วันนี้ (20 กุมภาพันธ์) iQIYI แพลตฟอร์มสตรีมมิงวิดีโอชื่อดังจากจีน ประกาศเปิดตัวประสบการณ์เสมือนจริงครั้งใหญ่ในเซี่ยงไฮ้
โปรเจกต์นี้รวมเอาทั้งโรงละครเสมือนจริง ความจริงเสมือน และอุปกรณ์ทางกายภาพเข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่ากำลังเดินหรือขี่เรือและยานพาหนะอื่นๆ ผ่านโลกแฟนตาซีที่เต็มไปด้วยน้ำตก ลมแรง และการระเบิด นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังสามารถยิงลูกศรเสมือนจริงไปที่ ‘ศัตรู’ ได้อีกด้วย
แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกับเครื่องเล่นในสวนสนุก แต่โปรเจกต์นี้ใช้พื้นที่เพียง 300 ตารางเมตรเท่านั้น หรือคิดเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวประมาณ 17.32 เมตร
iQIYI ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Baidu ในบางครั้งได้รับการขนานนามว่าเป็น Netflix ของจีน เนื่องจากแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของจีนดังกล่าวยังขายซีรีส์ทีวีและภาพยนตร์แบบดั้งเดิมให้แก่สมาชิกอีกด้วย และยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Tencent Video, Youku และ Bilibili ของ Alibaba ที่เป็นแอปสตรีมมิงหลักของจีน
iQIYI เรียกโปรเจกต์ใหม่นี้ว่า ‘การเดินทาง 50 นาทีที่น่าตื่นเต้นด้วย VR’ ประสบการณ์นี้อิงจากละครโทรทัศน์เมื่อปี 2021 ของ iQIYI ที่มีชื่อว่า ‘Luoyang’ โดยเป็นฉากในเมืองหลวงของจีนโบราณที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อเรื่อง
ตามรายงานในแอป DianPing ตั๋วมีราคาตั้งแต่ 198-398 หยวนต่อใบ ช่วงเวลาขายเป็นรายชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 10.30-23.30 น. และงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในใจกลางเมืองเซี่ยงไฮ้ และมีกำหนดจัดขึ้นจนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม
Zhang Hang รองประธาน iQIYI ซึ่งเป็นหัวหน้าสตูดิโอ Dreamverse ของบริษัทที่อยู่เบื้องหลังโครงการ VR นี้ คาดว่าประสบการณ์ VR จะสามารถดึงดูดผู้เข้าชมได้ประมาณ 40,000 คนต่อปีในแต่ละร้าน
หากอิงตามราคาตั๋ว นั่นหมายความว่า iQIYI จะสามารถทำเงินได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ต่อปีจากผลิตภัณฑ์ VR อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้จะมีโปรเจคอื่นๆ ออกมาสู่ผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน
Zhang ยังกล่าวว่า โปรเจกต์นี้จะนำเสนอประสบการณ์ VR ในรูปแบบภาพยนตร์ยิ่งกว่าเกมแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ โดยเขากำลังทำงานร่วมกับทีมผู้ผลิตเนื้อหาของบริษัทเพื่อให้มาตรฐานสามารถตอบสนองข้อกำหนดของ VR ได้เช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- รู้จัก AI นักวาดภาพหน้าใหม่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ผู้ถูกเปรียบเปรยว่าเป็น ‘การนำไฟจากพระเจ้าแห่งการสร้างสรรค์มาสู่โลก’ แต่มาพร้อมความเสี่ยงครั้งใหญ่ไม่แพ้กัน
- นักวิจัยจีนเสนอระบบ AI โฉมใหม่ เข้าใจ ‘ความต้องการของมนุษย์’ มากขึ้น ปูทางสู่ความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง
- เหมือนอย่างที่คิดไหม? AI จำลองหน้าตัวละครใน Harry Potter โดยอ้างอิงจากคำบรรยายในหนังสือ
อ้างอิง: