×

‘ทองคำ’ อีกการลงทุนที่เลือกได้ในสไตล์ที่เป็นคุณ

โดย MAYBANK KIM ENG
19.10.2020
  • LOADING...
ทองคำ ภาพประกอบ

หนึ่งในเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจอย่างมากในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา เรียกได้ว่า (เกือบ) ชนะทุกสินทรัพย์ที่น่าลงทุนในตอนนี้ก็คือ ‘ทองคำ’ ที่นักวิเคราะห์ได้อธิบายที่มาที่ไปของผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ จนทำให้นักลงทุนหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ชนิดนี้มากขึ้น 

 

แต่นอกจากมุมมองว่า ทองคำน่าลงทุนแค่ไหนแล้ว ยังมีคำถามที่ตามมาอีกมากมายที่ควรหาคำตอบให้ได้ก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน เช่น ระหว่าง ‘ทองรูปพรรณ’ กับ ‘ทองคำแท่ง’ จะเลือกลงทุนแบบไหนดี หรือทองคำในประเทศกับทองคำต่างประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งความรู้พื้นฐานเบื้องต้นเหล่านี้จะทำให้นักลงทุนรู้จักสินทรัพย์ชนิดนี้มากขึ้น และช่วยในการตัดสินใจอย่างเหมาะสมก่อนการลงทุน 

 

ทองคำไทยกับทองคำโลกต่างกันอย่างไร

ทองคำในโลกมีการถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น เครื่องมือ, อุปกรณ์ทางการแพทย์, เครื่องประดับ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทองคำเป็นที่นิยมในตลาดการลงทุน เป็นแหล่งลงทุนได้อีกประเภทหนึ่ง 

 

เราสามารถแบ่งความแตกต่างของการลงทุนในทองคำไทยและทองคำโลกได้เป็น 3 ประเด็น คือ

 

  1. ทองคำในตลาดโลกที่ใช้ลงทุนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์ในการซื้อขาย อ้างอิงที่ 99.5% เช่น ที่ CME Group, LBMA เป็นต้น 

 

ขณะที่ทองคำที่ลงทุนในไทยจะมีความบริสุทธิ์ในการซื้อขายสินทรัพย์ทองคำอยู่ที่ 96.5% ทั้งทองรูปพรรณและทองคำแท่ง นี่จึงเป็นความแตกต่างแรกของทองคำไทยกับทองคำในตลาดโลก

 

  1. ประเด็นแตกต่างลำดับถัดมาคือ ‘น้ำหนักทองคำ’ โดยการกำหนดหน่วยทองคำของทองคำโลกใช้ปริมาตร ‘ออนซ์’ ซึ่งเป็นการย่อคำจาก Troy Ounce (ทรอยเอาซ์) ส่วนเมืองไทยจะเรียกหน่วยทองคำไทยว่า ‘บาท’ 

 

และทองคำ 1 ออนซ์ จะเท่ากับทองคำกี่บาท

 

ดังนั้น เรามาเริ่มหาจุดร่วมเพื่อให้ทราบน้ำหนักที่แตกต่างกันนี้ดีกว่า โดยน้ำหนักออนซ์ (หรือ TOz.) เท่ากับ 31.1035 กรัม, บาททองคำไทย เท่ากับ 15.16 กรัม (ทองรูปพรรณ) / 15.244 กรัม (ทองคำแท่ง) 

 

ทำให้ส่วนใหญ่ร้านขายทองคำจึงสรุปเป็นตัวเลขให้เราพอประเมินได้ว่าทอง 1 ออนซ์ จะเท่ากับทองคำประมาณ 2 บาททองคำไทย ซึ่งจุดนี้นักลงทุนจะทราบดีว่านี่คือตัวเลขในเชิงประมาณการ

 

  1. ประเด็นข้อแตกต่างที่ 3 คือ หน่วยเงินซื้อขาย ราคาที่ตกลงซื้อขายกันในตลาดต่างประเทศนิยมใช้ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในขณะที่บ้านเราจะใช้ค่าเงินบาท (THB) 

 

ดังนั้น ปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลต่อการซื้อขายราคาทองคำในประเทศ 

 

บางครั้งปัจจัยนี้ทำให้การลงทุนซื้อขายทองคำทำอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอาจกำไรมากขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าราคาทองในตลาดโลกจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สามารถคำนวณตารางอัตราเปรียบเทียบได้ตามอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละวัน

 

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมีอิทธิพลต่อผลตอบแทนราคาทองคำในประเทศเป็นอย่างมาก เช่น ผลตอบแทนประมาณช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานั้น ราคาทองคำในต่างประเทศทั้ง Gold Spot และ LBMA นั้นต่างปรับตัวลดลงมากกว่าผลตอบแทนการลงทุนทองคำในประเทศไทย หากเราพิจารณาข้อมูลอย่างง่ายจะพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นเช่นนั้นคือการอ่อนค่าของค่าเงินบาท จึงทำให้การแลกเปลี่ยน (คำนวณราคาจากหน่วย USD เป็น THB นั้น) ได้รับผลตอบแทนดีกว่า จึงมาชดเชยการขาดทุนได้บางส่วน (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการลงทุนยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่ต้องพิจารณา) 

 

ข้อมูลนี้สามารถมองเห็นทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกว่าจะยังคงไปต่อ

