×

ทางรอดธุรกิจร้านอาหาร SMEs เพราะกลยุทธ์ที่ดี ยังดีไม่เท่าการมีพันธมิตรที่อยู่เคียงข้าง [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.06.2021
  • LOADING...
foodpanda

HIGHLIGHTS

  • ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้เหมือนกัน แต่หากมองให้ลึกกว่านั้น ประเภทร้านที่ต่างกันกลับได้รับผลกระทบมากน้อยที่ต่างกันด้วย 
  • ตัวแทน 3 ประเภทธุรกิจอาหาร บอกเล่าผลกระทบที่ได้รับพร้อมวิธีปรับตัวที่อาจช่วยให้ธุรกิจประเภทเดียวกันสามารถนำไปปรับใช้ 
  • foodpanda แพลตฟอร์มชั้นนำด้านการส่งอาหารและของชำแบบออนดีมานด์ของไทย ผู้ที่คอยเป็นกำลังใจสำคัญ ซัพพอร์ตทุกธุรกิจสนับสนุนช่วยเหลือร้านค้าชุมชนให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน ผ่านแคมเปญ #SupportSME ตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้

แม้อาหารจะเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และธุรกิจร้านอาหารก็เป็นบริการพื้นฐานของมนุษย์ แต่ธุรกิจร้านอาหารกลับได้รับผลจากวิกฤตครั้งนี้อย่างหนัก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 คาดมูลค่าธุรกิจร้านอาหารปี 2564 หดตัวร้อยละ 5.6-2.6 ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2  

 

อีกประเด็นที่น่ากังวลคือ แม้วิกฤตครั้งนี้จะส่งผลต่อธุรกิจอาหารในวงกว้าง ทว่า ร้านอาหารแต่ละประเภทกลับได้รับผลกระทบต่างกัน เช่น ร้านอาหารในศูนย์การค้า นอกจากรายได้จะหดหายยังต้องรับภาระค่าเช่า ค่าพนักงาน ยิ่งมีสาขามากก็ยิ่งแบกรับค่าใช้จ่ายประจำที่สูงขึ้น บางธุรกิจถึงกับต้องปิดทุกสาขาเพื่อพยุงลมหายใจสุดท้าย ในขณะที่ร้านอาหารขนาดกลางที่เปิดใกล้แหล่งชุมชน เช่น ร้านอาหารข้างทาง แม้จะกระทบรายได้ แต่ก็ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายหนักๆ ยังถือว่ามีโครงสร้างต้นทุนที่ยืดหยุ่นกว่า  

 

foodpanda

 

แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่จะปรับตัวหันมาเพิ่มช่องทางด้วยการใช้บริการเดลิเวอรีจนกลับมาหายใจได้อีกครั้ง แต่การกลับมาระบาดอีกครั้งเป็นระลอกที่ 3 การประกาศมาตรการห้ามมีการรับประทานอาหารภายในร้าน รวมถึงจำกัดเวลาเปิด-ปิดเหมือนยิ่งซ้ำเติมบาดแผลเดิมๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง 

 

foodpanda แพลตฟอร์มชั้นนำด้านการส่งอาหารและของชำแบบออนดีมานด์ของไทย เล็งเห็นและเข้าใจสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อธุรกิจรายย่อยเป็นอย่างดี และยังตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องสนับสนุนช่วยเหลือร้านค้าชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผ่านโครงการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ค้าขายโดยใช้แพลตฟอร์มเพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ผ่านแคมเปญต่างๆ โปรโมชัน และการมอบโค้ดส่วนลดให้กับผู้ใช้บริการ 

 

foodpanda

 

คุณเอ๋ เจ้าของร้าน I Love Steak ตัวแทนผู้ประกอบการขนาดกลางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนต้องปิดสาขาและปรับรูปแบบธุรกิจ ก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สามารถฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ โดยมี foodpanda คอยซัพพอร์ตอยู่เสมอ

 

“ทำร้านสเต๊กจนถึงวันนี้ก็เกือบ 8 ปีค่ะ เริ่มสาขาแรกจากร้านเล็กริมถนน พอเริ่มขายดีก็ขยับขยายมาเช่าตึกแถวที่ AC Market ไปสักพัก กิจการไปได้ดีก็จดทะเบียนบริษัท เปิดเพิ่มอีก 4 สาขา และเริ่มขายแฟรนไชส์ ทุกอย่างกำลังไปได้ดีจนกระทั่งโควิด-19 รอบแรกมา ตอนนั้นเกือบตั้งหลักไม่ได้ ค่าเช่าตึกเดือนหนึ่งเป็นแสน แต่ขายได้วันหนึ่งไม่ถึง 2,000 บาท จากปกติขายได้วันละ 50,000-60,000 บาท

  

“เจ้าของตึกแนะนำให้ซื้อรถเข็นแล้วไปขายหน้าตลาดโต้รุ่งตอนเย็นแบบ Take Home เราก็ลองเพราะเวลานั้นต้องทำทุกอย่างให้อยู่รอด ลองปรับราคาจากปกติกินที่ร้าน 99 บาท แต่พอเป็น Take Home เหลือ 90 บาท ปรากฏว่า ฟีดแบ็กดี จนตอนนี้กลายเป็นโมเดลใหม่ I love steak take home ขายแบบ Take Home ด้วย และใช้แพลตฟอร์มเดลิเวอรีเข้ามาช่วย

  

“ยังโชคดีที่เราเคยสมัครแพลตฟอร์มกับ foodpanda มาก่อน แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตแต่หยุดไป เพราะชะล่าใจ ตอนนั้นเรามองว่ารายได้หลักคือหน้าร้าน แล้วเดลิเวอรีเราต้องมาเสียค่าธรรมเนียม ตอนนั้นคิดแบบคนที่ยังไม่เข้าใจก็มองว่าไม่คุ้ม พอมาเจอวิกฤตโควิด-19 รู้เลยว่าถ้าไม่มีแพลตฟอร์มเดลิเวอรีมาช่วยซัพพอร์ตเราจอดเลย

 

foodpanda

 

“โควิด-19 รอบที่ 3 เราแกร่งขึ้น กระทบบ้างแต่ไม่เจ็บหนัก ถึงยอดขายหน้าร้านจะยังหายไป แต่เรามีฐานลูกค้าออนไลน์ พอหน้าร้านต้องปิด เราก็อัดโปรโมชัน ซื้อโฆษณา ต้องยกความดีความชอบให้กับทีมงาน foodpanda ที่คอยสนับสนุนและแจ้งข่าวตลอดว่ากำลังจะมีแคมเปญอะไร มีโปรโมชันอะไร ทุกครั้งที่เข้าร่วมเราก็จะเห็นว่าออร์เดอร์มันเพิ่มขึ้นจริงๆ ยอดขายจาก foodpanda บางวันหลักหมื่น ยอดหน้าร้านบางวันแทบไม่มี ถึงอย่างไรยุคนี้การมีช่องทางสร้างรายได้ย่อมดีกว่า เจอวิกฤตถึงจะเจ็บก็ไม่หนัก”

 

คุณเอ๋ยังฝากถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ต้องแบกรับภาระค่าเช่า ค่าพนักงาน ว่าถึงเวลาที่ต้องเปิดใจยอมรับช่องทางใหม่ๆ “อย่ามองว่าเวลาที่คุณขายดีขึ้น ไม่ต้องพึ่งใคร ณ วันหนึ่งเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมา ถ้าคุณสายป่านยาวก็โชคดีไป แต่จะยาวไปได้สักเท่าไร ดังนั้นอะไรที่เข้ามาหา อยากให้เปิดใจยอมรับมันและศึกษา บางร้านคิดว่า foodpanda หักค่า GP หักค่าธรรมเนียม ให้คิดว่าเป็นค่าโฆษณา ค่าการตลาด ค่าเช่าที่ ไม่แน่ว่าช่องทางนี้อาจจะเป็นรายได้อีกทางและอาจจะมากกว่าการขายหน้าร้านในสถานการณ์เช่นนี้” 

 

foodpanda

 

ด้าน คุณวุฒิ เจ้าของร้านหมูปลาร้าสายซิ่ง ร้านดังที่โต๊ะไม่เคยว่าง คนแน่นทุกสาขา แต่หลังจากเจอวิกฤตโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอก กินเวลายาวนานเกือบ 2 ปี คุณวุฒิบอกว่า “เดลิเวอรีคือการต่อลมหายใจของเรา” 

 

“ช่วงธุรกิจกำลังไปได้ดีผมเปิดอยู่ 3 สาขา ตลาดนกฮูก ตลาดมะลิ และตลาดนัดเรือบิน สมุทรปราการทุกสาขาจะเปิดในตลาดไนต์มาร์เก็ตทั้งหมด ผมเริ่มจากสาขาแรกมีแค่ 12 โต๊ะ ขายได้เดือนกว่า ยอดขายก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จนต้องเพิ่มเป็น 50 โต๊ะ ธุรกิจเติบโต จ้างพนักงานเพิ่ม ทำเมนูเพิ่ม แล้วก็เริ่มมีรายการทีวีมาถ่าย มารีวิว”

 

แต่วิกฤตโควิด-19 ทำให้ธุรกิจที่สร้างมาค่อยๆ ล้มลง “วิกฤตรอบแรกเรายังไม่เลิกจ้างพนักงาน เราดูแลหมด 18 ชีวิต ไม่หักเงินเดือน แค่ขยายเวลาไปขาย 24 ชั่วโมง จนกระทั่งมีการประกาศเคอร์ฟิว ทุกอย่างก็โดนบีบ ทำให้จากตอนแรกที่เริ่มหายใจได้บ้าง จนหายใจไม่ออกเลย ก็เริ่มปรับตัวทำโฆษณาในแพลตฟอร์มเดลิเวอรีมากขึ้น ทำโปรโมชันทุกอย่าง เราคิดว่าได้น้อยดีกว่าไม่ได้เลย จนมาถึงระลอก 2 และระลอก 3 อะไรหลายๆ อย่างก็ต้องปรับมากขึ้น เริ่มจากปิดเหลือสาขาเดียว ย้ายมาเปิดที่ตลาด BJ ไนต์มาร์เก็ต ต้องเลิกจ้างพนักงานจาก 18 คน ตอนนี้เหลือแค่ 7 คน เราเห็นพฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนไป คนหวาดกลัวมากขึ้นที่จะออกมากินข้าวข้างนอก และสั่งเดลิเวอรีมากขึ้น ลดคนแล้วก็ต้องลดต้นทุน ลดเมนู เมนูไหนต้นทุนสูงก็ตัดออก ดึงเมนูขายง่ายและราคาไม่แพงมาใส่ในเดลิเวอรี พวกส้มตำ อาหารตามสั่ง จากเมื่อก่อนเราไม่มีก็เพิ่มเข้ามา

 

“เราเป็นร้านแรกๆ ในตลาดไนต์มาร์เก็ตที่ทำเดลิเวอรีอย่าง foodpanda เราเข้าร่วมตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤต ตอนนั้นไม่มีใครคิดหรอกว่าคนจะสั่งเดลิเวอรีกันเยอะ และคนอื่นๆ ก็ไม่สนใจ เพราะมองว่าถูกหักค่า GP มีค่าธรรมเนียม แต่เรากลับมองว่ามันเป็นช่องทางช่วยเพิ่มรายได้ เพราะร้านเราเป็นร้านเปิดโล่ง ฝนตกก็ขายไม่ได้เลย แต่เขายังสามารถเดลิเวอรีไปกินที่บ้านได้นะ  

 

foodpanda

 

“ส่วนตัวผม foodpanda ซัพพอร์ตดีมาก มีทีมงานคอยให้คำปรึกษา แนะนำว่าเราจะต้องทำโปรโมชันอย่างไร ช่วงไหนถึงจะขายดี มันทำให้ยอดขายดีขึ้นจริง โดยเฉพาะออร์เดอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ล่าสุดร้านเราได้รางวัล Rising Star รางวัลดาวรุ่งพุ่งแรง คัดเลือกจากร้านที่มียอดการสั่งซื้อสูงสุดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผมว่าส่วนหนึ่งเพราะเขาช่วยเราโปรโมทและทางเขาเองก็มีโค้ดส่วนลดที่ให้ลูกค้าบ่อย ลูกค้าก็เลยใช้บริการกันเยอะ มันเหมือนเราได้คนทำโฆษณาให้

 

“ยิ่งตอนนี้มีแคมเปญ #SupportSME ลด GP สำหรับพันธมิตรคู่ค้าปัจจุบันในจังหวัดกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี เหลือ 25% ตลอดทั้งแคมเปญ ก็ถือว่าดีมากๆ รวมถึงโค้ดส่วนลด โปรโมชันต่างๆ ในแคมเปญนี้ ก็ทำให้เราได้ลูกค้าใหม่เยอะขึ้น ลูกค้าเดิมก็สั่งเยอะขึ้น ความช่วยเหลือเหล่านี้มันทำให้ร้านเราเดินต่อไปได้” 

 

คุณวุฒิฝากถึงเพื่อนร่วมธุรกิจให้เร่งปรับตัวเพื่อตอบรับการบริโภคของลูกค้า “ผมเชื่อว่าต่อให้สถานการณ์ดีขึ้น เดลิเวอรียังไปต่อได้ จากนี้ไปพฤติกรรมคนจะเปลี่ยน ดังนั้นเราเองก็ต้องปรับตัวเรื่อยๆ อีกหน่อยคงเน้นเดลิเวอรีเป็นหลัก ทางออกของธุรกิจร้านอาหารตอนนี้ เดลิเวอรีเป็นทางออกที่ดีที่สุด”

 

foodpanda

 

คุณตั๊กแตน ทายาทรุ่น 2 ของร้านป้าพักตร์ ผักสด แผงขายผักสดในตลาดต้นพะยอม จังหวัดเชียงใหม่ ที่เปิดมานานกว่า 40 ปี ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน “ปกติเราจะขายปลีกหน้าร้านและส่งให้กับร้านอาหารขาประจำ ช่วงที่เราเข้ามาดูแลร้านแทนคุณแม่ก็เริ่มทำระบบเดลิเวอรีเอง ก็จ้างพนักงานให้ส่งผักตามร้านประจำแต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นระบบจริงจัง เป็นจังหวะเดียวกับที่ foodpanda ติดต่อมา เราน่าจะเป็นร้านแรกๆ ในตลาดสดเลยค่ะ ที่ขายผักแบบเดลิเวอรี ทำตั้งแต่ยังไม่มีสถานการณ์โควิด-19 จากเดิมที่ส่งผักเป็นล็อตใหญ่ให้กับร้านอาหาร ก็ได้ลูกค้าตามบ้านเพิ่มจาก foodpanda  

 

“เราไม่เคยคิดว่าร้านขายผักจะได้รับผลกระทบ เพราะถึงอย่างไรคนก็ต้องซื้อผัก ซื้อของสดไปทำอาหาร ทุกคนต้องกิน แต่พอได้รับผลกระทบจริงๆ แรกๆ ก็ตกใจยอดขายที่เคยได้รับจากร้านอาหารขาประจำก็ค่อยๆ หายไป เพราะบางร้านหยุดให้บริการ รวมถึงลูกค้าที่เคยมาเดินตลาดก็น้อยลง แต่มันมีช่วงที่ประกาศล็อกดาวน์แรกๆ คนเริ่มตุนของจังหวะนั้นเราก็ลงของเยอะ แต่มันก็ขายได้อยู่แค่ช่วงเดียวยอดก็นิ่งอีก จนกระทั่งลูกค้าเริ่มปรับตัวได้ ก็เริ่มสั่งผักผ่านเดลิเวอรีเยอะขึ้น กลายเป็นยอดขายออนไลน์มาช่วยเราไว้

 

“ตอนแรกก็กังวลว่าของสดจะมีลูกค้าสั่งเดลิเวอรีไหมนะ เพราะคนที่จ่ายตลาดจะชอบเลือกผัก เลือกของเอง แต่แพลตฟอร์มของ foodpanda มีช่องทางให้ลูกค้าสามารถชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการได้เลยว่าอยากได้ผักแบบไหน เลยค่อนข้างสะดวก นอกจากจะช่วยดูแลเรื่องการจัดส่งแล้ว ระบบของ foodpanda ก็ดีค่ะ พอลูกค้าสั่งก็พรินต์ออร์เดอร์มาให้เราจัดของ ตอนจัดส่งเราก็จะเช็กของก่อนส่งด้วย ถือว่าช่วยเราได้มาก ร้านค้าเล็กๆ อย่างเราไม่จำเป็นต้องเก่งเทคโนโลยีก็มีพนักงานคอยช่วยเหลือและสอนการใช้งานให้ตั้งแต่เริ่มต้น อย่างที่ร้านเองก็มีทั้งคนสูงอายุกับพนักงานที่ไม่ได้เรียนหนังสือเขาก็ยังสามารถใช้งานได้

