×

Brexit ส่อแววเลื่อนอีกครั้ง, จับตา 10 ธนาคารกลางตัดสินใจดอกเบี้ยสัปดาห์นี้: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (21 ต.ค. 2562)

โดย FINNOMENA
21.10.2019
  • LOADING...
FINNOMENA
  • คลังสหรัฐฯ สนับสนุนเพิ่มเงินกองทุน IMF สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ได้รับข้อเสนอที่จะเพิ่มขนาดเงินกองทุนสำหรับการปล่อยกู้ในภาวะวิกฤตจากวงเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเพื่อรักษาทรัพยากรโดยรวมของ IMF มนูชินระบุในแถลงการณ์ถึงคณะทำงานของ IMF ว่า เขาสนับสนุนการเพิ่มเงินกองทุน เพื่อรับประกันว่า IMF ยังคงมีทรัพยากรเพียงพอในการรับมือกับวิกฤตต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะกลาง นอกจากนี้มนูชินยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อลดค่าใช้จ่ายของกองทุน โดยการปรับระบบเงินเดือนและผลประโยชน์ให้ทันสมัย และนำระบบการบริหารความเสี่ยงแบบรวมศูนย์ที่เป็นอิสระมากขึ้นมาใช้

 

  • 9 ธนาคารพาณิชย์ไทย รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 กำไรสุทธิขยับ 1.48% มูลค่า 4.68 หมื่นล้านบาท ขณะงวด 9 เดือนเพิ่มขึ้น 3.92% มูลค่า 1.39 แสนล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมหนุน 4 ค่ายวูบ (กรุงไทย, ทีเอ็มบี, เกียรตินาคิน, แอลเอชแบงก์) เหตุทุกธนาคารให้น้ำหนักรักษาระดับความเพียงพอของเงินกองทุน-กันสำรองหนี้สูญและรับมาตรฐานบัญชี IFRS9 สำหรับธนาคารที่ยังคงรักษาอัตราการทำกำไรได้เพิ่ม นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารทิสโก้ ส่วน 4 ธนาคารมีกำไรสุทธิปรับลดลง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ทีเอ็มบี, เกียรตินาคิน และบริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือแอลเอชเอฟจี ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 4.5% ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 9.6% เป็นผลจากการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวมตามเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ของธนาคาร แม้ว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะปรับลดลง 1.7% ตามการลดลงของสินเชื่อ โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 2.35% และค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง 1.5% สะท้อนถึงวินัยการบริหารค่าใช้จ่ายของธนาคาร

 

  • Brexit ส่อแววเลื่อน หลังสภาลงมติเลื่อนการตัดสินใจ Brexit ด้วยคะแนนเสียง 322 ต่อ 306 เสียง ภายหลังจากที่กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการแยกตัวของสหราชอาณาจักร (Brexit) แต่ต้องผ่านการลงมติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อังกฤษ ต้องการแปรญัตติให้เลื่อนลงมติรับรองข้อตกลงการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) ออกไป จนกว่าจะมีการผ่านร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน ส่งผลให้ บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ต้องดำเนินการส่งจดหมายขอเลื่อนกำหนด Brexit ออกไป 3 เดือน เป็นวันที่ 31 มกราคม 2020 ซึ่งมีสาระสำคัญระบุถึงการที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรยังคงต้องการให้ Brexit เป็นไปตามกำหนดการด้วยข้อตกลงเดิม และยืนยันว่าการเลื่อน Brexit ออกไปอีกเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์

 

  • จับตาตัวเลขเศรษฐกิจประจำสัปดาห์ 1. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) สหภาพยุโรป ถูกคาดว่าจะประกาศออกมาที่ 46.0 จุด ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 45.7 จุด แต่ยังคงอยู่ในแดนหดตัว 2. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เยอรมนี ถูกคาดว่าจะประกาศออกมาที่ 42.0 จุด ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ 41.7 จุด แต่ยังคงอยู่ในแดนหดตัว 3. การตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ 10 ธนาคารกลางทั่วโลก ประกอบไปด้วย 3 ประเทศสำคัญ ได้แก่ จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ซึ่งยังคงถูกคาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม หลังแนวโน้มการเจรจาการคัามีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งลดแรงกดดันเศรษฐกิจ

 

  • คลังเตรียมเดินหน้าลดค่าโอนกระตุ้นเศรษฐกิจ อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผย เตรียมเดินหน้าปรับลดค่าธรรมเนียมการโอน และจำนองเหลือ 0.01% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยการปรับลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเน้นไปที่บ้านและคอนโดมิเนียมราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีเป้าหมายว่าจะกำหนดระยะเวลาช่วยเหลือไม่เกิน 6 เดือน

 

สรุปภาพรวมตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา

  • ตลาดหุ้นจีนปิดตลาดในแดนลบ ดัชนี Shanghai ปิด -1.32% รับตัวเลข GDP ไตรมาส 3 จีน ที่ขยายตัว 6.0% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 6.1% และต่ำที่สุดในรอบ 27 ปี ด้านตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมเคลื่อนไหวในกรอบแคบเนื่องจากไร้ปัจจัยขับเคลื่อน 

 

  • ดัชนี Dow 30 ปิด -0.95% หลังหุ้น Boeing (ปิด -6.79%) ซึ่งมีสัดส่วนในดัชนีถึง 8.72% เปิดเผยรายงานถึงผลกระทบจากปัญหาขัดข้องของเครื่องบินตระกูล 737 Max คาดภาคการผลิตกำไรหด 40% และยอดขายหดตัวอีก 20% ประกอบกับหุ้น Johnson & Johnson ผู้ผลิตแป้งเด็กปิดลบ 6.22% ซึ่งมีสัดส่วน 3.05% ในดัชนี ถูกประท้วงจากการพบโลหะ Asbestos เจือปนในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเคยเกิดคดีนี้ขึ้นแล้วเมื่อปี 2002 ส่งผลให้หุ้นดังกล่าวปรับตัวลงมากถึง -10%

 

  • ด้านตลาดยุโรป ปิดลบลงเล็กน้อยจากบริษัทดานอน ซึ่งเป็นผู้ผลิตโยเกิร์ตรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของยอดขายในปี 2019 ทำให้นักลงทุนกลับมากังวลอีกครั้ง ส่วนประเด็น Brexit ยังคงต้องจับตามองไปจนกว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ และบริษัทยุโรปจะเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ซึ่งจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้

 

  • ด้านราคาน้ำมัน ราคายังทรงๆ ปิดลบเล็กน้อย ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ขาดความเชื่อมั่นว่าจะฟื้นตัวตามตัวเลข GDP ของจีนที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด ด้านราคาทองคำ ราคายังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ นักลงทุนจับตาผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มดีกว่าคาด หลังกลุ่มธนาคารที่ออกมาดีกว่าคาดช่วงสัปดาห์นี้

 

สหรัฐฯ

  • Dow 30 ปิดที่ 26770.2 ลดลง -255.68 (-0.95%)
  • S&P 500 ปิดที่ 2986.2 ลดลง -11.75 (-0.39%)
  • Nasdaq ปิดที่ 8089.54 ลดลง -67.31 (-0.83%)

 

ยุโรป

  • DAX ปิดที่ 12633.6 ลดลง -21.35 (-0.17%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7150.57 ลดลง -31.75 (-0.44%)
  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3579.41 ลดลง -9.21 (-0.26%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 22321.77 ลดลง -53.9 (-0.24%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 22492.68 เพิ่มขึ้น 40.82 (0.18%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6649.7 ลดลง -35 (-0.52%)
  • Shanghai ปิดที่ 2938.14 ลดลง -39.19 (-1.32%)
  • SZSE Component ปิดที่ 9533.51 ลดลง -111.88 (-1.16%)
  • China A50 ปิดที่ 13882.51 ลดลง -215.99 (-1.53%)
  • Hang Seng ปิดที่ 26719.58 ลดลง -128.91 (-0.48%)
  • Taiwan Weighted ปิดที่ 11180.22 ลดลง -6.66 (-0.06%)
  • SET ปิดที่ 1631.43 ลดลง -1.37 (-0.08%)
  • KOSPI ปิดที่ 2060.69 ลดลง -17.25 (-0.83%)
  • IDX Composite ปิดที่ 6191.95 เพิ่มขึ้น 10.93 (0.18%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 39298.38 เพิ่มขึ้น 246.32 (0.63%)
  • PSEi Composite ปิดที่ 7885.23 ลดลง -45.32 (-0.57%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 53.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -0.31 (-0.58%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 59.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง -0.62 (-1.03%)
  • ราคาทองคำ ปิดที่ 1493.35 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง -4.95 (-0.33%)

finnomena in partnership

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X