×

ถอดบทเรียนรถไฟความเร็วสูงไทย: ไม่เปิดประมูล แต่เจาะจงเลือกจีน อำนาจต่อรองก็แทบไม่เหลือ (2)

24.02.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins read
  • การไม่เปิดประมูล แต่เจาะจงเลือกที่จะซื้อรถไฟความเร็วสูงจากจีน ส่งผลให้อำนาจการต่อรองของไทยมีน้อยกว่าที่ควร
  • การเจรจารถไฟไทย-จีน (อย่างเป็นทางการ) ปัจจุบันมีถึง 23 ครั้ง แต่ช่วง 20 ครั้งแรก ไม่เคยมีการพูดถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • การก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เฟสแรก กทม.-นครราชสีมา เราจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีระบบรถไฟน้อยถึงน้อยมาก

หลังจาก ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พาเราไปดูเบื้องหลังการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของจีนแล้ว (อ่านเพิ่มเติม)

 

 

เราพอจะเห็นภาพสรุปได้ว่ากระบวนการจัดซื้อและต่อรองให้ประเทศเจ้าของเทคโนโลยียอมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ถือเป็นเงื่อนไขที่มีนัยสำคัญที่พาจีนไปสู่การพัฒนาจนมาสามารถผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นยี่ห้อของจีนเองได้

 

“สิ่งที่ไม่มีใครเคยให้คำตอบเลยคือ ทำไมเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ต้องให้จีนทำ ทำไมเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ต้องให้ญี่ปุ่นทำ ทำไมทั้งหมดจึงไม่มีการเปิดประมูล ถ้ากระบวนการประมูลแข่งกันมันเกิดขึ้น ไทยก็จะสามารถกำหนดเงื่อนไขได้  เช่น ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย หรือประเทศเหล่านั้นต้องให้ทั้ง 2 โครงการทำงานร่วมกันได้ แบบเดียวกับที่จีนทำให้ทั้ง 4 โครงการทำงานร่วมกัน”

 

เจรจารถไฟไทย-จีน 20 ครั้งแรกไม่มีเรื่องถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

ดร.ประมวล เล่าว่าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญจากเกาหลีใต้ เคยบอกไทยอย่างชัดเจนว่า หากไทยจะทำรถไฟความเร็วสูง ไทยจะต้องเขียนแผนหรือยุทธศาสตร์การเจรจาต่อรองเพื่อให้ไทยสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน ต้องมีแผนงานชัดเจนว่าต้องการเรียนรู้อะไรจากโครงการนี้

 

 

“การถ่ายทอดเทคโนโลยีจะต้องไม่ใช่ของแถม แต่เป็นเป้าหมาย”

 

แต่สิ่งที่ไม่มีใครเคยให้คำตอบเลยคือ ทำไมเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ต้องให้จีนทำ ทำไมเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ต้องให้ญี่ปุ่นทำ

 

ทำไมทั้งหมดจึงไม่มีการเปิดประมูล ถ้ากระบวนการประมูลแข่งกันมันเกิดขึ้น ไทยก็จะสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ เช่น ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย หรือประเทศเหล่านั้นต้องให้ทั้ง 2 โครงการทำงานร่วมกันได้ แบบเดียวกับที่จีนทำให้ทั้ง 4 โครงการทำงานร่วมกัน

 

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการกำหนดเงื่อนไขในการเจรจา แต่พอเราเจาะจงว่าโครงการนี้ต้องจีน โครงการนี้ต้องญี่ปุ่น อำนาจการต่อรองเราก็ลดน้อยลง

 

แม้ปัจจุบันการเจรจาจะถึงครั้งที่ 23 แล้ว แต่การเจรจาประมาณ 20 ครั้งแรกไม่มีเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเลย ทั้งหมดเป็นเพียงการทำโครงการเพียงอย่างเดียว

 

Photo: AFP

 

อำนาจต่อรองน้อย การเรียนรู้เทคโนโลยีก็น้อยตาม

 

ดร.ประมวล อธิบายว่า เนื่องจากมันเป็นการตกลงไปเรียบร้อยแล้วว่าจะซื้อจากจีน และภายใต้เงื่อนไขที่เรากำหนดวงเงินไปเรียบร้อยแล้ว อำนาจการต่อรองเราไม่เยอะเท่าที่เราควรจะมี ดังนั้นการจะเจรจาให้จีนถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ก็จะทำได้ยากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สภาวิศวกรไทยพยายามทำตอนนี้คือให้จีนถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบ และการก่อสร้างควบคุมงานให้ไทย มีการกำหนดให้สอนคนไทยประมาณ 11 หลักสูตร

 

 

สภาวิศวกรอธิบายว่า หลังจบโครงการเฟสที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

 

ในอนาคตซึ่งจะทำเฟส 2 คือ นครราชสีมา-หนองคาย ก็เป็นไปได้ที่การออกแบบเส้นทางนี้อาจจะมีทีมวิศวกรไทยเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น

 

อันนี้ก็ต้องไปติดตามดูว่าสิ่งที่จีนจะถ่ายทอดให้เรา จะพาให้เราไปออกแบบแนวเส้นทางใหม่ๆ ได้หรือไม่

 

ทั้งนี้ แนวเส้นทางการออกแบบงานก่อสร้างเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการ แต่ส่วนสำคัญคือ ตัวระบบรถไฟและระบบไฟฟ้าที่จะติดตั้งไปบนราง ซึ่งส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนที่ในเฟสแรกของโครงการ เราน่าจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีนี้น้อยถึงน้อยมาก

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising