×

‘ญี่ปุ่น’ เผยหนี้ระยะยาวพุ่งทุบสถิติ 1,000 ล้านล้านเยน ผลจากวิกฤตโควิด ทำภาระการคลังย่ำแย่หนัก

11.05.2022
  • LOADING...
ญี่ปุ่น

‘ญี่ปุ่น’ เผยหนี้ระยะยาวของรัฐบาลปี 2021 พุ่งแตะระดับ 1,017 ล้านล้านเยน ทุบสถิติสูงสุดระลอกใหม่ พิษจากวิกฤตโควิด ทำภาระการคลังย่ำแย่สุดในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก

 

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า หนี้ระยะยาวของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2021 ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ระลอกใหม่ที่ 1,017 ล้านล้านเยน หรือราว 270 ล้านล้านบาท นับเป็นการปรับตัวทุบสถิติสูงสุดระลอกใหม่ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 18 ท่ามกลางต้นทุนสวัสดิการความมั่นคงที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาประชากรสูงอายุแต่อัตราการเกิดต่ำ และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไปเพื่อรับมือกับวิกฤตการระบาดของโรคโควิด

 

รายงานระบุว่า ยอดหนี้ระยะยาวซึ่งไม่รวมพันธบัตรบางประเภท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 44 ล้านล้านเยนจากปีก่อนหน้า ซึ่งการขยายตัวของหนี้ทำให้เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกอย่างญี่ปุ่น อยู่ห่างไกลจากการฟื้นตัวทางการเงินการคลัง และยังถือว่าอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ที่สุดในหมู่ประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก 

 

ทั้งนี้ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยอดหนี้ระยะยาวของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสองเท่าอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่พุ่งแตะ 500 ล้านล้านเยนเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2002 โดยกระทรวงการคลังญี่ปุ่นประเมินว่า เมื่อรวมกับหนี้ระยะยาวคงค้างของรัฐบาลท้องถิ่นประมาณ 193 ล้านล้านเยน หนี้ทั้งหมดของญี่ปุ่นน่าจะอยู่ที่ระดับ 1,210 ล้านล้านเยน 

 

หากพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็จะหมายความว่า พลเรือนญี่ปุ่นแต่ละคนจะต้องแบกรับภาระหนี้คนละ 9.66 ล้านเยน (ราว 2.5 ล้านบาท) 

 

รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าจำนวนหนี้ครึ่งหนึ่งมาจากนโยบายซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามแนวทางการฟื้นเศรษฐกิจของอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่เรียกกันว่า อาเบะโนมิกส์

 

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมีแนวโน้มที่จะกดดันญี่ปุ่นมากขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ ทาง BOJ ก็ยังคงเดินหน้าซื้อพันธบัตรจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ใกล้ศูนย์

 

ขณะเดียวกัน ทาง Global Times รายงานว่า รัฐบาลจีนได้จัดทำแผนมาตรการเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศให้ถึงระดับประมาณ 22 ล้านล้านหยวน (3.28 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นระยะเวลาแผนห้าปีฉบับที่ 14 (2021-2025) ตามแผนพัฒนาฉบับใหม่

 

โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แผนดังกล่าวจะมีความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอย่างก้าวกระโดดในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจที่แท้จริง ตั้งแต่การดูแลสุขภาพไปจนถึงภาคการเกษตร 

 

ด้านคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ซึ่งเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจชั้นนำของจีนระบุว่า เป้าหมายการพัฒนาของอุตสาหกรรมชีวเศรษฐกิจของจีนจะ “เข้าสู่ขั้นตอนใหม่” ในขณะที่สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจชีวภาพใน GDP จะมีการเติบโตที่มั่นคง นอกจากนี้ จีนสมควรเห็น “การเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” ในบริษัทชีวเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่อปีกว่า 10,000 ล้านหยวน 

 

อ้างอิง: 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising