×

HSBC เปิดตัวกองทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ ลุยปล่อยกู้ให้ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลในอาเซียน

28.03.2024
  • LOADING...
HSBC

HSBC ตั้งกองทุนพิเศษรูปแบบใหม่ ASEAN Growth Fund ปล่อยกู้ธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในอาเซียน หลังเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก ปี 2566 มีมูลค่า 2.18 แสนล้านดอลลาร์

 

จอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงปลายปี 2566 ธนาคารเอชเอสบีซี เปิดตัว ASEAN Growth Fund เป็นกองทุนสินเชื่อวงเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 36,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นกองทุนพิเศษรูปแบบใหม่ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นกลุ่มอีคอมเมิร์ซกับมาร์เก็ตเพลส ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว

 

โดยเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตรวดเร็วที่สุดของโลก โดยในปี 2566 มีมูลค่า 2.18 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 7.95 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะขยายตัวแตะ 6 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 21.9 ล้านล้านบาท ภายในปี 2573 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 16% ต่อปี

 

“ธนาคารเอชเอสบีซีมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเฟื่องฟูและเติบโตอย่างรวดเร็ว”

 

ทั้งนี้ ในปี 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มธนาคารเอชเอสบีซี รวมถึงธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย สามารถทำกำไรออกมาได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ยากมากสำหรับการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สำหรับการที่เอชเอสบีซีมุ่งเน้นให้ความสำคัญและสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ถือเป็นกลุ่มแพลตฟอร์มและเป็นทิศทางของธุรกิจที่ถูกต้อง

 

Direction ยังไม่ทำ Virtual Bank

 

ด้าน จอร์โจ กัมบา กล่าวต่อว่า กรณีที่ประเทศไทยจะมีการเปิดให้ผู้สนใจยื่นขอใบอนุญาตธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) มองว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ดีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องนี้ เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มีโอกาสเข้าถึงบริการทางเงินเพิ่มขึ้นผ่านช่องทาง Virtual Bank พร้อมทั้งคาดว่าน่าจะเป็นปัจจัยที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในระยะถัดไป

 

“เอชเอสบีซีมี Direction ในการทำธุรกิจค่อนข้างจะชัดเจนว่า ณ ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เราจะเข้าไปทำในด้านของ Virtual Bank อย่างไรก็ตาม เราก็จะคอยสังเกตการณ์และคอยดูโอกาสในอนาคตต่อไป”

 

แทรกรูป

https://drive.google.com/file/d/1cqRKdxFsY2Qjj0QLGXa_r2oUuoq8l50W/view?usp=sharing

บรรยายภาพ: จอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย และ กฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

 

ปล่อยกู้แล้วสัดส่วน 20-30% ของกองทุน

 

ด้าน กฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า การพิจารณาในการปล่อยกู้ของ ASEAN Growth Fund ให้กับลูกค้ากลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล จะพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ใน 2 เรื่องหลัก คือ

 

  1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการทำธุรกิจของลูกค้า
  2. มูลค่ารวมของหลักประกัน (Collateral Pool) และการประเมินกระเงินสดของลูกค้าในอนาคต

 

อีกทั้งธนาคารเอชเอสบีซียังสามารถให้สินเชื่อได้หลายสกุลเงิน เพื่อให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้า

 

โดยหลังจากเปิดตัว ASEAN Growth Fund ช่วงปลายปี 2566 ได้ทยอยปล่อยสินเชื่อไปแล้วสัดส่วนประมาณ 20-30% ของวงเงินสินเชื่อรวม โดยเป็นการให้วงเงินสินเชื่อ 25-100 ล้านดอลลาร์ต่อราย มีระยะเวลาสัญญาอายุเงินกู้ 1-3 ปี มี ตัวอย่างลูกค้า เช่น Shopee กู้เงินไปลงทุนในประเทศไทยกับอินโดนีเซีย

 

อย่างไรก็ดี หากในอนาคตวงเงินของ ASEAN Growth Fund มีการปล่อยกู้เต็มวงเงิน จะมีการพิจารณาถึงผลการตอบรับของลูกค้าอีกครั้ง เพื่อนำมาพิจารณาว่าจะมีการขยายเพิ่มวงเงินกู้สำหรับ ASEAN Growth Fund หรือไม่

 

ส่วนกรณีที่การใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า ASEAN Growth Fund แต่รูปแบบที่ให้บริการคือการปล่อยสินเชื่อและเงินกู้ (Lending) เนื่องจากต้องการสร้างแยกพอร์ตสินเชื่อเพื่อสนับสนุนลูกค้ากลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซกับมาร์เก็ตเพลสให้มีความชัดเจนมากขึ้น

 

โดยผลสำรวจล่าสุดของธนาคารชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจในประเทศไทยมีความมั่นใจว่าภูมิภาคอาเซียนจะมีการเติบโตสูง และมีแผนที่จะขยายธุรกิจไปสู่ตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ในปี 2567 โดยบริษัทไทยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างถึง 89% ระบุว่ามีแผนจะขยายธุรกิจไปสู่ตลาดในอาเซียนเพิ่มขึ้น และ 97% มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับภูมิภาคนี้มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

 

นอกจากนี้บริษัทในไทยยังมองว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับแผนการขยายธุรกิจ โดยเกือบ 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างได้มีการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการนำระบบดิจิทัลมาใช้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยยังถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญอันดับต้นๆ ของการขยายธุรกิจไปยังอาเซียนของบริษัทไทย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising