×

IMF ออกแผนปฏิบัติการคริปโต ‘9 ประการ’ เพื่อสร้างความชัดเจนแก่ประเทศสมาชิก ชูข้อแรกชี้ ไม่ควรให้คริปโตชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

24.02.2023
  • LOADING...

IMF ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ 9 ประการ เพื่อเป็นแนวการดำเนินนโยบายสินทรัพย์ประเภท ‘คริปโตเคอร์เรนซี’ ให้แก่ประเทศต่างๆ โดยข้อแนะนำประการแรกคือ ไม่ควรให้สถานะ ‘เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย’ (Legal Tender) แก่คริปโตอย่างเช่น Bitcoin

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า คณะกรรมการบริหารได้หารือเกี่ยวกับเอกสาร ‘องค์ประกอบของนโยบายที่มีประสิทธิภาพสำหรับสินทรัพย์ประเภทคริปโต’ โดยได้ให้คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิก IMF เกี่ยวกับการตอบสนองเชิงนโยบายที่เหมาะสมต่อสินทรัพย์ประเภทดังกล่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


IMF ยังกล่าวในเอกสารอีกว่า ความพยายามนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ หลังจากการล่มสลายของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและสินทรัพย์คริปโตจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

 

โดยคำแนะนำอันดับแรกคือ ‘การปกป้องอธิปไตยทางการเงินและเสถียรภาพ โดยการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกรอบนโยบายการเงิน และอย่าให้สินทรัพย์คริปโตเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการ (Official Currency) หรือเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (Legal Tender) 

 

ย้อนกลับไปเมื่อปลายปี 2021 กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้วิจารณ์เอลซัลวาดอร์ที่ประกาศยอมรับ Bitcoin เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเป็นประเทศแรกของโลก โดยหลังจากนั้นสาธารณรัฐแอฟริกากลางก็ดำเนินการตาม

 

สำหรับคำแนะนำอื่นๆ รวมไปถึงข้อที่ระบุว่า ประเทศต่างๆ ควรจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎระเบียบ รวมถึงการกำหนดวิธีการตรวจสอบผลกระทบของคริปโตต่อเสถียรภาพของระบบการเงินทั่วโลกด้วย

 

โดยสรุปแล้วการประเมินของคณะกรรมการบริหาร IMF กล่าวว่า กรรมการเห็นด้วยกับข้อเสนอและเห็นพ้องว่าการนำสินทรัพย์คริปโตมาใช้อย่างแพร่หลาย ‘อาจบ่อนทำลายประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน’ และเป็นการหลบเลี่ยงมาตรการจัดการกระแสเงินทุน (Capital Flow) ต่างๆ รวมทั้งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงทางการคลังรุนแรงขึ้น

 

แผนปฏิบัติการสำหรับคริปโต 9 ประการ

 

  1. ปกป้องอธิปไตยและเสถียรภาพทางการเงิน ผ่านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกรอบนโยบายการเงิน และไม่ให้สินทรัพย์คริปโตเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการ หรือชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
  1. ป้องกันความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มากเกินไป และรักษาประสิทธิภาพของมาตรการจัดการเงินทุนเคลื่อนย้าย
  1. วิเคราะห์และเปิดเผยความเสี่ยงทางการคลัง และใช้ปฏิบัติทางภาษีที่ไม่คลุมเครือต่อสินทรัพย์คริปโต
  1. สร้างความมั่นคงแน่นอนทางกฎหมาย (Legal Certainty) สำหรับสินทรัพย์คริปโต และจัดการกับความเสี่ยงทางกฎหมาย
  1. พัฒนาและบังคับใช้การกำกับดูแลที่รอบคอบสำหรับผู้มีบทบาทในตลาดคริปโตทั้งหมด
  1. กำหนดกรอบการติดตามร่วมกันระหว่างหน่วยงานในประเทศต่างๆ
  1. จัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับสินทรัพย์คริปโต
  1. ติดตามผลกระทบของสินทรัพย์คริปโตต่อเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ
  1. เสริมสร้างความร่วมมือระดับโลก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและโซลูชันทางเลือกสำหรับการชำระเงินและการเงินข้ามพรมแดน

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X