 

แม้จะย่อลงในช่วงที่ผ่านมา และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่า (ใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ) การเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนทองคำในประเทศไทยน่าจะทำให้ผลตอบแทนดีกว่า (ขึ้นได้มากกว่า / ลงได้น้อยกว่า เพราะมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาช่วยพยุงราคาไว้) 

 

แต่นี่เป็นเพียงสมมติฐานที่คาดการณ์เท่านั้น ซึ่งถ้าหากคาดการณ์ผิดจากตัวอย่างข้างต้น เช่น ผลตอบแทนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่า เนื่องจากเงินบาทแข็งค่า จึงทำให้มุมมองผลตอบแทนการลงทุนทองคำในประเทศไทยได้รับน้อยกว่าการลงทุนในต่างประเทศมาก

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการลงทุนของทองคำแท่ง (GTAGB) กับทองรูปพรรณ (GTAGO) ในประเทศแล้วจะพบว่า ในช่วงที่ผ่านมาทองคำแท่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในหลายช่วงเวลา (บวกมากกว่า แต่ก็ลบมากกว่าในบางช่วงเช่นกัน) ซึ่งกรอบของราคาที่เคลื่อนไหวนี้อาจเป็นเพราะความนิยมหรือราคาที่เหวี่ยงได้มากกว่าเมื่อมีนักลงทุนสนใจมากกว่าก็เป็นได้ 

 

ทางเลือกการลงทุนทองคำในประเทศไทยไม่ใช่มีเพียงทองคำแท่ง / ทองคำรูปพรรณ ที่ต้องซื้อหาจากร้านค้าทองคำเท่านั้น ในปัจจุบันตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเทศไทย หรือ TFEX ที่เป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็มีสินค้าทองคำให้นักลงทุนที่สนใจเลือกซื้อขายอย่างมากมาย หากสนใจทองคำราคาแบบไทย มีคุณสมบัติแบบไทย ความบริสุทธิ์ 96.5% น้ำหนักที่ตกลงซื้อขาย บาททองคำไทย และซื้อขายเป็นเงินบาท ก็มีตัวเลือกอย่างสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) อ้างอิงราคาทองคำแท่งที่ LBMA แต่แปลงค่าความบริสุทธิ์/ราคา เป็นแบบไทย อย่าง GF10 (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อ้างอิงทองคำแท่งที่ความบริสุทธิ์ 96.5% ขนาดน้ำหนักทองคำ 10 บาทต่อสัญญา) ซึ่งจะพบว่า ผลตอบแทนใกล้เคียงกับทองคำแท่งในประเทศ (GTAGB) และมีข้อดีคือ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และ/หรือ ขนย้าย ทั้งยังใช้กระบวนการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือการใช้เงินลงทุนที่จำกัด จากที่ผ่านๆ มาอัตราหลักประกันเพื่อใช้ในการลงทุน ต่อ 1 สัญญา (10 บาททองคำไทย) นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5-10% ของมูลค่าทองคำแท่งที่ซื้อขายแบบ Physical ทั้งนี้ ยังสามารถตกลงซื้อหรือขายก่อนก็ได้แม้ไม่มีสินค้าในมือ

 

นั่นคือ หากเรามองว่าราคาทองคำในอนาคตจะลดลง (ซึ่งราคาปัจจุบันค่อนข้างสูง) ถ้ามีสินทรัพย์ทองคำอยู่เยอะ อาจจะขายตั้งแต่ตอนนี้ แล้วเมื่อราคาลงค่อยซื้อกลับคืนมา ถ้าเราไม่มีทองคำในมือคงทำได้ยาก แต่ด้วยกลไกการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าฯ นั้นทำให้นักลงทุนจะตกลงซื้อก่อนหรือขายก่อนก็ได้ หากมีมุมมองต่อทิศทางราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลง (ตามลำดับ)

 

ไม่ใช่เพียงแต่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นราคาทองคำแบบไทยเท่านั้น ใน TFEX เองยังมีทองคำที่อ้างอิงจากต่างประเทศ (อ้างอิงจาก LBMA) ที่เรียกว่า Gold Online Futures (GO) รูปแบบการซื้อขายคล้ายแบบแรกคือเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการวางหลักประกัน (แทนการชำระเงินเต็มจำนวน / รับสินค้า) และสามารถตกลงราคาซื้อหรือขายก่อนก็ได้เช่นกัน โดยราคาที่ใช้อ้างอิงและความบริสุทธิ์ที่ตกลงราคากันนั้นจะเป็นแบบมาตรฐานของ LBMA คือ ความบริสุทธิ์ที่ 99.5% มีหน่วยตกลงเป็นรูปแบบดอลลาร์สหรัฐ (ตามรูปแบบที่อ้างอิงจาก LBMA)

 

ทั้งนี้ รายละเอียดการลงทุนในทองคำยังมีอีกมาก ทั้งจากกองทุนทองคำและกระบวนการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าใน TFEX ซึ่งการลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน และหากนักลงทุนท่านใดสนใจข้อมูลการลงทุนในทองคำเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้แนะนำการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือติดตามข้อมูลต่างๆ ของบริษัทได้ทาง Facebook.com/maybankke

 

maybank the standard real estate investment

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising