×

‘โกลด์แมน แซคส์’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีนี้เหลือ 5.6% หลังภาครัฐทยอยลดกระตุ้นเศรษฐกิจ การบริโภคเริ่มชะลอ

11.10.2021
  • LOADING...
Goldman Sachs

โกลด์แมน แซคส์ หนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้และปีหน้าลงเหลือ 5.6% และ 4% ตามลำดับ โดยให้เหตุผลว่า เป็นผลจากการที่รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ทยอยปรับลดมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจลง ขณะเดียวกันยังเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มปรับลดพฤติกรรม หันมาประหยัด ชะลอการใช้จ่าย ซึ่งจะกินเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเบื้องต้น 

 

ก่อนหน้านี้ โกลด์แมนได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2021 ไว้ที่  5.7% และ 4.4% ในปี 2022

 

ด้าน Jan Hatzius หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของฝ่ายวิจัยของโกลด์แมนแซกส์ และหนึ่งในสมาชิกทีมวิจัย กล่าวถึงเหตุผลของการหั่นคาดการณ์ในครั้งนี้ว่า เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดที่กินเวลายาวนานกว่าที่คาดไว้ ทำให้การบริโภคภายในประเทศไม่เป็นไปตามเป้า 

 

โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมบริการ โดยยังไม่นับรวมปัญหาขาดแคลนซัพพลาย อย่างเซมิคอนดักเตอร์ที่จะยังไม่ฟื้นตัวจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 ทำให้หลายธุรกิจประสบปัญหากับการเติมสต๊อกสินค้าถึงปีหน้า 

 

นอกเหนือจากสถานการณ์ของโรคโควิดแล้ว โกลด์แมน แซคส์ยังคาดการณ์ว่า การใช้จ่ายในด้านบริการและสินค้าไม่คงทนบางอย่างจะยังคงต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดโรคระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หากหลายบริษัทเปลี่ยนไปใช้แนวทางการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ทำให้คนงานบางคนใช้จ่ายโดยรวมน้อยลง”

 

ทั้งนี้ โกลด์แมนแซกส์ได้ปรับลดประมาณการ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 และไตรมาสแรกปี 2022 จาก 5% ลงเหลือ 4.5% และปรับลดประมาณการในไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 จาก 4.5% ลงเหลือ 4% ขณะเดียวกันยังลดประมาณการการเติบโตของ GDP สหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ปีหน้าลงจาก 3.5% เหลือ 3% 

 

อย่างไรก็ตาม รายได้ปรับเพิ่มประมาณการ การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาส 4 ปีหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.5% มาอยู่ที่ 1.75% 

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X