- ริชาร์ด คลาริดา รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เผยควรดำเนินนโยบายก่อนสถานการณ์เลวร้าย โดยให้สัมภาษณ์ร่วมกับ จอหน์ วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางนิวยอร์กว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้สถานการณ์เลวร้ายจึงจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่จำเป็นจะต้องตัดสินใจบนพื้นฐานการคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจและความเสี่ยง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแถลงการณ์ของ เจอโรม เพาเวลล์ ต่อรัฐสภาก่อนหน้านี้ว่า พร้อมที่จะดำเนินการอย่างเหมาะสมและไม่กังวลต่อความคาดหวังของตลาดต่อการลดอัตราดอกเบี้ย ส่งสัญญาณความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% สูงขึ้น แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวก็ตาม
- ภาคธุรกิจญี่ปุ่น 88% เห็นชอบให้ BOJ ชะลอการเพิ่มวงเงิน QE หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นต่ำกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับท่าทีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยจากรายงานของสำนักข่าว Reuters พบว่า ภาคธุรกิจ 88% ต้องการให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นรอดูการบริโภคหลังจากการขึ้นภาษีขาย (Sales Tax) ปลายเดือนตุลาคมก่อนที่จะมีการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย หรือเพิ่มปริมาณการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีกครั้ง เนื่องจากกังวลว่าการปรับขึ้นภาษีดังกล่าวจากระดับ 8% สู่ 10% จะส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศ เหมือนการปรับขึ้นครั้งก่อนหน้าจากระดับ 5% สู่ 8% สวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ที่ประเมินว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มปริมาณ QE ในการประชุมครั้งถัดไป
- ว่าที่ประธานคณะมนตรียุโรประบุ อียูไม่ต้องการ No-Deal Brexit หลังการแยกตัวของสหราชอาณาจักรยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 3 ปี และมีท่าทีอาจจะเป็นการแยกตัวแบบไร้ข้อตกลงสูงขึ้นเรื่อยๆ โดย อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน (Ursula von der Leyen) ว่าที่ประธานคณะมนตรียุโรปให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า ยุโรปไม่ต้องการให้เกิด No-Deal Brexit เพราะทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียผลประโยชน์ทั้งคู่ หากสหราชอาณาจักรมีจุดยืนการเจรจาที่ดี ยุโรปก็พร้อมจะเจรจาและเลื่อนเวลาการแยกตัวออกไป
- อิหร่านยื่นข้อเสนอ แลกยุติการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ หลังความตึงเครียดระหว่างสองประเทศกลับมาปะทุตัวอีกครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดย โมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน พร้อมยื่นข้อเสนอต่อสหรัฐฯ ว่าอิหร่านพร้อมรับการถูกตรวจสอบโครงการทดสอบนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ แลกกับการยกเลิกการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ เป็นการถาวร อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าทางการสหรัฐฯ จะไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ พร้อมเดินหน้าเรียกร้องให้ทางการอิหร่านลดการถือครองแร่ยูเรเนียมลงต่อไป
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADP) มองประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียยังแข็งแกร่ง แต่ปีนี้และปีหน้าคาดขยายตัวในระดับปานกลางที่ 5.7% และ 5.6% ตามลำดับ เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังเป็นตัวช่วยหนุนเศรษฐกิจ
สภาวะตลาดวานนี้
- ญี่ปุ่นประกาศตัวเลขส่งออกและนำเข้าเดือนมิถุนายน ยังคงหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยยอดส่งออกหดตัวที่ -6.7% ต่ำกว่าคาดที่ -5.2% ขณะที่ยอดนำเข้าหดตัวที่ -5.2% ต่ำกว่าคาดที่ -0.4%
- เกาหลีลดดอกเบี้ยเหลือ 1.50% นับเป็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของธนาคารกลางเกาหลีตั้งแต่ปี 2016 หลังเศรษฐกิจเกาหลีประสบปัญหาชะลอตัวจากพิษเศรษฐกิจโลก พร้อมปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้เหลือ 2.2% จาก 2.5% ซึ่งต่ำกว่าที่รัฐบาลประเมินไว้ที่ 2.4-2.5% ประกอบกับความกังวลต่อการควบคุมการส่งวัสดุไฮเทคสำคัญจากญี่ปุ่น หลังเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งเกาหลีจำเป็นต้องพึ่งพาชิ้นส่วนสำคัญจากญี่ปุ่นในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของ Samsung และ LG
ยุโรป
- STOXX600 ปิดที่ 386.80 ลดลง 0.86 (-0.22%)
- DAX ปิดที่ 12,227.85 ลดลง 113.18 (-0.92%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7,493.09 ลดลง 42.37 (-0.56%)
- FTSE MIB ปิดที่ 22,090.81 เพิ่มขึ้น 11.43 (+0.05%)
เอเชีย
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,649.10 ลดลง 24.20 (-0.36%)
- KOSPI ปิดที่ 2,066.55 ลดลง 6.37 (-0.31%)
- Shanghai ปิดที่ 2,901.18 ลดลง 30.52 (-1.04%)
- Hang Seng ปิดที่ 28,461.66 ลดลง 131.51 (-0.46%)
- BSE Sensex ปิดที่ 38,897.46 ลดลง 318.18 (-0.81%)
- Nikkei ปิดที่ 21,046.24 ลดลง 422.94(-1.97%)
- SET ปิดที่ 1,723.44 เพิ่มขึ้น 4.59 (+0.27%)
อเมริกา
- DOW30 ปิดที่ 27,222.97 จุด เพิ่มขึ้น 3.12 (+0.01%)
- S&P500 ปิดที่ 2,995.11 จุด เพิ่มขึ้น 10.69 (+0.36%)
- NAQDAQ ปิดที่ 8,207.24 จุด เพิ่มขึ้น 22.04 (+0.27%)
Comodities
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค. ร่วงลง 1.48 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 55.30 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือน ก.ย. ลดลง 1.73 ดอลลาร์ หรือ 2.7% ปิดที่ 61.93 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 4.80 ดอลลาร์ หรือ 0.34% ปิดที่ 1,428.10 ดอลลาร์/ออนซ์ สูงที่สุดในรอบ 6 ปี
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing