- จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ วันนี้คณะกรรมการนโยบายการเงินไทย (กนง.) มีกำหนดประชุมเพื่อตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยนโยบายประจำเดือนธันวาคม โดยในครั้งนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า จะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.25% ต่อไป หลังจากมีการปรับลดไปเมื่อครั้งก่อนหน้า อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตาถึงท่าทีและมุมมองทางเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป
- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้องให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยต่อ โดยระบุว่า “จะเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก หาก Fed ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป และทำการซื้อพันธบัตรตามนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เนื่องจากดอลลาร์กำลังแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ขณะที่แทบไม่มีเงินเฟ้อ นี่เป็นเวลาที่ต้องดำเนินการแล้ว ซึ่งจะทำให้การส่งออกพุ่งขึ้น” นอกจากนี้ทรัมป์ยังส่งจดหมายถึง แนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ โดยมีเนื้อหาว่า ความพยายามถอดถอนเขาจากตำแหน่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย อีกทั้งเป็นการพยายามรัฐประหารทางการเมือง และล่าแม่มด ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้การเลือกตั้งปี 2020 พรรคเดโมแครตมีโอกาสชนะมากขึ้นเท่านั้น
- สหรัฐฯ เตรียมคุมการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ดำเนินการพิจารณาการออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น Quantum Computing, 3D Printing, Transistor ในการผลิต Semiconductor และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตสารพิษทำลายประสาท Novichok พร้อมทั้งมีความพยายามในการผลักดันให้เป็นกฎหมายนานาชาติ โดยอ้างว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ชาติที่เป็นภัยนำไปใช้ในทางการทหาร
- ฝรั่งเศสเดินหน้าประท้วงต่อเนื่อง วานนี้การประท้วงครั้งใหญ่ของสหภาพแรงงานฝรั่งเศส จากแนวความคิดในการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญ ส่งผลให้มีผู้เข้าร่วมชุมนุมกว่า 615,000 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคขนส่ง ส่งผลให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยฝรั่งเศสต้องเลื่อนการเรียนการสอนและการสอบออกไป เนื่องจากรถไฟฟ้าและขนส่งสาธารณะกว่า 2 ใน 3 ไม่สามารถให้บริการตามปกติได้ สร้างความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองฝรั่งเศส
- ส่งออกญี่ปุ่นหดตัว 12 เดือนต่อเนื่อง ทางการญี่ปุ่นประกาศยอดการส่งออกประจำเดือนพฤศจิกายน หดตัว 7.9% (YoY) ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ -8.6% (YoY) และฟื้นตัวขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่ -9.2% (YoY) แต่ยังคงเป็นการหดตัว 12 เดือนต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกรถยนต์ เครื่องจักรเพื่อการก่อสร้าง และเคมีภัณฑ์ไปยังสหรัฐฯ และจีนหดตัวกว่า 12.9% (YoY) และ 5.4% (YoY) ตามลำดับ
สรุปภาพรวมตลาดวานนี้
- ดัชนี Dow Jones, S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นทั้ง 3 ดัชนี และยังคงทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง จากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่ง โดยตัวเลขการสร้างบ้านและการผลิตภาคอุตสาหกรรมออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นอย่างดี สวนทางกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวลงหลังจากตลาดปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 4 วัน ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มขายทำกำไรบางส่วน และจับตาดูประเด็น Brexit ที่จะได้ข้อสรุปอีกทีในวันที่ 31 มกราคม 2563
- ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นจากการคาดการณ์ตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่จะลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ด้านอุปสงค์ยังดีอยู่ ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลสภาวะน้ำมันล้นตลาด ด้านราคาทองคำปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าก็ตาม นักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยบางส่วน เพื่อจับตาดูเศรษฐกิจโลกต่อไป
สหรัฐฯ
- Dow 30 ปิดที่ 28267.16 เพิ่มขึ้น 31.27 (0.11%)
- S&P500 ปิดที่ 3192.52 เพิ่มขึ้น 1.07 (0.03%)
- Nasdaq ปิดที่ 8823.36 เพิ่มขึ้น 9.13 (0.1%)
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 13287.83 ลดลง -119.83 (-0.89%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7525.28 เพิ่มขึ้น 6.23 (0.08%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3745.28 ลดลง -27.46 (-0.73%)
- FTSE MIB ปิดที่ 23630.77 เพิ่มขึ้น 106.01 (0.45%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 24066.12 เพิ่มขึ้น 113.77 (0.47%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6847.3 ลดลง -2.39 (-0.03%)
- Shanghai ปิดที่ 3022.42 เพิ่มขึ้น 38.03 (1.27%)
- SZSE Component ปิดที่ 10306.03 เพิ่มขึ้น 147.79 (1.45%)
- China A50 ปิดที่ 14236.04 เพิ่มขึ้น 177.65 (1.26%)
- Hang Seng ปิดที่ 27843.71 เพิ่มขึ้น 335.61 (1.22%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 12097.01 เพิ่มขึ้น 157.24 (1.31%)
- SET ปิดที่ 1548.65 ลดลง -1.09 (-0.07%)
- KOSPI ปิดที่ 2195.68 เพิ่มขึ้น 27.52 (1.26%)
- IDX Composite ปิดที่ 6244.35 เพิ่มขึ้น 32.76 (0.53%)
- BSE Sensex ปิดที่ 41352.17 เพิ่มขึ้น 413.45 (1.01%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7730.45 เพิ่มขึ้น 28.84 (0.37%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 60.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.73 (1.21%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 66.17 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.83 (1.27%)
- ราคาทองคำปิดที่ 1481.05 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 0.55 (0.04%)
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
- Reuters