ญี่ปุ่นกำลังต่อสู้กับแนวโน้มที่อาจมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่ออนาคตของประเทศนั่นคือ การที่กลุ่มคนหนุ่มสาวยังไม่มีลูก อันเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์
ตามรายงานของสถาบันวิจัยประชากรและความมั่นคงทางสังคมแห่งชาติของญี่ปุ่น มากถึง 42% ของผู้หญิงที่เกิดในปี 2005 ยังไม่มีลูก ขณะที่เปอร์เซ็นต์จะยิ่งสูงขึ้นในผู้ชาย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะยังไม่ได้แต่งงานมากกว่าผู้หญิง รายงานคาดการณ์ว่าผู้ชายอายุ 18 ปีมากถึงครึ่งหนึ่งจะไม่มีลูก
เทรนด์นี้ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป กำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของการไม่มีบุตรเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีสาเหตุมาจากค่านิยมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการที่ผู้คนต้องการเติมเต็มตนเอง ซึ่งได้รับความสำคัญเหนือโครงสร้างครอบครัวแบบดั้งเดิม
ในประเทศทางตะวันตก ประมาณ 10-20% ของผู้หญิงที่เกิดในปี 1970 ยังคงไม่มีบุตร ขณะที่ในญี่ปุ่น ตัวเลขนี้อยู่ที่ 27% หากระดับปัจจุบันยังคงอยู่ในฝั่งตะวันตก อัตราของญี่ปุ่นอาจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งสะท้อนถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
ในขณะที่ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการเติบโตของครอบครัว ผ่านนโยบายส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ผู้คนจึงมีลูกอย่างน้อย 1 คน
แต่ญี่ปุ่นยังคงต่อสู้กับปัญหานี้ มีความพยายามในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลี้ยงดูบุตร เช่น การปฏิรูปรูปแบบการทำงาน แต่คนหนุ่มสาวในญี่ปุ่นเริ่มสนใจการแต่งงานและมีลูกน้อยลง ท่ามกลางค่าจ้างที่ไม่ได้ปรับขึ้นมานานและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตที่หยั่งรากลึก
การสำรวจภาวะเจริญพันธุ์แห่งชาติของสถาบันในปี 2022 พบว่า จำนวนคนหนุ่มสาวที่ยังไม่แต่งงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความคิดที่จะอยู่เป็นโสดตลอดชีวิต
ความสนใจในชีวิตครอบครัวที่ลดลงนี้กำลังสร้างผลกระทบ ด้วยจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่นอาจเผชิญความท้าทาย นอกจากในประเทศญี่ปุ่น โรงพยาบาลและสถานพยาบาลกำหนดให้สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ค้ำประกัน และอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่มีญาติที่จะเช่าบ้าน
ทาคาชิ โอชิโอะ ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสังคมและศาสตราจารย์แห่งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งมหาวิทยาลัยฮิโตสึบาชิ เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการหารืออย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมให้แก่ผู้ที่ไม่มีครอบครัว
อ้างอิง: