- Moody’s ปรับมุมมองประเทศไทยจาก Stable สู่ Positive พร้อมขยับเรตติ้งสู่ Baa1 หลังรัฐบาลใหม่แถลงนโยบาย โดยให้เหตุผลจากเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งช่วยหนุนการลงทุนสินทรัพย์และทรัพยากรบุคคล และเป็นการหักล้างการชะลอตัวของเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากช่องว่างการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
- สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้สาธารณะไปถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2021 ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากสมาชิกรีพับลิกัน ที่กังวลเกี่ยวกับการพอกพูนของภาระหนี้ อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายนี้ยังต้องรอผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาในสัปดาห์หน้า โดยคาดการณ์ว่าการขยายเพดานก่อหนี้ครั้งนี้จะเพิ่มสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จาก 78% สู่ระดับ 97% ในปี 2029
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแกร่ง ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐานเดือนมิถุนายน ขยายตัว 1.2% ซึ่งสูงกว่าคาดที่ 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน (MoM) ขณะที่ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ 2.06 แสนคน ดีกว่าคาดที่ 2.20 แสนคน และลดลงเมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าที่ 2.16 แสนคน ส่วนเกาหลีใต้ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2 เบื้องต้นขยายตัว 2.1% สูงกว่าคาดที่ 2.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) โดยดัชนีราคาภาคธุรกิจบริการญี่ปุ่นเดือนกรกฎาคมชะลอตัว 0.7% ต่ำกว่าคาด 0.8% เมื่อเทียบรายปี ขณะที่ดัชนีความคาดหวังทางธุรกิจเดือนมิถุนายนของเยอรมนีชะลอตัวต่อเนื่องลงมาอยู่ที่ 92.2 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 94.0 และดัชนีบรรยากาศโดยรวมทางธุรกิจเดือนมิถุนายนชะลอต่อเช่นกัน อยู่ที่ 95.7 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 97.1
- บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรเผย พร้อมทำข้อตกลงใหม่กับสหภาพยุโรปกรณี Brexit แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ เขาจะนำสหราชอาณาจักรแยกตัวจากสหภาพยุโรป (EU) ตามเส้นตายวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งจะเป็นการถอนตัวแบบไร้ข้อตกลง (No-Deal Brexit)
- หุ้น Alphabet, Intel ปรับตัวขึ้นหลังผลประกอบการดีเกินคาด โดย Alphabet บริษัทแม่ Google เสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ ประกาศรายได้ไตรมาส 2 อยู่ที่ 38,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 19% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) ซึ่งสูงกว่าคาดที่ระดับ 38,150 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนกำไรต่อหุ้น (EPS) ขยายตัว 21% เทียบรายปี (YoY) อยู่ที่ 14.21 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ส่วน Intel บริษัทผลิตชิปรายใหญ่จากสหรัฐฯ ประกาศรายได้หดตัว 3% (YoY) อยู่ที่ 16,510 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สูงกว่าระดับคาดการณ์ที่ 15,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านกำไรต่อหุ้น (EPS) เติบโต 2% (YoY) อยู่ที่ 1.06 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น
สภาวะตลาดวานนี้
- หุ้นกลุ่มสายการบินและผู้ผลิตเครื่องบินสหรัฐฯ ฉุดตลาดร่วง โดยราคาหุ้น Boeing ร่วงกว่า 3.6% วานนี้ ฉุดดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรม Dow Jones ลงถึง 89 จุด ขณะที่ตลาดปิดลบ 129 จุด สืบเนื่องจากปัญหาที่ต้องเลื่อนการผลิตเครื่องบินโดยสารตระกูล 737 Max ออกไปจนถึงไตรมาส 4/2562 เนื่องจากต้องรอการตรวจสอบระบบตัวเครื่องจากภาครัฐหลังพบว่ามีปัญหา ส่งผลให้รายได้ไตรมาส 2/2562 หดตัวถึง 35% ขณะที่กลุ่มสายการบินราคาหุ้นพากันร่วงอย่าง American Airlines (-8.4%), Alaska Air Group (-2.7%) และ Delta Airlines (-1.47%) ขณะที่ตลาดหุ้นเยอรมนีกดดันตลาดหุ้นยุโรป จากหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์, ประกันภัย และเคมีภัณฑ์ โดยหนึ่งในหุ้นกลุ่มหลักของตลาดพากันปรับตัวลงมากกว่า 1.5%
- ตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเคลื่อนไหวตามแนวโน้มตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปในวันก่อนหน้า นักลงทุนยังคงต้องติดตามปัจจัยสำคัญทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ หลังมีการส่งผู้แทนพูดคุยกันในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังจับตาแนวโน้มดอลลาร์สหรัฐ หลังดัชนี Dollar Index กลับขึ้นมายืนที่ระดับ 97.5 จุด ส่งสัญญาณอาจกลับมาแข็งค่าต่อ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดีจนอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ หลังตลาดเคยคาดหวังถึง 2 ครั้ง
ยุโรป
- STOXX600 ปิดที่ 389.52 ลดลง 2.22 (-0.56%)
- DAX ปิดที่ 12,362.10 ลดลง 160.79 (-1.28%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7,489.05 ลดลง 12.41 (-0.17%)
- FTSE MIB ปิดที่ 21,903.29 ลดลง 177.03 (-0.80%)
เอเชีย
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,818.00 เพิ่มขึ้น 41.30 (+0.61%)
- KOSPI ปิดที่ 2,074.48 ลดลง 7.82 (-0.38%)
- Shanghai ปิดที่ 2,937.36 เพิ่มขึ้น 14.08 (+0.48%)
- Hang Seng ปิดที่ 28,594.30 เพิ่มขึ้น 70.26 (+0.25%)
- BSE Sensex ปิดที่ 37,830.98 ลดลง 16.67 (-0.04%)
- Nikkei ปิดที่ 21,756.55 เพิ่มขึ้น 46.98 (+0.22%)
- SET ปิดที่ 1,730.90 เพิ่มขึ้น 5.46 (+0.32%)
อเมริกา
- DOW30 ปิดที่ 27,140.98 ลดลง128.99 (-0.47%)
- S&P500 ปิดที่ 3,003.67 ลดลง 15.89 (-0.53%)
- NASDAQ ปิดที่ 8,238.54 ลดลง 82.96 (-1.00%)
Commodities
- ราคาน้ำมัน WTI ปิดที่ 56.02 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.14 (+0.03%)
- ราคาน้ำมัน BRENT ปิดที่ 63.39 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 21 (+0.03%)
- ราคาทองคำ COMEX ปิดที่ 1,414.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 8.90 (-0.63%)
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- BOTSS