×

K-Pop สร้าง ‘เงิน’ ให้เกาหลีใต้มากแค่ไหน

25.08.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 Mins read
  • รายได้จากการขายซีดี ตั๋วคอนเสิร์ต สตรีมมิงมิวสิก หรือสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพุ่งสูงขึ้นเท่าตัว และในช่วงปีที่ผ่านมาก็สามารถสร้างเงินได้สูงถึง 5.3 ล้านล้านวอน
  • รวมถึงค่าลิขสิทธิ์และการตลาดที่ช่วยกระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมอีก 1 ล้านล้านวอน
  • ชินฮยองกวัน รองประธาน CJ E&M เผยว่า เค-ป๊อปกำลัง “มองหาโมเมนต์ ไมเคิล แจ็คสัน ในแบบฉบับของเราเอง” โดยสื่อถึงปรากฏการณ์ที่ MTV ทำให้ราชาเพลงป๊อปดังก้องโลกในปี 1982 จากเพลง Thriller

     อุตสาหกรรมเพลงเกาหลีใต้แพร่กระจายไปทั่วโลก

     ตั้งแต่ปี 2009 สถิติการค้นหาเค-ป๊อปเริ่มปรากฏมากขึ้น และบูมอย่างหนักในช่วงปี 2011-2012

 

 

     ขณะที่ ‘Gangnam Style’ เป็นสัญญาณการเปิดทางของเทรนด์เกาหลีฟีเวอร์ หรือ ‘ฮัลรยู’ ในตะวันตก ที่ดังถึงขั้นไปปรากฏตัวในรายการ The Ellen DeGeneres Show

     เค-ป๊อปกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่ามหาศาลให้เกาหลีใต้

 

 

     ตั้งแต่ปี 2013 รายได้จากการขายซีดี ตั๋วคอนเสิร์ต สตรีมมิงมิวสิก และสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพุ่งสูงขึ้นเท่าตัว ในช่วงปีที่ผ่านมาก็สามารถสร้างรายได้สูงถึง 5.3 ล้านล้านวอน

     ส่วนค่าลิขสิทธิ์และการตลาดก็ช่วยกระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมอีก 1 ล้านล้านวอน

     มีคนเข้าชมผลงานศิลปินเค-ป๊อป 200 อันดับแรกในปีก่อนถึง 24,000 ล้านวิว และผู้ชม 80% ไม่ได้มาจากเกาหลีใต้ ซึ่งยอดนี้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2012

     บริการสตรีมมิงมิวสิกต่างๆ ไม่ว่าจะ Apple Music หรือ Spotify ก็มีช่องสำหรับเค-ป๊อป

     โดย Spotify เผยว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีคนฟังสตรีมเพลงเกาหลีมากขึ้นเท่าตัว ซึ่งผู้ฟัง 1 ใน 4 เป็นชาวอเมริกัน

     ส่วน QQ Music ยักษ์ใหญ่ในจีนที่มีคนใช้งานนับ 100 ล้านคนต่อวัน คน 11 ล้านคนติดตามบอยแบนด์ชื่อก้องโลกอย่าง BIGBANG จนกลายเป็นอันดับหนึ่งในแอปฯ

เราไม่ได้มีภาพว่าจะสร้างศิลปินเดี่ยวเพื่อกวาดเงินมหาศาล แต่เราต้องการทำให้ผู้คนทั่วโลกรับวัฒนธรรมเกาหลีไปโดยไม่มีการต่อต้าน

 

     กระแสเกาหลีฟีเวอร์ หรือฮัลรยู ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้แบรนด์อย่าง Samsung, Tony Moly และ Bibigo ติดตลาดต่างประเทศ

     อย่าง Samsung ที่เอาวง Wanna One มาร่วมโฆษณา Samsung Pay หรือตัวท็อปอย่าง จีดรากอน ที่มาร่วมไลน์แฟชั่นของ Chanel

 

 

     บริษัท Amazon หรือ McDonald’s ที่เป็นสปอนเซอร์ให้เทศกาลดนตรีเค-ป๊อป ในอเมริกา รวมถึงงานคอนเสิร์ต KCON ก็ถูกจัดขึ้นตามเมืองใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ปารีส, โตเกียว, เม็กซิโก ซิตี้, อาบูดาบี, ลอสแอนเจลิส หรือนิวยอร์ก

 

 

     ส่วนด้านการท่องเที่ยวก็เติบโตขึ้น เทียบระหว่างปี 2011 และปี 2016 เพิ่มสูงถึง 76% โดยชาวจีนเพิ่มขึ้น 3 เท่า และชาวอเมริกันเพิ่มขึ้น 31%

     ชินฮยองกวัน รองประธาน CJ E&M เผยว่า เค-ป๊อปกำลัง “มองหาโมเมนต์ ไมเคิล แจ็คสัน ในแบบฉบับของเราเอง” โดยสื่อถึงปรากฏการณ์ที่ MTV ทำให้ราชาเพลงป๊อปดังก้องโลกในปี 1982 จากเพลง Thriller

     “เราไม่ได้มีภาพว่าจะสร้างศิลปินเดี่ยวเพื่อกวาดเงินมหาศาล แต่เราต้องการทำให้ผู้คนทั่วโลกรับวัฒนธรรมเกาหลีไปโดยไม่มีการต่อต้าน” ชินกล่าว

 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X