นทุนที่ให้เพื่อสนับสนุน แต่ข้อแตกต่างจากทุน RA คือคนที่ได้รับทุนจะมีอิสระในการทำวิจัยเนื้อหาต่างๆ”

 

พัทน์ ภัทรนุธาพร นักศึกษาปริญญาเอก สาขา Fluid Interfaces ‘KBTG Fellow’ คนแรกของไทย

 

“เราเลือก พัทน์ ภัทรนุธาพร ซึ่งเป็นนักศึกษาไทยระดับปริญญาเอก สาขา Fluid Interfaces คนแรกที่ MIT Media Lab ให้เป็น ‘KBTG Fellow’ นอกจากนี้พัทน์จะร่วมทำวิจัยกับนักวิจัยอีกท่านที่ทาง KBTG จะส่งไปร่วมงานที่ MIT Media Lab ในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ AI และ UX/UI คาดว่าความร่วมมือด้านการวิจัยนี้จะเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน 2565”

 

KBTG ยังเป็น Tech Company ของไทยเจ้าแรกที่ริเริ่มใช้แนวทางนี้ในการให้ Fellowship กับ MIT Media Lab โดยมีระยะเวลา 2 ปีในช่วงแรก และอาจได้รับการต่ออายุตามข้อตกลงระหว่าง KBTG และ MIT Media Lab 

 

“สำหรับขั้นตอนการแต่งตั้ง KBTG Fellow จะดำเนินการโดย MIT Media Lab และตามความยินยอมของ KBTG โดยผู้ที่จะได้รับการพิจารณาและมีสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow จะต้องเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ MIT, ทุนหลังปริญญาเอก, รองดุษฎีบัณฑิต, นักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยหรือตำแหน่งเทียบเท่า โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะผลิตผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย และพันธกิจของ KBTG ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเสนอประโยชน์ในวงกว้างสำหรับประเทศไทยและสังคมไทย” เรืองโรจน์เล่าเสริม

 

ใครที่เกาะติดการขยับตัวของ KBTG คงพอรู้ว่าหน่วยงานที่เกิดมาเพื่อเป็นลมใต้ปีกยังให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรสายเทคตลอดมา อาทิ โครงการ ‘Tech Kampus’ ที่จับมือกับ 2 หน่วยงานรัฐ และอีก 7 มหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนการวิจัย ต่อยอดเทคโนโลยี พัฒนาหลักสูตรการศึกษาสายเทค ให้กับภาคการศึกษาและภาคธุรกิจไทย เพื่อปั้นบุคลากรไอทีเข้าสู่วงการเทคโนโลยีไทยและส่งออกไปตลาดต่างประเทศ 

 

เพราะเรืองโรจน์เชื่อเสมอว่า การศึกษาที่ดีและโอกาสควรจะมาพร้อมกัน นั่นเป็นเหตุผลที่ KBTG ให้ความสำคัญด้านการศึกษา เช่น การเปิด Bootcamp ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนฟรี หรือการจัดงาน KBTG Inspired ที่จัดเป็น Mini Bootcamp ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีไปจนถึง Project Management ล่าสุดยังเปิด Java Software Engineering Bootcamp ก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างมาก

 

 

“ในอนาคต การศึกษาโดยเฉพาะสายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัว สเตปต่อไปของ KBTG หลังจากที่เราไปเรียนรู้กับ MIT แล้ว ก็จะนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาพัฒนา เรายังมีแผนที่จะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ส่วนตัวมองว่าตอนนี้ประเทศไทยยังขาด Tech Talent กว่าแสนตำแหน่ง และหลังโควิดเราจะเริ่มเห็นการกลับมาของ Startup Ecosystem ดังนั้นทั้งบริษัทใหญ่ที่จะต้องทำ Digital Transformation และ Startup Ecosystem จะเติบโตอีกครั้ง ประเมินจากเงินลงทุนใน Tech Startup ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีที่ผ่านมาสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะทุกคนมองว่านี่คืออนาคต จึงมีความต้องการของ Tech Talent อีกมหาศาล ดังนั้นโมเดลที่จะเกิดขึ้นคือ มหาวิทยาลัยจะปรับตัวและร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ สร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนา Tech Talent ให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

 

“ฝั่งบริษัทเอกชนที่ทำเรื่อง Ed-Tech ก็จะเติบโตอีกมาก มีหลายบริษัทที่ KBank ลงทุนร่วมพัฒนาหลักสูตร MicroLearning ด้าน Tech Skill ในขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องเริ่มทำเรื่อง Reskill-Upskill เพื่อพัฒนาพนักงานให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงขององค์กรในอนาคต” 

 

ทัดพงศ์เชื่อว่า ปัจจุบันการศึกษามองแยกเป็นภาคส่วนไม่ได้อีกต่อไป ต้องมองเป็น Agile มากขึ้น “จากเดิมรอให้นักศึกษาเรียนถึงปี 3-4 ถึงมีโอกาสฝึกงานกับบริษัท จากนี้เราจะเข้าไปอยู่กับพวกเขาตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น KBTG ได้ส่งนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เข้าไปในหลายมหาวิทยาลัย เพื่อแนะนำและแนะแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมจากการสอนเรื่องทฤษฎี 

 

“เราอยากให้โอกาสคนไทยและเปลี่ยนประเทศไทย โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือนอกเหนือไปจากการสร้างเทคโนโลยี เป็นความฝันของ KBTG ที่ต้องการสนับสนุนคนไทยให้ไปได้ไกลที่สุด เชื่อว่าสิ่งที่เราทำจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้บริษัทใหญ่ๆ ลงมือช่วยกันทำต่อ เมื่อไรที่ทุกคนช่วยกัน ประเทศไทยจะเปลี่ยนไปได้ และนี่คืออีกหนึ่งพันธกิจหลักในการสร้างการศึกษาให้กับประเทศไทย” เรืองโรจน์กล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising