- จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ โดยวันนี้เยอรมนีมีกำหนดประกาศดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจากสถาบัน ZEW (ZEW Economic Sentiment) ซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 15.0 จุด จากเดิมที่ระดับ 10.7 จุด และเป็นการพ้นจากระดับติดลบ 2 เดือนต่อเนื่องเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อังกฤษจะประกาศตัวเลขการขอสวัสดิการการว่างงาน และตัวเลขรายได้รวมโบนัสเฉลี่ยรายชั่วโมง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 22,600 ราย และขยายตัว 3.3% ตามลำดับ สะท้อนภาวะการจ้างงานที่แข็งแกร่ง
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจ ระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโตลดลงจากระดับ 3.4% เหลือ 3.3% ในปี 2020 พร้อมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลงจากระดับ 2.1% สู่ระดับ 2.0% แต่ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนเพิ่มเติม จากระดับ 5.8% เป็น 6.0% เนื่องจากความเสี่ยงของสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ และกรณี Brexit ที่ไม่สร้างความผันผวนต่อการลงทุนทั่วโลกเริ่มคลี่คลายลง
- วานนี้ศูนย์ระดมทุนระหว่างธนาคารแห่งชาติของธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยแบบ Loan Prime Rate (LPR) ไว้ที่ระดับ 4.15% สำหรับเงินกู้ระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดี
- Moody’s ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือฮ่องกงลงจากระดับ Aa2 เป็น Aa3 พร้อมปรับมุมมองจาก Stable เป็น Negative สืบเนื่องจากการชุมนุมในฮ่องกงที่ยืดเยื้อ และการขาดแผนการรับมือที่เป็นรูปธรรมทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งสร้างความกังวลให้กับประชาชนและนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในฮ่องกง การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้สอดคล้องในทิศทางเดียวกับ FITCH Ratings ที่ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮ่องกงจากระดับ AA+ เป็น AA เช่นเดียวกัน
- Bloomberg รายงานข่าวระบุถึงสกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียว่ามีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง และอาจแซงค่าเงินบาทไทยที่เคยแข็งค่ามากกว่าในปี 2019 จากท่าทีของธนาคารกลางอินโดนีเซียที่ส่งสัญญาณว่าจะยังคงปล่อยให้เงินรูเปียห์แข็งค่าขึ้น ประกอบกับท่าทีของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เตรียมจัดสรรเงินกว่า 22,800 ล้านดอลลาร์เพื่อเข้าลงทุนในกองทุนความมั่งคั่งของอินโดนีเซีย และท่าทีของบริษัทซอฟท์แบงค์ที่ยื่นข้อเสนอลงทุนในการพัฒนาเมืองหลวงแห่งใหม่ของอินโดนีเซียด้วยวงเงินกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ สวนทางท่าทีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ส่งสัญญาณการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาท
สรุปภาพรวมตลาดวานนี้
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงจากแรงเทขายทำกำไรของนักลงทุน อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงจับตาดูผลการประชุมนโยบายธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ในสัปดาห์นี้ สวนทางกันกับตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวขึ้น โดยดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน เช่นเดียวกันกับ ดัชนี KOSPI ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน โดยได้แรงหนุนจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ได้บรรลุข้อตกลงการค้าในเฟสแรกแล้ว นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวพุ่งขึ้นแรง
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสฟื้นตัว ซึ่งสะท้อนความต้องการใช้น้ำมันที่ยังดีอยู่ ด้านราคาทองคำปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากดีมานด์ทองคำในช่วงเทศกาลตรุษจีน
สหรัฐฯ
- ตลาดหยุดทำการ
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 13548.94 เพิ่มขึ้น 22.81 (0.17%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7651.44 ลดลง -23.12 (-0.3%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3799.03 ลดลง -9.23 (-0.24%)
- FTSE MIB ปิดที่ 24002.45 ลดลง -138.62 (-0.57%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 24083.51 เพิ่มขึ้น 42.25 (0.18%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 7079.5 เพิ่มขึ้น 15.4 (0.22%)
- Shanghai ปิดที่ 3095.79 เพิ่มขึ้น 20.29 (0.66%)
- SZSE Component ปิดที่ 11115.88 เพิ่มขึ้น 161.5 (1.47%)
- China A50 ปิดที่ 14447.36 เพิ่มขึ้น 53.64 (0.37%)
- Hang Seng ปิดที่ 28795.91 ลดลง -260.51 (-0.9%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 12118.71 เพิ่มขึ้น 28.42 (0.24%)
- SET ปิดที่ 1589.11 ลดลง -11.37 (-0.71%)
- KOSPI ปิดที่ 2262.64 เพิ่มขึ้น 12.07 (0.54%)
- IDX Composite ปิดที่ 6245.04 ลดลง -46.61 (-0.74%)
- BSE Sensex ปิดที่ 41528.91 ลดลง -416.46 (-0.99%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7552.6 ลดลง -169.98 (-2.2%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 58.71 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.13 (0.22%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 65.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.35 (0.54%)
- ราคาทองคำ ปิดที่ 1560.6 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 0.3 (0.02%)
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
อ้างอิง:
- InfoQuest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
- Reuters