×

ย้อนเรื่องเด่นอภิปรายทั่วไป และอภิปรายไม่ไว้วางใจตลอดรัฐบาลประยุทธ์

15.02.2023
  • LOADING...
อภิปรายไม่ไว้วางใจ

รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในอีกเดือนเศษ ซึ่งตลอดระยะเวลาการเป็นรัฐบาลต้องเจอศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 4 ครั้ง และอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติอีก 3 ครั้ง รวมถึงการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566

 

THE STANDARD ย้อนเรื่องเด่นการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจในแต่ละครั้งที่ผ่านมา

 

 

อภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ

 

 

ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ

 

วันอภิปราย 18 กันยายน 2562 

 

การอภิปรายทั่วไปในครั้งนั้นเป็นการอภิปรายถึงกรณีการถวายสัตย์ปฏิญาณของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ซึ่งกล่าวคำปฏิญาณไม่ครบที่ระบุในรัฐธรรมนูญ หนึ่งในผู้อภิปรายคือ ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส. บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่

 

อภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ 1

 

 

 ปฏิบัติการ IO – ‘มันคือแป้ง’

 

วันอภิปราย 24-27 กุมภาพันธ์ 2563

วันลงมติ 28 กุมภาพันธ์ 2563

 

การถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเผชิญเรื่องใหญ่ 2 เรื่องคือ เรื่องปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ IO ที่อภิปรายโดย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ได้ลุกออกจากห้องประชุมขณะถูกอภิปราย 

 

และวาทะตลอดกาลของ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ถูกอภิปรายถึงคดีในอดีตซึ่งเกี่ยวข้องยาเสพติดในต่างประเทศ แต่ ร.อ. ธรรมนัสกล่าวชี้แจงว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบยาเสพติดของรัฐนิวเซาท์เวลส์อ้างว่าเป็นเฮโรอีน 3.2 กิโลกรัมนั้น ‘มันคือแป้ง’

 

อภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ 2

 

 

ตั๋วช้าง – โควิด

 

วันอภิปราย 16-19 กุมภาพันธ์ 2564

วันลงมติ 20 กุมภาพันธ์ 2564

 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ที่สร้างเสียงฮือฮาคือการอภิปรายของ รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วาง พล.อ. ประยุทธ์ และ พล.อ. ประวิตร กรณีแต่งตั้งตำรวจโดยมิชอบ หรือที่เรียกว่า ‘ตั๋วช้าง’ 

 

และการอภิปราย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยถูกอภิปรายหนักเรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด

 

อภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ 3

 

 

เกมเขย่าเก้าอี้ประยุทธ์ – ปลดธรรมนัสและนฤมล

 

วันอภิปราย 31 สิงหาคม – 3 กันยายน 2564 

ลงมติ 4 กันยายน 2564

 

การอภิปรายครั้งนี้ ไฮไลต์ไม่ได้อยู่ในห้องประชุม แต่คือเสียงอื้ออึงว่ามีการวางแผนล้ม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยจะลงมติไม่ไว้วางใจเพื่อให้พ้นจากตำแหน่ง แต่ทว่า พล.อ. ประยุทธ์ ไหวตัวทัน ลงเอยด้วยการปลด ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลด นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน สังเวยเกมเขย่าเก้าอี้ พล.อ. ประยุทธ์ ครั้งนั้น

 

อภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ

 

 

ค้ามนุษย์โรฮิงญา

 

วันอภิปราย 17-18 กุมภาพันธ์ 2565 

 

การอภิปรายทั่วไปครั้งหนึ่ง รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โดดเด่นอีกครั้ง หลังการอภิปรายเรื่องขบวนการค้ามนุษย์ โดยยกกรณีของ พล.ต.ต. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ซึ่งเป็นอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (รอง ผบช.ภ.8) และอดีตหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ที่ปัจจุบันต้องเป็นผู้ลี้ภัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

 

อภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ 4

 

 

กัญชา – ตั๋วช้างภาค 2 – สปายแวร์ Pegasus

 

วันอภิปราย 19-22 กรกฎาคม 2565

ลงมติในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565

 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 4 เป็นการอภิปรายนโยบายกัญชาของพรรคภูมิใจไทย การเปิดตั๋วช้างภาค 2 โดย รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และการเปิดข้อมูลเรื่องสปายแวร์ Pegasus จากอิสราเอล ซึ่งใช้สอดแนมนักการเมือง นักกิจกรรม ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising