×

สองแม่ทัพ IBM ฟันธง ธุรกิจไทยหลงทางยุค Digital Transformation ไม่รีบปรับเข็มทิศ มีสิทธิ์ไม่รอด

โดย THE STANDARD TEAM
27.03.2021
  • LOADING...
สองแม่ทัพ IBM ฟันธง ธุรกิจไทยหลงทางยุค Digital Transformation ไม่รีบปรับเข็มทิศ มีสิทธิ์ไม่รอด [Advertorial]

ยุคนี้ไม่ว่าบุคคล องค์กรระดับเล็กไปจนถึงใหญ่ ต่างคุ้นหูกับคำว่า Digital Transformation แต่ยังคงมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก คำถามตัวใหญ่ๆ คืออะไรเป็นสิ่งที่ต้องโฟกัส วันนี้เราพูดคุยกับสองแม่ทัพด้านเทคโนโลยีจาก IBM อย่าง สุรฤทธิ์ วูวงศ์ Country Manager, Technology Group และ รัชนีกร เทวอักษร Country Manager, Technical Sales กับการเผยมุมมองแบบฟันฉับ ฉบับเข้าใจง่าย แต่ความรู้แน่น รับประกัน

 

ความเข้าใจผิดที่ 1: เทคโนโลยีคือจุดศูนย์กลาง แทนที่จะเป็นมนุษย์ในฐานะผู้ใช้งาน

สองแม่ทัพชี้แจงข้อหนักใจแรกที่ทั้งคู่ต่างพบเจอมาผ่านประสบการณ์การทำงานกับกลุ่มลูกค้าธุรกิจมากมาย โดยทั้งคู่ยืนยันว่าเทคโนโลยีจำเป็นต้องมาเสริมความสะดวกสบาย ไม่ใช่ล้ำเส้นเกินความต้องการจริงๆ ของมนุษย์ในฐานะผู้ใช้งานที่เป็นจุดศูนย์กลางอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 

สุรฤทธิ์กล่าวว่า “IBM ทำการศึกษาแล้วค้นพบว่าบางครั้งสิ่งที่ซีอีโอคิดว่าสำคัญ 10 อันดับแรก ในการทำ Digital Transformation ที่จำเป็นต่อการให้บริการผู้บริโภคควรมีอะไรบ้าง เชื่อไหมครับว่าตรงกันข้ามเลยกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ 10 อันดับ บางครั้งสิ่งที่ผู้บริหารคิดอยู่รั้งท้ายเลยด้วยซ้ำ เรื่องนี้จึงมีความย้อนแย้งกันอยู่

 

“วันนี้ทุกคนต้องการความสะดวกสบายและรวดเร็วสุดๆ แต่กลายเป็นว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้สวยหรูเกินไป ทำให้ผู้บริโภคต้องยุ่งยากเพิ่มขึ้น อย่างแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันอยู่ แม้จะมีดีไซน์สวยงาม แต่หลังบ้านไม่ได้ถูกปรับการใช้งานให้ดีขึ้นตาม ต้องผ่านขั้นตอนมากมายเหมือนเดิม ประสบการณ์ของผู้บริโภคก็ไม่ได้รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้พวกเขาเลย

 

“ทุกวันนี้เราจึงต้องคิดโดยใช้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางก่อน (Customer Centric) มีการใช้กระบวนการ Design Thinking ว่าในการใช้งานจริงๆ นั้นผู้บริโภคต้องการอะไรบ้าง แล้วจึงนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้” 

 

 

รัชนีกรกล่าวเสริมว่า “พอได้ยินคำว่า Digital Transformation ทุกคนจะพุ่งเป้าไปเลยว่าจะนำเทคโนโลยีที่มีมาทำอะไรดี แทนที่จะตั้งคำถามให้ถูกว่าความจริงผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วค่อยใช้เทคโนโลยีไปตอบโจทย์ตรงนั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นว่าหลายๆ องค์กรไม่ว่าขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เลือกเทคโนโลยีมาใช้ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคจริงๆ แต่กลับเกิดแพลตฟอร์มที่ไม่ถูกต้องเสียมากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการไปเปล่าๆ

 

“ความจริงแล้วสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุดคือความสะดวกสบายด้านการใช้งาน และใช้เวลาให้น้อยที่สุด เช่น การซื้อของ หรือการไปธนาคาร ต้องง่ายและเร็ว แต่การศึกษาชี้ว่าผู้บริหารไม่ได้มองเรื่องพวกนี้มาเป็นอันดับหนึ่ง”

 

ความเข้าใจผิดที่ 2: เทคโนโลยีไร้ขอบเขต และคลาวด์เป็นทุกอย่าง

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเสียหายคือปัญหาการเชื่อมโยงของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ต่างกัน ตลอดจนการใช้คลาวด์ที่จบด้วยปัญหาการล็อกอิน ถ่ายโอนดาต้าจากผู้ให้บริการรายหนึ่งไปสู่รายหนึ่ง ไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หรือแม้แต่การนำข้อมูลลงคลาวด์ที่มีค่าใช้จ่ายยุบยิบ 

 

 

รัชนีกรกล่าวว่า “ในทางเทคนิค การเชื่อมโยงกันของระบบข้อมูลในหลายองค์กรยังเป็น Silo ระบบที่มาจากหลายยุค หลายสมัย หลายยี่ห้อ ไม่สามารถเชื่อมต่อกัน กลายเป็นคอขวด แอปพลิเคชันแต่ละตัวไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้ฟังก์ชันการใช้ต่างๆ ต้องแยกกัน ยกตัวอย่าง แอปพลิเคชันโมบายล์แบงกิ้ง ที่แยกตัวจากเว็บไซต์ ทำให้ระบบไม่สามารถเชื่อมโยงกัน 