 

“ที่ซัพพอร์ตมากๆ คงเป็นเรื่องที่คอยแนะนำให้เราทำโปรโมชันเพิ่มยอดขาย ไม่คิดว่าร้านขายผักจะต้องมีโปรโมชัน แต่พวกโค้ดส่วนลดที่เขาแจกให้มันเพิ่มยอดขายได้จริง เช่น ซื้อครบ 100 บาท ลด 20 บาท ทำให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของบ่อยขึ้น ร้านก็ได้ยอดไปด้วย”   

 

foodpanda

 

คุณตั๊กแตนฝากถึงร้านค้าในตลาดสดที่ยังลังเลว่าจะเข้าร่วมดีหรือไม่ว่า “นี่เป็นเวลาที่ทุกคนต้องปรับตัวแล้ว อย่าลืมว่าเราขายของสดยังไงก็ขายได้ เพราะเป็นวัตถุดิบที่ลูกค้าต้องเอาไปทำอาหาร ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวให้พร้อม ดูแลสินค้าให้ดี และต้องไม่ลืมเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ออนไลน์ยังไงเราก็ต้องเข้าสู่ระบบนี้ ฉะนั้นคนที่เป็นเจ้าของร้านควรจะศึกษาและลองทำ ไม่ว่าวิกฤตไหน ถึงอย่างไรก็รอด”

  

จะเห็นได้ว่า ต่อให้ร้านอาหารแต่ละประเภทได้รับผลกระทบที่ต่างกัน แพลตฟอร์มเดลิเวอรีก็ช่วยซัพพอร์ตธุรกิจได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง foodpanda ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่เคียงข้างซัพพอร์ตช่วยเหลือพันธมิตรผู้ค้าและผู้ประกอบการรายย่อยมานานกว่า 9 ปี และเป็นเจ้าเดียวที่ปักธงให้บริการในไทยครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ จึงสานต่อแคมเปญ #SupportSME ช่วยเหลือ SMEs และผู้ค้าในตลาดสดที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอก 3 ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตครั้งล่าสุดนี้ ลดค่าคอมมิชชันเหลือเพียงร้อยละ 25 ตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายน 2564 คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้กว่า 30,000 ราย พร้อมทั้งงดเก็บค่าคอมมิชชันกับ SMEs และพันธมิตรผู้ค้ารายใหม่ในช่วงเดือนแรกหลังลงทะเบียนเข้าสู่แพลตฟอร์ม foodpanda

 

โครงการ #SupportSME ของ foodpanda ดำเนินการอย่างสอดคล้องกับโครงการส่งเสริมร้านอาหารและร้านค้าชุมชนครั้งที่ 11 โดยกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายใน ปัจจุบัน foodpanda ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 200 ล้านบาทเมื่อรวมกับโครงการช่วยเหลือของ foodpanda ก่อนหน้านี้ เพื่อช่วยเหลือ SMEs และผู้ค้าในตลาดสด ถือเป็นแพลตฟอร์มเดลิเวอรีที่อัดฉีดงบประมาณเรื่องนี้สูงที่สุด

 

ไม่เพียงเท่านั้น foodpanda ยังจัดสรรงบประมาณอีก 40 ล้านบาทในรูปแบบของ Voucher และโปรโมชัน (ซึ่งรวมถึงดีลซื้อ 1 แถม 1 ต่างๆ) เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคร่วมสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นตลอดช่วงแคมเปญ โดยร่วมกับร้านอาหารกว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ 

 

คลิกลิงก์เพื่อดูส่วนลดต่างๆ https://www.foodpanda.co.th/th/contents/deals?r=1 

 

foodpanda โค้ดส่วนลด

 

แคมเปญ #supportSME ของ foodpanda เริ่มแล้ววันนี้ถึง 30 มิถุนายน 2021 SMEs รวมถึงผู้ค้าในตลาดสดสามารถสมัครเข้าร่วมแคมเปญได้ที่เว็บไซต์ restaurant.foodpanda.co.th    

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X