×

ประชากรเด็กญี่ปุ่นลดต่ำลงเป็นปีที่ 37 ติดต่อกัน รัฐบาลเร่งทุ่มงบจูงใจให้มีลูกมากขึ้น

08.05.2018
  • LOADING...

สังคมญี่ปุ่นกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ อัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้จำนวนประชากรเด็ก (ที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี) ลดต่ำลงอย่างมากเป็นปีที่ 37 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 1981

 

จากการเปิดเผยข้อมูลของกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารครั้งล่าสุด พบว่า ปัจจุบันญี่ปุ่นมีจำนวนประชากรเด็กเพียง 15.53 ล้านคน (เด็กผู้ชาย 7.95 ล้านคน เด็กผู้หญิง 7.58 ล้านคน) ลดลงจากปีที่ผ่านมาถึง 170,000 คน จากประชากรทั้งหมดราว 123 ล้านคน

 

ในบรรดาประเทศกว่า 32 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 40 ล้านคน ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสัดส่วนของประชากรเด็กต่ำที่สุดราว 12.3% ซึ่งต่ำกว่าจีน (16.8%) สหรัฐอเมริกา (18.9%) รวมถึงอินเดีย (30.8%)

 

ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีซินโซ อาเบะ ต่างพยายามเร่งสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้แต่ละครอบครัวมีลูกเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งเป้าให้ผู้หญิงญี่ปุ่นแต่ละคนมีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ 1.8% ภายในปี 2060 โดยเพิ่มขึ้นจาก 1.45% ในปี 2015 หลังกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า หากมาตรการต่างๆ ไม่บรรลุผล อัตราการเกิดไม่เพิ่มสูงขึ้น จำนวนประชากรญี่ปุ่นอาจลดต่ำลงถึง 86.74 ล้านคน ในปี 2060

 

จำนวนประชากรเด็กในญี่ปุ่นเคยพุ่งสูงสุดถึง 29.89 ล้านคน ในปี 1954 และกลับมาบูมอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 1970 ก่อนจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยโตเกียวเป็นเพียงจังหวัดเดียวของญี่ปุ่นที่มีจำนวนประชากรเด็กเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา

 

คริสโตเฟอร์ วูด หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ลงพื้นที่ศึกษาอัตราการเกิดในญี่ปุ่น โดยเฉพาะบนเกาะนากาโนะชิมา (Nakanoshima) ในจังหวัดโอซาก้าพบว่า พ่อแม่จะได้รับเงินสนับสนุนการมีบุตรคนแรกจากรัฐประมาณ 100,000 เยน (ราว 30,000 บาท) และจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐสูงถึง 1 ล้านเยน (ราว 300,000 บาท) หากครอบครัวนั้นตัดสินใจมีบุตรคนที่ 4 ส่งผลให้อัตราการเกิดของประชากรในเมืองนี้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจาก 1.66% เป็น 1.80% ในช่วงปี 2014-2015 ที่ผ่านมา

 

นอกจากงบประมาณทางด้านเงินทุนแล้ว รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการจัดสรรสวัสดิการ Childcare โอกาสทางการศึกษา เงื่อนไขที่ดีในการทำงาน รวมถึงดึงดูดนักลงทุนและแรงงานต่างชาติ ไปพร้อมๆ กับการลดช่องว่างที่เกี่ยวข้องกับอคติทางเพศในการทำงานอีกด้วย

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X