 

“โดยการศึกษาส่วนใหญ่อย่างน้อยประมาณ 20-30% เกือบทุกธุรกิจคิดว่าคลาวด์จะช่วยแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ จึงกลายเป็นว่านำส่วนที่ไม่เหมาะสมขึ้นไปจัดเก็บและจัดการบนคลาวด์แทน

 

“เมื่อถึงวันที่ต้องการสเกลหรือเดินหน้าสู่โมเดลธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม ต้องการใช้เทคโนโลยีอย่าง AI บล็อกเชน หรือ Edge ที่ให้บริการอยู่บนคลาวด์ กลับกลายเป็นว่าระบบดาต้าเซ็นเตอร์ดั้งเดิมกับข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ไม่เชื่อมต่อกัน พัฒนาแอปพลิเคชันแต่ละครั้งต้องใช้ทั้งคน เวลา และต้นทุนมหาศาล สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ นำมาสู่ความจำเป็นที่ต้องมีเทคโนโลยีที่เชื่อมระบบทั้งหมดอย่างเทคโนโลยี Cloud Satellite

 

“ที่ผ่านมาหนึ่งในการตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุดของ CIO คือการตัดสินใจว่าข้อมูลใดควรอยู่ในระบบขององค์กร และข้อมูลใดควรได้รับการประมวลผลบนระบบคลาวด์ เช่น ระบบสำคัญที่รองรับการทำธุรกรรมทางการเงินของคนทั้งประเทศ จำเป็นต้องอยู่บนระบบที่มีประสิทธิภาพ เสถียร และปลอดภัยสูงอย่างเมนเฟรม แต่บางแอปพลิเคชันที่อาจต้องใช้ AI ก็ต้องเชื่อมต่อคลาวด์ ฉะนั้นจึงต้องการ Cloud Satellite เพื่อให้ทุกอย่างไร้รอยต่อ องค์กรไม่ต้องปวดหัวหรือแบกค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป”

 

ความเข้าใจผิดที่ 3: คลาวด์ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์

สุรฤทธิ์เน้นย้ำประเด็นเปราะบางท่ามกลางยุค Digital Transformation คือภัยคุกคามเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เพราะต่อให้เทคโนโลยีจะล้ำ มีนวัตกรรมแค่ไหน แต่ทุกวันนี้ข่าวคราวรั่วไหลของข้อมูลดิจิทัลส่วนตัวและดาต้าต่างๆ ยังมีให้เห็น และกำลังกลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายโลกเทคโนโลยีและทุกกลุ่มธุรกิจที่จะต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป 

 

 

“วันนี้องค์กรมองหาความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการคลาวด์เพื่อให้แน่ใจถึงมาตรฐานและบริการที่สอดคล้องกับธุรกิจของตน แต่ปัญหาคือถึงแม้คลาวด์จะมีระบบความปลอดภัย แต่ไม่ใช่ทุกคลาวด์ที่ใช้ระบบ Zero Trust คือไม่ไว้ใจใครเลย แม้แต่ผู้ดูแลระบบ 

 

“ปัญหาที่พบวันนี้มีด้วยกัน 2 ส่วน หนึ่งคือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการกำกับดูแล เช่น ธนาคารพาณิชย์ ประกันภัย หรือโรงพยาบาล พอจะใช้คลาวด์ก็อาจมีส่วนที่ขัดกับข้อบังคับที่กำกับดูแลอยู่ องค์กรกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องใช้คลาวด์เฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมตนเอง เพื่อให้มั่นใจเรื่อง Compliance

 

“สองคือเรื่องของความปลอดภัย เพราะข้อเท็จจริงที่ผ่านมามีข้อมูลรั่วไหลตลอด แต่ไม่ได้ถูกเปิดเผย อย่างบริษัทเครดิตการ์ดดังๆ ของอเมริกาที่กลัวเสียชื่อ เขาก็ยอมจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับผู้ที่เข้ามาขโมยไป ซึ่งตรงนี้นโยบาย Keep Your Own Key ของผู้ให้บริการคลาวด์สำคัญมากๆ เพราะจะทำให้มีแต่องค์กรนั้นๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนได้ อีกสิ่งที่สำคัญสูงสุดคือมาตรฐานความปลอดภัย FIPS 140-2 ระดับ 4 ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสุด เพราะเรื่องความปลอดภัย (Data Privacy) ที่ผิดพลาดคือความเสียหายใหญ่หลวง

 

“ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีที่มีสามารถป้องกันเรื่องนี้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ นวัตกรรมอย่าง Cloud  Satellite จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้”

 

ท้ายสุด ทั้งสุรฤทธิ์และรัชนีกรต่างเห็นพ้องว่านอกจากเทคโนโลยีแล้ว มายด์เซ็ตแบบเดิมๆ และปัญหาเรื่องทักษะที่ปรับไม่ทันสปีดของเทคโนโลยีคือสิ่งที่ทำให้หลายองค์กรไปต่อไม่ถูก คิดใหม่แต่ทำไม่ได้ พัฒนาคนเท่าไรก็ไม่ทันเทคโนโลยี และสิ่งนี้เองเป็นอีกส่วนที่เทคโนโลยี Cloud Satellite จะเข้ามาช่วยได้

 

[Advertorial]

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X