Kantar เผยรายงาน Brand Footprint Thailand 2023 นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความยืดหยุ่นและความคล่องตัวของแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย
ผลลัพธ์เหล่านี้มาจากข้อมูล Consumer Reach Points (CRPs) หรืออัตราการเข้าถึงผู้บริโภค โดยวิเคราะห์มากกว่า 570 แบรนด์ FMCG สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภค 26.4 ล้านครัวเรือนในประเทศไทย
ข้อมูลดังกล่าวเสมือนตัวชี้วัดความสำเร็จของแบรนด์ CRPs โดยวิเคราะห์จากจำนวนประชากร การเจาะตลาด และทางเลือกของผู้บริโภค ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคเลือกซื้อแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งบ่อยเพียงใด จึงเกิดอันดับแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในตลาด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ไขปริศนากำลังซื้อของผู้ใช้ใน ‘ภาคอีสาน’ กับการใช้จ่าย 1,000-7,000 บาท เพื่อช้อปผ่าน TikTok ในแต่ละเดือน
- ผู้เปลี่ยนเกมแห่งศตวรรษที่ 21: อิทธิพลที่ไม่เคยมีมาก่อนของ Gen Z ต่อธุรกิจ
- บทพิสูจน์แอปน้องใหม่ ‘Threads’ จะสร้างอิทธิพลทางการตลาดได้มากแค่ไหน? เมื่อแบรนด์สินค้าต่างรีบลงทะเบียนรับกระแสที่กำลังมาแรง
ลึกเข้าไปแม้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่อำนาจการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงถูกท้าทายจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายประการ เช่น การลดลงของเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2022 จำนวน 48% ของครัวเรือนระบุว่า สถานการณ์ทางการเงินของพวกเขาแย่ลงกว่า 12 เดือนที่ผ่านมา ด้วยการเงินของผู้บริโภคที่รัดกุมยิ่งขึ้น รายงานนี้จึงแสดงให้เห็นแบรนด์ที่ดำเนินกลยุทธ์ได้ถูกต้อง โดยถูกเลือกจากผู้บริโภคมากขึ้น แบรนด์ที่ปรับตัวจะเติบโตในช่วงเวลาที่ดีและท้าทาย
ในบรรดา 425 แบรนด์ที่มี Penetration 1% หรือสูงกว่านั้น มีเพียง 160 แบรนด์ หรือ 38% ที่ Consumer Reach Points (CRPs) หรืออัตราการเข้าถึงผู้บริโภค เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 73% ของอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจาก 160 แบรนด์นั้นมาจาก Penetration ที่สูงขึ้น
สำหรับรายชื่อสุดยอดแบรนด์ผู้บริโภคไทย Brand Footprint Thailand 2023 Awards ประกอบไปด้วย
Most Chosen Brands รางวัลแบรนด์ยืนหนึ่งที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด
แบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2022 ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG
– Mama 168 ล้านครั้ง (Food)
– Nescafé 119 ล้านครั้ง (Beverage)
– Lay’s 129 ล้านครั้ง (Snack (OOH))
– Dutch Mill 152 ล้านครั้ง (Dairy)
– Hygiene 115 ล้านครั้ง (Home Care)
– Colgate 97 ล้านครั้ง (Personal Care)
– Garnier 38 ล้านครั้ง (Beauty)
Top Growing Brands รางวัลแบรนด์ดาวรุ่งที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตสูงสุด
แบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตมากที่สุดในปี 2022 ในแต่ละกลุ่มและหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ FMCG
– Mitr Phol 63 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 9.6 ล้านครั้ง (Food)
– Betagan 40 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 7.3 ล้านครั้ง (Beverage (OOH))
– Tasto 26 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2 ล้านครั้ง (Snack (OOH))
– Dutchie 34 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 3.4 ล้านครั้ง (Dairy)
– Hygiene 115 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 8.5 ล้านครั้ง (Home Care)
– Jula’s Herb 15 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 4.4 ล้านครั้ง (Personal Care) *วิเคราะห์จาก Household Panel
– Jula’s Herb 19 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 5.1 ล้านครั้ง (Skin Care) *วิเคราะห์จาก Beauty Panel
– Srichand 2 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 7 แสนครั้ง (Makeup) *วิเคราะห์จาก Beauty Panel
Top Outstanding Brands รางวัลแบรนด์ม้ามืดที่มีความโดดเด่น
รางวัลนี้จะอิงโดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภคในปี 2022 ซึ่ง Kantar มองเห็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคเริ่มกลับมาทำกิจกรรมนอกบ้าน
– Singha 27 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 11 ล้านครั้ง (Carbonated Soft Drink – หมวดหมู่ที่มี Penetration มากที่สุดและเติบโตมากที่สุดในกลุ่ม Beverage (OOH))
– Redbull 9 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.7 ล้านครั้ง (Sport & Energy Drink – หมวดหมู่ที่เริ่มกลับมาเป็นเทรนด์หลังการล็อกดาวน์)
– Nivea 5 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านครั้ง (Sun Protection – หมวดหมู่ที่มีการเติบโตของอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุดในกลุ่ม Personal Care)
Top Outstanding Retailer รางวัลค้าปลีกที่มีความโดดเด่น
Online Pure Player เป็นช่องทางที่มีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคสูงที่สุดในการจับจ่ายทางออนไลน์ (Online Shopping) ทั้งหมดในปี 2022
– Lazada 8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 3 ล้านครั้ง (Online Pure Player)
Most Resilient Brands รางวัลแบรนด์ที่ปรับตัวต่อตลาดได้ดีที่สุด
แบรนด์ที่มีการเพิ่ม Penetration หรือการเจาะตลาดได้มากที่สุดในบรรดาสินค้า FMCG ทั้งหมดในปี 2022
– Kuma ครอง 10.3% Penetration เพิ่มขึ้น 6.5 Points หรือเจาะตลาดเพิ่มราว 1.7 ล้านครัวเรือน
อย่างไรก็ตาม รายงานของ Kantar ย้ำว่า แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ด้านราคาและนำเสนอความคุ้มค่า เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคยังสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของตนได้ ในขณะที่ผู้บริโภคไทยมีความคล่องตัวทางการเงินมากขึ้น แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่งผลให้การใช้จ่ายโดยรวมลดลง
เพื่อกระตุ้นอัตราการเข้าถึงผู้บริโภค แบรนด์ต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับบทบาทของผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์คือ การติดตามข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้นำหน้าตลาดอยู่เสมอ